29-30 มีนาคม 2566

องค์ความรู้พื้นฐานด้าน High throughput phenotyping และการใช้ประโยชน์จาก NSTDA-Plant Phenomics

Basic knowledge of high throughput phenotyping and application of NSTDA-Plant phenomics

วิทยากร
  • ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา
  • ศ.ดร. พูนภิภพ เกษมทรัพย์
  • Dr. Lukas Spichal
  • Dr. Fabio Fiorani
  • Dr. Lamis Abdelhakim
  • ดร.ธีระ ภัทราพรนันท์
  • ผศ.ดร. คัทลียา ฉัตร์เที่ยง
  • ดร.คัทรินทร์ ธีระวิทย์

องค์ความรู้พื้นฐานด้าน High throughput phenotyping และการใช้ประโยชน์จาก NSTDA-Plant Phenomics

Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) Biopolis และ สวทช. เห็นความสำคัญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตรสมัยใหม่ จึงได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบ Plant phenomics ณ โรงเรือนปลูกพืชทดลอง BSL2P อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี และที่ EECi เพื่อใช้ในการศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานของการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต การสร้างและสะสมสาร Secondary metabolite ต่างๆ ของพืชที่ตอบสนองต่อปัจจัยแวดล้อมทั้งปัจจัยการผลิตและสภาพแวดล้อม เพื่อใช้ในการบริหารจัดการการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบควบคุมการผลิตพืชในระบบควบคุมในอนาคต สนับสนุนนโยบายเกษตร 4.0 โดย High throughput phenotyping หรือ Plant phenomics เป็นเครื่องมือวัดค่าทางด้านสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และชีวเคมีของพืช โดยไม่ทำลายต้นพืช (Non-destructive measurements) ผ่านการใช้กล้องชนิดต่างๆ ตามสถานีเพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงชีวิตของต้นพืชซึ่งทำให้สามารถศึกษาวิจัยการตอบสนองของพืชต่อปัจจัยแวดล้อมทำได้รวดเร็ว และมีความแม่นยำ โดย NSTDA-Plant Phenomics ที่จัดสร้างขึ้นมีลักษณะเป็น High-throughput ที่มีระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ ประกอบด้วย ระบบการขับเคลื่อนแบบลูกกลิ้งโลหะ ระบบการให้น้ำตามค่า Field capacity ระบบการตรวจวัดด้วยกล้อง RGB (Red green blue) กล้อง Fluorescence กล้อง Thermal IR และกล้องชนิด Hyperspectral สามารถตรวจวัดค่าการเจริญเติบโต ความเขียวของใบพืช รูปทรงของใบและต้น ปริมาณน้ำ การคายน้ำ และปริมาณธาตุอาหารในต้นพืช

NSTDA-Plant phenomics เป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่ใช้ระบบอัตโนมัติ ออกแบบตามความต้องการ และไม่มีในหน่วยงานทั่วไปเพื่อให้นักวิจัยของประเทศไทยเข้าถึงและใช้เครื่องมือเหล่านี้จึงจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้พื้นฐานการใช้เครื่องมือดังกล่าวโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในการตอบโจทย์วิจัยในแง่มุมต่างๆ ทั้งในด้านกระบวนการเตรียมต้นพืช การย้ายปลูกพืช การลงทะเบียนรายต้น การตรวจวัดด้วยกล้องชนิดต่างๆ การทดสอบประสิทธิภาพความรวดเร็วในการทำงานของชุดเครื่องมือต่างๆ และการแปรผลภาพให้เป็นข้อมูลทั้งในส่วนของชนิดข้อมูลจากเครื่องตรวจวัด การบันทึกข้อมูล การแปรผลจากภาพให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้ระบบ Plant phenomics ในการตอบโจทย์วิจัยเชิงลึกในด้านต่างๆ อันประกอบด้วยลักษณะฟีโนไทป์ของพืช (Plant phenotype) และลักษณะสรีรวิทยาของพืชที่เป็นข้อมูลที่สำคัญในการประเมินลักษณะจำเพาะของพืชแต่ละชนิดที่เกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงปฏิสัมพันธ์ของทั้ง 2 ปัจจัย ซึ่งมีความสำคัญในการบริหารจัดการระบบเกษตรแม่นยำ (Precision agriculture)  โดยระบบ High throughput phenotyping สามารถช่วยทำให้การประเมินลักษณะฟีโนไทป์ของพืชมีความละเอียดสูง  มีความแม่นยำ ไม่ทำลายต้นพืช ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติที่มีความรวดเร็ว สามารถตรวจวัดข้อมูลทางกายภาพและสรีรวิทยาได้

 

ภาษาที่ใช้ในการบรรยาย

ภาษาไทย ยกเว้นวิทยากรต่างชาติบรรยายภาษาอังกฤษ และไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย

กำหนดการสัมมนา

DAY 1: วันพุธที่ 29 มีนาคม 2566
13.00 – 13.20 น. ลงทะเบียน
13.20 – 13.30 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา  รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

13.30 – 14.30 น. High-resolution phenotyping for product development in the digital era of agriculture 

โดย ศ.ดร. พูนภิภพ เกษมทรัพย์  ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

14.30 – 15.10 น. Plant phenomics – ways to use it to address research questions

โดย Dr. Lukas Spichal, The Czech Advanced Technology and Research Institute of Palacký University Olomouc, Czech Republic

15.10 – 15.50 น.
Perspective of root phenotyping and tools 

โดย Dr. Fabio Fiorani Institute of Bio- and Geosciences (Plant Sciences) Jülich, Germany

 

DAY 2: วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 14.30 น. Application of high throughput technologies in screening for stress-tolerant crops

โดย Dr. Lamis Abdelhakim, Department of Food Science, Aarhus University, Denmark

14.30 – 15.10 น. การประยุกต์ใช้ข้อมูลทางฟีโนไทป์ของพืชเพื่อการตัดสินใจในระบบเกษตรแม่นยำ 

โดย ดร.ธีระ ภัทราพรนันท์  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.

15.10 – 15.50 น. การประยุกต์ใช้ข้อมูลทางฟีโนไทป์ที่ได้จากการวัดแบบ High-throughput ในการประเมินการใช้น้ำและการเจริญเติบโตในข้าว 

โดย ผศ.ดร. คัทลียา ฉัตร์เที่ยง  ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

15.50 – 16.30 น. การประยุกต์ใช้ High-throughput phenotyping ในการประเมิน Irrigation schedule ในพืชสมุนไพรไทย 

โดย ดร.คัทรินทร์ ธีระวิทย์  ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

เกี่ยวกับวิทยากร

 

ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา
รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ศ.ดร. พูนภิภพ เกษมทรัพย์
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
Dr. Lukas Spichal
The Czech Advanced Technology and Research Institute of Palacký University Olomouc, Czech Republic
Dr. Fabio Fiorani
Institute of Bio- and Geosciences (Plant Sciences) Jülich, Germany
Dr. Lamis Abdelhakim
Department of Food Science, Aarhus University, Denmark

 

ดร.ธีระ ภัทราพรนันท์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
ผศ.ดร. คัทลียา ฉัตร์เที่ยง
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ดร.คัทรินทร์ ธีระวิทย์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ