ผู้วิจัย
- ดร.ปณิธิ วิรุฬห์พอจิต
- ดร. กรรณิกา หัตถะปะนิตย์
- คุณกฤตพร อุตรา และคณะศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
สถานการณ์ยางพาราธรรมชาติ พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีความผันผวนของราคาตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของยางธรรมชาติ ทีมวิจัยจึงคิดค้นให้สามารถนำยางพารามาใช้งานได้หลากหลายขึ้นประกอบกับสถานการณ์หลังจากการระบาดของไวรัสโคโรน่า ผู้คนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยใช้เวลาอยู่บ้าน และให้ความสำคัญกับสุขอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่มีวัยเด็ก และผู้สูงวัย ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองกิจกรรมภายในบ้าน เช่น ของเล่นเด็ก จึงเป็นที่ต้องการของตลาด และมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น
ของเล่นเด็กจากยางพาราที่วิจัยขึ้นนี้ ทำจากยางแท่ง และยางแผ่น ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ และหาได้ง่ายภายในประเทศ เมื่อปรับกระบวนการผลิตกับเครื่องจักรที่มีอยู่ทั่วไป ก็สามารถแปรรูปยางแท่ง หรือยางแผ่นดังกล่าวให้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำของเล่นจากยางพารา เมื่อควบคุมแหล่งที่มาของวัตถุดิบต่างๆ เช่น ยางธรรมชาติ และสีตกแต่ง จึงทำให้ของเล่นที่ได้มีความปลอดภัยสูง
คุณสมบัติ และจุดเด่นของเทคโนโลยี
- ผลิตจากยางธรรมชาติ (ชนิดยางแห้ง) เช่น ยางแท่ง เกรด STR5L ยางแผ่นเกรดพิเศษ (ความสะอาดสูง) เป็นต้น
- มีองค์ประกอบเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ และหาได้ง่ายภายในประเทศ
- มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มีต้นทุนต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีเครื่องจักรแปรรูปยางแบบง่าย หรือผู้ประกอบการที่ผลิตแป้งปั้นของเล่น
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 2001002221 เรื่อง องค์ประกอบของวัสดุจากยางธรรมชาติที่มีความแข็งต่ำพิเศษ และกรรมวิธีการเตรียมวัสดุดังกล่าว วันที่ยื่นคำขอ 21 เมษายน 2563
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 2001002217 เรื่อง องค์ประกอบการเตรียมวัสดุชนิดแข็งพิเศษจากยางธรรมชาติ และกรรมวิธีการเตรียมวัสดุดังกล่าว วันที่ยื่นคำขอ 21 เมษายน 2563
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 1801006042 เรื่อง กรรมวิธีการผลิตกาวดักแมลงอินทรีย์จากยางธรรมชาติชนิดยางแห้ง วันที่ยื่นคำขอ 28 กันยายน 2561
- ความลับทางการค้า
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ