ชื่อนักวิจัย
ดร.วรายุทธ สะโจมแสง และภัทรพร โกนิล ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
องค์กรอาหารและยา และกรมปศุสัตว์มีการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะโดยสัตวแพทย์เท่านั้น เพื่อเป็นการจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น จากปัญหาข้างต้น จึงทำให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสารยับยั้งเชื้อเพื่อลดอาการท้องเสียของลูกสุกรหลังหย่านมเพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ทีมวิจัยจึงได้พัฒนากระบวนการผลิตซิงค์ไอออนสำหรับยับยั้งเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย โดยทั่วไปซิงค์มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ แต่ประสิทธิภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงมีการประยุกต์ใช้ซิงค์ไอออนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น สามารถฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อได้หลายเท่า สามารถนำไปต่อยอดใช้งานในโรงเรือน ฟาร์ม และพบว่าน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากพืชโดยตรงมีสรรพคุณในการยับยั้งเชื้อโรค อีกทั้งมีสรรพคุณทางยา ทีมวิจัยจึงมีความสนใจในการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้งานร่วมกับซิงค์ไอออนเพื่อผลิตเป็นสารยับยั้งเชื้อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในลูกสุกร
สรุป และจุดเด่นเทคโนโลยี
- สารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากสารธรรมชาติ
- เทคโนโลยีอิมัลชันและคีเลชัน
- มีองค์ประกอบของเกลือซิงค์ น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติและกรดไขมัน
- ขนาดอนุภาค 20 นาโนเมตร
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002819 เรื่อง นาโนอิมัลชันที่มีองค์ประกอบของเกลือซิงค์ และสารสกัดจากธรรมชาติ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ