ผู้วิจัย
ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส และคณะศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหารเล็งเห็นความสำคัญของการเคี้ยวกลืนอาหารในผู้ป่วย และผู้สูงวัยต้องการอำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อจำแนกกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และอาหารให้เหมาะสมกับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากในแต่ละระดับ ทำการออกแบบอุปกรณ์ทดสอบความหนืดของเครื่องดื่ม และเนื้อสัมผัสของอาหารสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบาก โดยอ้างอิงตามมาตรฐาน International Dysphagia Diet Standardisation Initiative (IDDSI) ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) เครื่องวิเคราะห์เนื้อสัมผัสอาหารด้วยแรงกดจากส้อม (Fork Tester) และ (2) เครื่องวัดระดับอาหารเหลวและเครื่องดื่ม (Fork Tester) ต้นแบบอุปกรณ์ดังกล่าวมีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้ช่วยให้นักโภชนาการทดสอบความหนืดของอาหาร และปรับให้เหมาะกับความสามารถของผู้ป่วย และผู้สูงอายุที่อยู่ระหว่างการฝึกเคี้ยวกลืน
คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
- ต้นแบบอุปกรณ์ดังกล่าวมีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้
- ผลิตได้ภายในประเทศ ลดการนำเข้าอุปกรณ์วิเคราะห์
- ออกแบบอุปกรณ์โดยอ้างอิงมาตรฐาน International Dysphagia Diet Standardisation Initiative (IDDSI) (ข้อมูลเพิ่มเติม https://iddsi.org/Testing-Methods)
- เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตเครื่องมือสำหรับโรงพยาบาล สถานพยาบาลดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุที่ต้องระมัดระวังการประกอบอาหารเป็นพิเศษ
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
- อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002587 เรื่อง เครื่องวิเคราะห์เนื้อสัมผัสของอาหารด้วยแรงกดจากส้อมสำหรับจำแนกอาหารสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบากตามมาตรฐาน IDDSI
- อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002588 เรื่อง เครื่องวัดระดับอาหารเหลวและเครื่องดื่มสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบากตามมาตรฐาน IDDSI
สถานภาพของผลงานวิจัย
- ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ/ ผู้ร่วมทดสอบตลาด ผู้ร่วมวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตในระดับ Pilot และระดับอุตสาหกรรม
รูปที่ 1 ต้นแบบเครื่องวิเคราะห์เนื้อสัมผัสอาหารด้วยแรงกดจากส้อม (Fork Tester)
รูปที่ 2 ต้นแบบเครื่องวัดระดับอาหารเหลวและเครื่องดื่ม (Flow Tester)