นักวิจัย
- ดร.วรายุทธ สะโจมแสง
- ภัทรพร โกนิล ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ไอออนของเงินมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราได้ โดยไอออนเงิน ทำให้เอนไซม์ต่างๆ เสียสภาพด้วยการเข้าจับ และทำให้ตกตะกอน โดยกลไกการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ คือไปยับยั้งโปรตีนบนเยื่อหุ้มเซลล์โดยไอออนเงินทำให้เซลล์ตาย และไอออนเงินเข้าไปในดีเอ็นเอ เนื่องจากจุลินทรีย์กินไอออนเงินเข้าไปส่งผลให้ดีเอ็นเอเสียสภาพจากภายในทำให้เซลล์ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ อย่างไรก็ตามปัญหาของไอออนเงินหรืออนุภาคนาโนของเงินนั้นไม่คงตัวต่อสภาพแวดล้อม เช่น ไม่ทนทานต่อแสง และความร้อน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และทางเคมีซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อลดลง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวการประดิษฐ์นี้เป็นการสังเคราะห์สารประกอบเงินในรูปไอออนบวกที่สามารถทนทานต่อแสง และความร้อน โดยมีสามารถคงสภาพเป็นสารละลายใสไม่มีสีเป็นระยะเวลานาน และไม่พบการรวมตัว และตกตะกอน นอกจากนี้ยังสามารถทำให้อยู่ในรูปของผงแห้งเพื่อสะดวกในการใช้งาน และสามารถละลายน้ำกลับมาเป็นสภาพเดิมตอนต้น และยังคงมีสมบัติในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- ซิลเวอร์ไอออนคงตัวได้ในสภาวะที่มีแสง และความร้อน
- ซิลเวอร์ไอออนในรูปสารละลายใสไม่มีสี
- ละลายได้ในน้ำและส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- ซิลเวอร์ไอออนในรูปผงแห้ง สามารถละลายน้ำกลับ และคงสภาพเดิมได้
- มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นขอรับความคุ้มครอง
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ