CARBANO-Ag

ชื่อนักวิจัย

ดร. พงษ์ธวัฒน์ เข็มทอง และทีมวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

ผลิตภัณฑ์ถ่านกัมมันต์เอิบชุ่มอนุภาคนาโนซิลเวอร์สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย เช่น การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ การดูดซับสารอินทรีย์ระเหยง่าย และคลอโรฟอร์มที่ปนเปื้อนในน้ำ รวมทั้งการดักจับโลหะหนัก เช่น ปรอท หรือสารหนูได้มากกว่าร้อยละ 90 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ถ่านกัมมันต์เอิบชุ่มอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดมากมาย เช่น

  1. ไม่มีการผลิต และจำหน่ายในประเทศไทย ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น
  2. ขั้นตอนการผลิตต้องใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง จึงอันตรายต่อผู้ผลิต และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ขั้นตอนการใช้งานพบการหลุดร่อนของอนุภาคนาโนซิลเวอร์จากการชะละลาย (leaching)
คุณสมบัติ และจุดเด่นของเทคโนโลยี
  • CARBANO-Ag ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุภาคนาโนซิลเวอร์มีความเสถียรมากขึ้น ทำให้การนำมาใช้เพื่อเป็นวัสดุกรองน้ำดื่มมีความปลอดภัยตามมาตรฐานน้ำดื่มมากขึ้นอีกด้วย
  • ประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตน้ำดื่ม อุตสาหกรรมการบำบัดมลพิษทางน้ำ และทางอากาศ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหนัก เช่น ปรอท และสารหนู
  • สูตรการผลิต CARBANO-Ag ยังมีจุดเด่นที่สำคัญคือ สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปทรงตามต้องการ เช่น แผ่นกรองในเครื่องปรับอากาศในครัวเรือน แผ่นกรองในรถยนต์ส่วนบุคคล หรือสาธารณะ และแผ่นกรองในอาคารสำนักงานต่างๆ อีกด้วย
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003002534 เรื่อง วิธีการปรับปรุงถ่านกัมมันต์ด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ (silver nanoparticle) เพื่อใช้กำจัดอนุพันธ์ของคลอรีน (chlorine derivatives) และยับยั้งจุลชีพในน้ำ

สถานภาพของผลงานวิจัย

ต้นแบบระดับ pilot scale

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

ติดต่อสอบถาม

จิรนันท์ บุบผามาลา
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.