30 มีนาคม 2566

ภูมิปัญญาผ้าทอไทยเพื่อคนรุ่นใหม่สู่การเป็นนักออกแบบดีไซน์เนอร์

วิทยากร
  • นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์
  • นายมีชัย แต้สุริยา
  • นายวีริศ เชียรสิริไกรวุฒิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาคร ชลสาคร

ภูมิปัญญาผ้าทอไทยเพื่อคนรุ่นใหม่สู่การเป็นนักออกแบบดีไซน์เนอร์

ด้วยความจำเพาะของพื้นที่ ชุมชน ชาติพันธุ์ ภูมิปัญญา ประเพณี และวัฒนธรรม จึงทำให้กระบวนการผลิตผ้าทอมือ ในประเทศไทยมีกระบวนการผลิตผ้าทอจากฝ้าย หรือ ไหม หรือ เส้นใยธรรมชาติที่แตกต่างกันไป รวมถึงการร้อยเรียงนำเสนอเรื่องราวบนผืนผ้าจนกลายเป็นอัตลักษณ์ที่ทรงคุณค่าบนผืนผ้า สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวเสน่ห์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของไทย รวมทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ปั่นด้าย กรอไหม ย้อมสี ออกแบบลวดลาย สรรค์สร้างจากประสบการณ์ชีวิตและวิถีชุมชนที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ฝีมือของผู้ผลิตรุ่นคุณย่าคุณยายที่สะสมความชำนาญมาหลายชั่วอายุคน ก็ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ 

และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ในปัจจุบันทรัพยากรบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้สืบทอดการทอผ้าในประเทศไทยมีจำนวน ลดลง และไม่ได้รับความสนใจจากเด็กรุ่นใหม่เท่าที่ควร ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอมากพอที่จะทำให้ตระหนักถึงคุณค่า และโอกาสความก้าวหน้าในงานด้านนี้อย่างจริงจัง รวมถึง สถาบันการศึกษาด้านสิ่งทอมีไม่มากนัก ขาดแรงกระตุ้น ทำให้คนรุ่นใหม่ถูกดึงความสนใจให้ออกห่างจากชุมชนมากขึ้นทุกที ทรัพยากรบุคคล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงาน และเป็นกลไกหลักที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจสิ่งทอไทยในบทบาท ‘Trading Center’ ในตลาด “สิ่งทออาเซียน”

 

ดังนั้น ประเด็นสำคัญของโครงการ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง” จึงมุ่งเน้น

  1. การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมใช้ และเทคโนโลยีที่สามารถปรับแต่งให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ/กลุ่มอาชีพ ผ้าทอพื้นเมือง นำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริงสร้างมูลค่าเพิ่มและโอกาสทางการตลาด ครอบคลุมตั้งแต่ต้นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ/กลุ่มอาชีพ ผ้าทอพื้นเมือง ผ่านกระบวนการสร้างความตระหนักด้าน ศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาจากคนรุ่นเก่าสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ต่อยอดด้วยองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรม เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน สร้างโอกาสทางการตลาด สร้างรายได้และความมั่นคงในอาชีพ จนนำไปสู่การพัฒนาชุมชนได้อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนต่อไป
  3. เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการองค์ความรู้ที่เกิดจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผ้าทอพื้นเมือง ที่มีการประยุกต์ใช้จริง จนส่งผลกระทบทางด้านสังคมและเศรษฐกิจในชุมชน เช่น องค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น อาทิ พืชให้สี ดิน ฝ้าย ไหม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของการทอผ้าด้วยภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่า และเมื่อได้รับการพัฒนาจึงเกิดการต่อยอดอย่างสร้างสรรค์และทันสมัย แต่ยังคงคุณค่าอัตลักษณ์ของชุมชนนั้นไว้ จึงควรมีระบบการจัดการให้เข้าถึงองค์ความรู้เหล่านี้อย่าง เป็นสากล

 

และด้วยงานวิจัยและเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอดสู่ชุมชน ได้แก่ เทคโนโลยีเอนไซม์ ENZease เทคโนโลยีการผลิตผงสี และการพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีจากธรรมชาติ เทคโนโลยีสิ่งทอนาโน เทคโนโลยีกี่ทอมืออัตโนมัติ มุ่งเน้นการพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการ รวมถึงการผลักดันให้เกิดการกลไกความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอพื้นเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยตระหนักถึงผลกระทบและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นสำคัญ เพื่อเป็นการสืบสาน และดำรงรักษาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการทอผ้าของคนรุ่นเก่า ผสมผสานองค์ความรู้ที่ต่อยอดร่วมกับคนรุ่นใหม่ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ส่งผลให้เกิดสร้างความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

กำหนดการสัมมนา

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนและกล่าวเปิดสัมมนา

โดย นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์, ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำเนินรายการโดย นางสาวมณิฐชญาณ์ ศิลาวงสกุลล์, นักวิชาการอาวุโส สวทช.

09.00 – 10.00 น. ลมหายใจของภูมิปัญญาการทอผ้าศิลปะเฉพาะถิ่น

โดย นายมีชัย แต้สุริยา, ศิลปินแห่งชาติ 2564 สาขาทัศนศิลป์ (ทอผ้า) และ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านคำปนุ

10.00 – 10.45 น. กลยุทธ์การตลาดผ้าทอไทยของนักออกแบบดีไซน์เนอร์

โดย นายวีริศ เชียรสิริไกรวุฒิ

เจ้าของ สถาบัน Luxurious.Studio

เจ้าของ แบรนด์ ชุดวิวาห์ Eternity Exclusive, THAI SME Fashion Luxury Branding Adviser & Consultants 

เจ้าของหนังสือ Luxurious กลยุทธ์การตลาดสินค้า “วิลิศมาหรา” 

อาจารย์พิเศษ Luxury Fashion&Lifestyle Branding

ที่ปรึกษาพัฒนา ผลิตภัณฑ์เครือสหพัฒน์ และ ผู้ประกอบการรายย่อย

11.00 – 11.45 น. การยกระดับสิ่งทอพื้นเมืองด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่เวทีสากล

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาคร ชลสาคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

11.45 – 12.00 น. การแสดงแฟชั่นโชว์ “การประยุกต์ผ้าไทยจากคนรุ่นใหม่”
เกี่ยวกับวิทยากร
นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นายมีชัย แต้สุริยา
ศิลปินแห่งชาติ 2564 สาขาทัศนศิลป์ (ทอผ้า) และผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านคำปนุ
นายวีริศ เชียรสิริไกรวุฒิ
เจ้าของ สถาบัน Luxurious.Studio เจ้าของ แบรนด์ ชุดวิวาห์ Eternity Exclusive THAI SME Fashion Luxury Branding Adviser & Consultants
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาคร ชลสาคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ