โครงการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง

NAGA belt road

โครงการขับเคลื่อนแบบ Area based ในลักษณะกลุ่มสินค้าข้าวที่ทำงานด้วยความร่วมมือแบบ 4P (Public-Private-People Professional partnership) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มเกษตรกร และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ โดยขับเคลื่อนแบบ 4 ค คือ คน (Reskill Upskill) คลังข้อมูล (Big Data) ความรู้สมัยใหม่ (Science & Technology) และ ความยั่งยืน (Sustainability) ดำเนินงานในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดนครพนม โดยดำเนินงานปรับเปลี่ยนการเกษตรจากเดิมไปสู่การเกษตรบนฐานองค์ความรู้ตลอดห่วงโซ่ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวให้มีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง มูลค่าสูง สร้างรายได้เพิ่มขึ้น และเกิดความมั่นคงทางอาหาร โดยมีแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตข้าวด้วยเกษตรสมัยใหม่ ควบคู่กับการผลิตพืชหลังนาที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ การเพิ่มมูลค่าการแปรรูปผลผลิต การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรตอบโจทย์เกษตรกรหมุนเวียน และการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและวัฒนธรรมข้าวเหนียว ผ่านการดำเนินงานภายใต้ 4 แผนงานหลัก ดังนี้

แผนงานที่ 1 มุ่งพัฒนาทักษะเกษตรกรและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวเหนียวอย่างยั่งยืน
แผนงานที่ 2 มุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเหนียวและการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
แผนงานที่ 3 มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรมทรัพยากรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับข้าวเหนียว
แผนงานที่ 4 มุ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ Big data เพื่อยกระดับการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียว
แผนงานที่ 1 มุ่งพัฒนาทักษะเกษตรกรและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวเหนียวอย่างยั่งยืน

พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เทคโนโลยีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ให้แก่เกษตรกรจำนวน 3,324 คน

1.เมล็ดพันธุ์

  • พื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ 5,803 ไร่
  • เมล็ดพันธุ์รวม 2,605 ตัน
  • คิดเป็นมูลค่า 65.11 ล้านบาท
  • รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการจำหน่าย 55.22 ล้านบาท
  • ชุมชนเข้าร่วมปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ 9 ชุมชน

2.แหนแดง

  • เกษตรกรใช้แหนแดงในนาข้าว จำนวน 820 คน 
  • พื้นที่แหนแดง 1,397 ไร่ ผลผลิต 4,192.8 ตัน
  • คิดเป็นมูลค่า 829,818 บาท
  • ลดต้นทุนการผลิตไร่ละ 594 บาท
  • ลดก๊าซเรือนกระจก 566 ตันคาร์บอน
  • มูลค่าคาร์บอนเครดิต 536,879 บาท

3.พลังงานสะอาดโซล่าเซลล์

  • เกษตรกรใช้โซล่าเซลล์ จำนวน 298 คน 
  • ลดต้นทนการสูบน้ำเข้าแปลงนาคนละ 1,109.8 บาท หรือปีละ 330,716 บาท 
  • พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ 51,776 kWh/ปี 
  • ลดก๊าซเรือนกระจก 30.68 ตันคาร์บอน 
  • มูลค่าคาร์บอนเครดิต 17,520 บาท 

4.Digital Technology (แอปพลิเคชันไลน์บอทโรคข้าว/ดินและปุ๋ย/วางแผนการผลิต)

  • เกษตรกรใช้แอปพลิเคชัน 1,256 คน
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านปัจจัยการผลิตทั้งปุ๋ยและยากำจัดโรคแมลงศัตรูพืช

แผนงานที่ 2 มุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเหนียวและการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

1.การเพิ่มทักษะและความรู้ reskill-upskill ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการและเกษตรกรตลอดห่วงโซ๋การผลิตข้าวเหนียว

  • กลุ่มผู้ประกอบการด้านปัจจัยทางการเกษตร เครื่องจักรกลทางการเกษตร โดรนทางการเกษตร ผู้ประกอบการโรงสี 387 ราย

2.การเพิ่มสมรรถนะของผู้ประกอบการและยกระดับผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านการแปรรูปจากข้าวเหนียว จากชุมชนสู่สากล (กระบวนการ CDIO)

  • ผู้ประกอบการเข้าร่วม 32 ราย และผลิตภัณฑ์ใหม่ 32 ผลิตภัณฑ์
  • ปริมาณข้าวเหนียวที่ใช้ 47,203 กิโลกรัม
  • รายได้เพิ่มขึ้น 7,463,444 บาท

3.การพัฒนานวัตกรรมทางอาหารที่แปรรูปจากข้าวเหนียวและการพัฒนานวัตกร ด้วยการอบรม Creative Design Thinking

  • ต้นแบบผลิตภัณฑ์จากข้าวเหนียวใหม่ 72 ผลิตภัณฑ์
  • ผู้ประกอบการด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ 40 กลุ่ม และนวัตกร จำนวน 40 คน
  • ปริมาณข้าวเหนียวที่ใช้ 22,665 กิโลกรัม
  • รายได้เพิ่มขึ้น 2,966,609 บาท

4.การเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

  • ต้นแบบแผ่น Particle Board จากฟางข้าว และพลาสติก สู่งานสร้างสรรค์ทางหัตถศิลป์
  • ต้นแบบภาชนะจาก Biomaterial (ฟางข้าว)
  • ต้นแบบงานหัตถกรรมโดยการใช้แกลบดำหรือเถ้าลอยจากโรงงานไฟฟ้าชีวมวล  โดยประยุกต์ใช้ Geopolymer
  • ต้นแบบดินปลูกคุณภาพสูงจากเถ้าลอยจากโรงงานไฟฟ้าชีวมวล และ/หรือ แหนแดง
  • ต้นแบบงานหัตถกรรมสิ่งทอ การประยุกต์สีย้อมธรรมชาติจากทุ่งนา

ส่งเสริมกระบวนการสร้าง Carbon Credit และการสร้าง Ecosystem ในการพัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำ 12 ชุมชน ด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการทำการเกษตร การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพในการทำการเกษตร การท่องเที่ยวในชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนา Circular Economy ภายในชุมชน และการสะสมคาร์บอนในชุมชน โดยวิธีการ Tailor Made Consulting and Practice

ตัวอย่างชุมชนนวัตกรรมมีบูรณาการองค์ความรู้เป็นต้นแบบในการพัฒนา และรักษ์สิ่งแวดล้อม  

ชุมชนนวัตกรรม Eco Tourism กลุ่มบ้านเชียงดา อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี

  • ผลิตเมล็ดพันธุ์คัด
  • มีการเลี้ยงแหนแดง
  • ผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนจากวัชพืชจอกหูหนูยักษ์จากอ่างน้ำพาน
  • โซล่าเซลล์ใช้บนแพท่องเที่ยว
  • ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตข้าวฮางงอก
  • ต้นแบบชุมชนแหล่งท่องเที่ยวอ่างน้ำพานและบูรณาการนวัตกรรม Eco Tourism
การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในแพเพื่อการท่องเที่ยว
การใช้ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่
การจัดการวัชพืชในน้ำ (จอกหูหนูยักษ์) ด้วยการแปรรูปเป็นปุ๋ยไส้เดือน
การจัดการวัชพืชในน้ำ (จอกหูหนูยักษ์) ด้วยการแปรรูปเป็นปุ๋ยไส้เดือน

ชุมชนนวัตกรรม Regenerative Agriculture กลุ่มบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

  • ผลิตเมล็ดพันธุ์คัด
  • ใช่เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์
  • เลี้ยงแหนแดง และสร้างรายได้จากการจำหน่ายแหนแดง
  • ทำเกษตรผสมผสานร่วมกัน
  • ปลูกต้นไม้เพื่อสะสมคาร์บอนในชุมชน
  • ปลูกข้าวโพดหลังนา สร้างรายได้แก่เกษตรกร
  • ต้นแบบชุมชนนวัตกรรม Regenerative Agriculture
พื้นที่ปลูกข้าวโพดหลังนา จำนวน 168 ไร่
การผลิตแหนแดง
การใช้ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

การเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

ผลิตจากเส้นฝ้ายแท้ย้อมสีธรรมชาติจากดิน และฟางข้าว

ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากกระสอบข้าวเก่าและกระเป๋าจากพลาสติกรีไซเคิลทอมือ

ผลิตภัณฑ์หัตกรรมจาก Geopolymer จากแกลบดำผสมเถ้าลอย

รากุ (Raku) ใช้ชีวมวลเหลือทิ้งในท้องนา เช่น ฟางข้าว ใบไม้ หญ้า เป็นต้น เป็นเชื้อเพลิงสำหรับให้สีแก่ผลิตภัณฑ์รากุ

กระดาษฟางข้าว

ต้นแบบผลิตภัณฑ์

ข้าวแคบน้ำพริกเผาหมูหยอง

ขนมข้าวเหนียวดำกรอบผสมถั่วดาวอินคา

คัพเค้กข้าวเม่า

ข้าวพองจากเศษข้าวแต๋น

หอมนาคากระยาสารท

เครปโรลข้าวเหนียวมะม่วง


แผนงานที่ 3 มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรมทรัพยากรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับข้าวเหนียว

เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการพัฒนาตลาดวัฒนธรรมข้าวเหนียวสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ของจังหวัดนำร่องทั้ง 4 จังหวัด

  • จัดทำคลังความรู้ของชุมชนในด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับข้าวเหนียว
  • ออกแบบโมเดลเส้นทางการท่องเที่ยวบนฐานวัฒนธรรมข้าวเหนียว 3 เส้นทาง พัฒนาให้เป็นหมู่บ้านแห่งการท่องเที่ยวด้วยวัฒนธรรมข้าวเหนียว 7 แห่ง

จังหวัดลำปาง

โมเดลเส้นทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวเหนียวในพื้นที่จังหวัดลำปาง ได้แก่ วัดธาตุลำปางหลวง-ทุ่งนาบ้านดอนแก้ว-ศูนย์เรียนรู้เกษตรบ้านสบลี-วัดสบลีและฉางข้าวโบราณ-วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำมอญแจ้ซ้อน-วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวทิพย์ร่มโพธิ์-บ้านคำออน-ถนนคนเดินกาดกองต้า-FLAT Café-วิสาหกิจชุมชนข้าวแต๋นอำพัน-บ้านพุทธทอง

จังหวัดเชียงราย

โมเดลเส้นทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวเหนียวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ได้แก่ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช- หอพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นล้านนาบ้านป่าแหย่ง-ร้องหวาย-วิสาหกิจแปรรูปข้าวและสมุนไพร (อ้อยจัน)-วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวตำบลศรีดอนมูล-พิพิธภัณฑ์ไทลื้อ ศรีดอนชัย-ถนนคนเดินเชียงของ-วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำม้า

หนังสือวัฒนธรรมข้าวเหนียวจังหวัดลำปาง

หนังสือวัฒนธรรมข้าวเหนียวจังหวัดเชียงราย

จังหวัดอุดรธานี
โมเดลเส้นทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวเหนียวในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

จังหวัดนครพนม
NAGA Nakhon Phanom 1: ชุมชนท่องเที่ยววัฒนธรรมเผ่าไทกวน บ้านนาถ่อน-พระธาตุเรณูนคร-อุแม่ทองแย้ม- พระธาตุพนม-ข้าวคุณแม่-ข้าวทิพย์มนต์

จังหวัดนครพนม
NAGA Nakhon Phanom 2: พระยาศรีสัตนาคราช-พระธาตุนคร-ข้าวสุข-ข้าวเม่าหวานบ้านนาล้อม-พระธาตุโพนสวรรค์-หจก.เพชรไพศาลค่ำคูณ (ห้วยไห)


แผนงานที่ 4 มุ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ Big data เพื่อยกระดับการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียว
  • คลังข้อมูลเกษตรกรอยู่ในรูปเสมือนเป็นเล่ม Passport
  • แอปพลิเคชันสำหรับจัดเก็บข้อมูล เชื่อมโยงกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการ ฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ ระดับจังหวัด เพื่อการพัฒนาและขยายผลต่อไป
  • ช่องทางสื่อสารและประชาสัมพันธ์โครงการฯ ในไลน์กลุ่ม เพจ Facebook และช่อง Youtube : BCG-Naga Belt Road
  • ด้านเศรษฐศาสตร์
  • ปัจจัยที่เกื้อหนุนและกลไกภายในชุมชนที่ส่งผลต่อการยอมรับ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่มุ่งหวังของโครงการ
  • การเชื่อมโยง BCG-Naga Belt Road Model กับระบบเศรษฐกิจส่วนรวมในระดับมหภาคเศรษฐศาสตร์
  • BCG-Naga Belt Road Model ช่วยยกระดับบัญชีการผลิต บัญชีรายได้ และลดบัญชีรายจ่ายของประเทศได้