29 มีนาคม 2566
A1
- AGRITEC Station
- ห้องปฏิบัติการสิ่งทอ การเกษตร
- Plant Factory (โรงงานผลิตพืช)
30 มีนาคม 2566
B1
AGRITEC Station
ห้องปฏิบัติการสิ่งทอ การเกษตร
ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. (NCTC)
31 มีนาคม 2566
C1
- ห้องปฏิบัติการสิ่งทอ การเกษตร
- โรงงานต้นแบบผลิตไวรัสเอ็นพีวีเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (NPV)
- ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC)
A1
AGRITEC Station
แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจรที่เปิดโอกาสให้ผู้รักงานเกษตรได้เติมเต็มความรู้และเทคโนโลยีที่หลากหลาย ทั้งปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ
ห้องปฏิบัติการสิ่งทอ การเกษตร
ห้องปฏิบัติการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุสิ่งทอ โดยมุ่งเน้นที่ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
- เทคโนโลยีเส้นใย (Fiber technology) : การออกแบบโครงสร้างเส้นใยและการปั่นขึ้นรูปให้มีคุณสมบัติและฟังก์ชันพิเศษ (New polymers/new additives, Shaped fibers, Bicomponent fibers, Bio-based fibers)
- เทคโนโลยีนอนวูฟเวน (Nonwoven technology) : การออกแบบโครงสร้างและการขึ้นรูป เพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น เกษตรกรรม, วัสดุมวลเบา, สุขภาพและการแพทย์
- เทคโนโลยีสีย้อมธรรมชาติ: การเตรียมสีย้อม แบบผงหรือแบบเข้มข้น และการใช้งาน เช่น การย้อมสี การพิมพ์
อาทิ “Magik Growth” นอนวูฟเวน ถุงปลูก ถุงห่อ ผ้าคลุมแปลง เพื่อเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร สีธรรมชาติในการย้อมและพิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ
Plant Factory (โรงงานผลิตพืช)
โรงงานผลิตพืช นำเทคโนโลยีหลากหลายสาขามาประยุกต์ใช้เพื่อพลิกโฉมการปลูกพืชจากดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติมาสู่การปลูกในระบบปิดที่ควบคุมสภาพแวดล้อม ทำให้มีความปลอดภัยสูง ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ปริมาณผลผลิตที่คงที่ และยังสามารถปลูกได้ทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล
B1
AGRITEC Station
แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจรที่เปิดโอกาสให้ผู้รักงานเกษตรได้เติมเต็มความรู้และเทคโนโลยีที่หลากหลาย ทั้งปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ
ห้องปฏิบัติการสิ่งทอ การเกษตร
ห้องปฏิบัติการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุสิ่งทอ โดยมุ่งเน้นที่ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
- เทคโนโลยีเส้นใย (Fiber technology) : การออกแบบโครงสร้างเส้นใยและการปั่นขึ้นรูปให้มีคุณสมบัติและฟังก์ชันพิเศษ (New polymers/new additives, Shaped fibers, Bicomponent fibers, Bio-based fibers)
- เทคโนโลยีนอนวูฟเวน (Nonwoven technology): การออกแบบโครงสร้างและการขึ้นรูป เพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น เกษตรกรรม, วัสดุมวลเบา, สุขภาพและการแพทย์
- เทคโนโลยีสีย้อมธรรมชาติ: การเตรียมสีย้อม แบบผงหรือแบบเข้มข้น และการใช้งาน เช่น การย้อมสี การพิมพ์
อาทิ “Magik Growth” นอนวูฟเวน ถุงปลูก ถุงห่อ ผ้าคลุมแปลง เพื่อเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร สีธรรมชาติในการย้อมและพิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. หรือ NSTDA Characterization and Testing Service Center, NCTC
ศูนย์กลางเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ ให้บริการวิเคราะทดสอบด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ
ขีดความสามารถห้องปฏิบัติการ : ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบให้กับหน่วยงานภายใน สวทช. ภาครัฐ และเอกชน รวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก (SME) พัฒนาและสนับสนุนงานบริการทดสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (ISO/IEC17025, ISO9001 และ TIS18001) และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและผลลัพธ์ขององค์กรและตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า โดยมีเครื่องมือและเทคนิคเพื่อรองรับการให้บริการต่างๆ เช่น Chromatography, X-Ray, Microscopy Lab, Mass Spectrometry, Biological
C1
ห้องปฏิบัติการสิ่งทอ การเกษตร
ห้องปฏิบัติการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุสิ่งทอ โดยมุ่งเน้นที่ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
- เทคโนโลยีเส้นใย (Fiber technology) : การออกแบบโครงสร้างเส้นใยและการปั่นขึ้นรูปให้มีคุณสมบัติและฟังก์ชันพิเศษ (New polymers/new additives, Shaped fibers, Bicomponent fibers, Bio-based fibers)
- เทคโนโลยีนอนวูฟเวน (Nonwoven technology): การออกแบบโครงสร้างและการขึ้นรูป เพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น เกษตรกรรม, วัสดุมวลเบา, สุขภาพและการแพทย์
- เทคโนโลยีสีย้อมธรรมชาติ: การเตรียมสีย้อม แบบผงหรือแบบเข้มข้น และการใช้งาน เช่น การย้อมสี การพิมพ์
อาทิ “Magik Growth” นอนวูฟเวน ถุงปลูก ถุงห่อ ผ้าคลุมแปลง เพื่อเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร สีธรรมชาติในการย้อมและพิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ
โรงงานต้นแบบผลิตไวรัสเอ็นพีวีเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (NPV)
โรงงานต้นแบบผลิตไวรัส NPV เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช ซึ่งปัจจุบันมีการนำไวรัสเอ็นพีวีมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกันแพร่หลายทั่วโลก เนื่องจากเป็นเชื้อที่ทำลายเฉพาะแมลงเป้าหมาย มีความปลอดภัยต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม และไม่ทิ้งสารพิษตกค้างบนผลผลิต
- มีการพัฒนาการผลิตเชื้อไวรัสเอ็นพีวีสำหรับปราบแมลงศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิด มาตั้งแต่ปี 2550 โดยเริ่มจากหนอนกระทู้หอมและหนอนกระทู้ผัก ทำให้มีเชื้อไวรัสเอ็นพีวี ของหนอนทั้ง 2 ชนิดเพียงพอสำหรับใช้ในพืชที่พบปัญหาการระบาด เช่น หอมแดงหอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง แตงโม พืชตระกูลกะหล่ำ พริก มะเขือเทศ ดาวเรือง เบญจมาศ กุหลาบ กล้วยไม้
- ปัปัจจุบันโรงงานต้นแบบฯ กำลังวิจัยและพัฒนาการผลิตเชื้อไวรัส เอ็นพีวีสำหรับปราบหนอนเจาะสมอฝ้าย โดยวิจัยในรูปแบบการผลิตอื่นเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำลง และพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ/National Omics Center
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Center: NOC) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้วยวิทยาศาสตร์โอมิกส์ และมีคลังข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับให้บริการแก่หน่วยงานภายนอก รวมถึงอุตสาหกรรมภาคส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ไทย
บริการของสวทช.
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น
ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทำธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์:
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
© 2023 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ