Empowering your business with

Advanced Biotechnology

  • SmartBioPep
  • Programmable antivirals ยาต้านไวรัสที่ออกแบบได้
  • Platform เพื่อผลิต Porcine interferon
  • โรงงานเสมือน (cell factory) ที่ใช้จุลินทรีย์ในการผลิตสารชีวภาพมูลค่าสูง
  • Lignee: Lignin-plastic composite for functional material design and application

29 March 2023 | 10.00-11.30

SmartBioPep

Smart Bottom-up : โดยช่วยผู้ประกอบการในการค้นหาและจำแนกชนิดของ Novel bioactive/Bioactive peptide ใน byproduct หรือ Waste จากขั้นตอนต่างๆของกระบวนการผลิตเดิม เพื่อสร้าง Value added ให้กับ byproduct หรือ Waste ที่ได้จากกระบวนการผลิตต่างๆ และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่

รวมถึงสามารถประเมินปริมาณผลผลิตสารเป้าหมายที่จะได้ (Production yield) ภายในแพลตฟอร์มเดียว เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีชุดข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์ทางการตลาดก่อนนำไปลงทุนจริง ช่วยลดระยะเวลาในการทำวิจัย และความเสี่ยงในการลงทุน

ดร. จิตติศักดิ์ เสนาจักร์
ทีมวิจัยชีวศาสตร์และชีววิทยาระบบ (ISST)
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมชีวเคมีและชีววิทยาระบบ (IBEG)

Programmable antivirals ยาต้านไวรัสที่ออกแบบได้

เทคโนโลยีฐานนี้สามารถสร้างยาต้านไวรัสตัวใหม่ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยใช้รหัสพันธุกรรมของไวรัสในการโปรแกรมโมเลกุลยาให้ทำลายไวรัสอย่างจำเพาะ  สามารถใช้ข้อมูลในการโปรแกรม platform เพื่อสร้างยาต้านไวรัสได้ภายใน 1-2 อาทิตย์ นอกจากนี้ platform นี้ยังมีระบบนำส่งยาที่สามารถออกแบบให้เลือกนำส่งยาเข้าเซลล์ที่เป็นเป้าหมายของไวรัสเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยาและลดผลข้างเคียง รวมทั้งสามารถดัดแปลงเพื่อใช้กับไวรัสได้หลากหลาย

ดร. บรรพท ศิริเดชาดิลก
ทีมวิจัยการออกแบบและวิศวกรรมชีวโมเลกุลขั้นแนวหน้า (IFRT)
ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่ออุตสาหกรรม (BBI)

Platform เพื่อผลิต Porcine interferon

เทคโนโลยีฐานและกระบวนการผลิตที่ผ่านการพัฒนาเพื่อที่จะสามารถผลิต recombinant porcine interferon (poIFN) ในระดับห้องปฏิบัติการ โดยเป็นระบบการผลิต รีคอมบิแนนท์โปรตีนในยีสต์ที่มีอิสระในการดำเนินการ 100% (full freedom-to-operate) ซึ่งผลการทดสอบในระดับเซลล์ (cell-based assay) แสดงให้เห็นว่า recombinant poIFN จากยีสต์นี้มีฤทธิ์ต้านไวรัสในวงกว้าง เช่น VSV, PRRSV, PEDV โดยผลจากการทดลองใช้งานเบื้องต้น (preliminary farm trial) ในฟาร์มสุกรโดยสัตวแพทย์ยังพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจสามารถช่วยลดการสูญเสียสุกรจากโรคระบาดและสามารถคงกิจการฟาร์ม ไว้ได้โดยสามารถใช้เป็นแนวทางต่อยอดสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์และนำไปสู่การทดลองในสัตว์ทดลองและการยื่นขออนุญาตได้ในอนาคต

ดร. พีร์ จารุอำพรพรรณ
ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี(AVCT)
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)

โรงงานเสมือน (cell factory) ที่ใช้จุลินทรีย์ในการผลิตสารชีวภาพมูลค่าสูง

ทีมวิจัยได้พัฒนาเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์เพื่อผลิตสารชีวเคมีมูลค่าสูงด้วยระบบจุลินทรีย์เพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ อาหาร ยา เครื่องสำอาง พลังงาน ฯล โดยจุดเด่นของเทคโนโลยีที่พัฒนา คือ การดึงเอาทรัพยากรหลักของประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ด้วย ชีววิทยาสังเคราะห์ (synthetic biology) และผลงานวิจัยที่พัฒนามีการจดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง

นายตะวัน เต่าพาลี
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ

Lignee: Lignin-plastic composite for functional material design and application

เป็นการใช้ลิกนินที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษโดยการแปรรูปชีวมวลทางการเกษตรด้วยกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งลิกนินดังกล่าวเป็นเม็ดสีที่มีคุณภาพ มีคุณสมบติการป้องกันรังสียูวีและต้านทานสารอนุมูลอิสระ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในเนื้อพอลิเมอร์ที่มีความหลากหลาย (PE,PP,PLA) และรองรับทุกกระบวนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ อีกทั้งสามารถขึ้นต้นแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างอิสระโดยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจลงทุนในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง

ดร.ชญานนท์ โชติรสสุคนธ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์ (IENT)
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ (IBBG)