29 มีนาคม 2566

เทคโนโลยีการฟื้นฟูขั้นสูงเพื่อความงามและสุขภาพ

NSTDA Anti-Aging & Rejuvenation Symposium: Emerging Rejuvenation Technology for Improving Beauty and Health

วิทยากร
  • ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
  • ดร. ข้าว ต้นสมบูรณ์
  • พ.ท.นพ.ปริญญา สมัครการไถ
  • ศาสตราจารย์ ภก.ดร. ปิติ จันทร์วรโชติ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรัณยู พลนิกร
  • ดร. ธวิน เอี่ยมปรีดี
  • คุณกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์
  • ดร.วงศกร พูนพิริยะ

เทคโนโลยีการฟื้นฟูขั้นสูงเพื่อความงามและสุขภาพ

ปัจจุบันเทรนด์การดูแลสุขภาพที่มุ่งเน้นการฟื้นฟู (Rejuvenation) และการชะลอวัย (Anti-aging) กำลังได้รับความสนใจไปทั่วโลกสอดรับกับสังคมโลกที่เข้าสู่ยุคผู้สูงวัย ซึ่งในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีการฟื้นฟู ไม่ใช่เพียงแค่สามารถทำให้มีรูปร่าง ผิวพรรณภายนอกที่ดูดีขึ้น แต่ยังสามารถส่งเสริมสุขภาพ และอาจเพิ่มช่วงเวลาที่มีสุขภาพดี (Healthspan) และช่วงอายุขัย (Lifespan) ได้อีกด้วย

เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมเพื่อการฟื้นฟู มีจุดเริ่มต้นมาจากศาสตร์ที่ใช้ทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับสภาวะชรา และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น Regenerative medicine (เวชศาสตร์การฟื้นฟูสภาวะเสื่อม), Stem cell therapy (การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด), Exosome therapy (การรักษาด้วย Exosome ที่หลั่งออกมาจากเซลล์), Microbiome (ชีวนิเวศจุลชีพ), หรือ Senotherapeutics (การมุ่งเป้าจัดการเซลล์แก่) ซึ่งปัจจุบันนี้องค์ความรู้ดังกล่าว ได้ถูกนำมาใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, หัตการเพื่อความงาม, รวมถึงผลิตภัณฑ์เวชสำอาง 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งขาติ (สวทช.) ได้มีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมการฟื้นฟู/ชะลอวัยเพื่อสุขภาพและความงามอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เช่นการพัฒนาสารที่มีฤทธิ์ชะลอวัยใหม่ๆ รวมถึงมีการเปิดให้บริการทดสอบประสิทธิภาพ (Efficacy) และความปลอดภัย (Safety) ของสารออกฤทธิ์ เวชสำอาง เสริมอาหาร โดยใช้โมเดลผิวหนังคน ทั้งในระดับเซลล์ (2D cells) เนื้อเยื่อผิวหนังสามมิติ (3D skin) และผิวหนังที่ได้จากอาสาสมัคร (Ex vivo skin) รวมถึงได้ทำการวิจัยร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด จึงเป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยน ผลงานวิจัยด้านการฟื้นฟูและการชะลอวัยที่มีการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก (Deep technology) รวมถึงแนวทางในการนำเทคโนโลยีไปต่อยอดให้เกิดการ Commercialization โดยมี Session ช่วงบรรยาย ที่พูดถึง Regenerative medicine, Longevity science, Stem cells, Exosomes, Gut microbiome, และ Senotherapeutics และมี Session เสวนา ซึ่งมีผู้ประกอบการ และนักวิจัยมาพูดถึงการผลักดัน Deep techด้านการฟื้นฟูของหน่วยงานวิจัยภาครัฐ มหาวิทยาลัย และ Startup เพื่อออกสู่เชิงพาณิชย์

กำหนดการสัมมนา

12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียน
13.00 – 13.10 น. กล่าวต้อนรับและเปิดสัมมนา

โดย ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย, รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.10 – 13.30 น. Regenerative Medicine: A Big Leap toward the Fountain of Youth

โดย ดร. ข้าว ต้นสมบูรณ์, CEO & Co-Founder 

บริษัท รีไลฟ์ ไบโอเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และ นักวิจัย ทีมวิจัยไมโครอะเรย์แบบครบวงจร

กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

13.30 – 13.50 น. New Horizons in Longevity Research—Latest Evidence on Healthspan 

and Lifespan Extension

โดย พ.ท.นพ.ปริญญา สมัครการไถ, กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

13.50 – 14.10 น. Stem Cell Regeneration–an Emerging Target for Cosmeceutical Products

โดย ศาสตราจารย์ ภก.ดร. ปิติ จันทร์วรโชติ, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.10 – 14.30 น. Exosomes: The Next Big Thing in the Health & Beauty Industry?

โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยู พลนิกร, วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.30 – 14.50 น. Is Targeting ‘Zombie Cells’ a New Avenue for the Beauty World?

โดย  ดร. ธวิน เอี่ยมปรีดี, Senior researcher ทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนและฤทธิ์ทางชีวภาพ 

กลุ่มวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโนขั้นสูงและความปลอดภัย, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

14.50 – 15.05 น. พักระหว่างการสัมมนา
15.05 – 16.05 น. เวทีเสวนา หัวข้อ “Deep Tech Innovations—the Journey from Bench to Market”

ผู้ร่วมเสวนา

1)  คุณกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์, กรรมการ/ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน)

2)  ศาสตราจารย์ ภก.ดร.ปิติ จันทร์วรโชติ, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยู พลนิกร, วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4)  พ.ท.นพ.ปริญญา สมัครการไถ, กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

5)  ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์, บริษัท รีไลฟ์ ไบโอเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ผู้ดำเนินรายการ    

1)   ดร.วงศกร พูนพิริยะ, ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ สวทช.

2)  ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี, Senior researcher ทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนและฤทธิ์ทางชีวภาพ 

กลุ่มวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโนขั้นสูงและความปลอดภัย, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

16.05 – 16.30 น. ถาม-ตอบ ถ่ายรูปวิทยากร และปิดการสัมมนา

 

หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมแต่ยังคงไว้ซึ่งเนื้อหาและสาระสำคัญของการสัมมนา

สถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อสัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ดร. ข้าว ต้นสมบูรณ์
CEO & Co-Founder บริษัท รีไลฟ์ ไบโอเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และนักวิจัย ทีมวิจัยไมโครอะเรย์แบบครบวงจร กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
พ.ท.นพ.ปริญญา สมัครการไถ
กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ศาสตราจารย์ ภก.ดร. ปิติ จันทร์วรโชติ
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรัณยู พลนิกร
วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี
นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนและฤทธิ์ทางชีวภาพ  กลุ่มวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโนขั้นสูงและความปลอดภัย, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
คุณกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์
กรรมการ/ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน)
ดร.วงศกร พูนพิริยะ
ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ สวทช.
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ