30 มีนาคม 2566

การเพิ่มศักยภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล กรณีศึกษา หม้อไอน้ำสำหรับการผลิตไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล และพืชทางเลือก

Increasing the Potential of Electricity Generation from Biomass: A Case Study of Boiler for Power Generation in Sugar Industry and Alternative Crops

วิทยากร
  • ดร. สายัณห์ ปานซัง
  • คุณภาณุ เวทยนุกูล 
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม ปทุมสวัสดิ์
  • คุณจันทนา สุกใส
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร. จารุวัตร เจริญสุข
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัยสิทธิ์ บรรจงประเสริฐ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นภฉัตร ธารีลาภ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพบรรณ ปะละไทย
  • ศ.ดร. อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย
  • บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)
  • ดร. เรืองเดช ธงศรี

การเพิ่มศักยภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล

กรณีศึกษา หม้อไอน้ำสำหรับการผลิตไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล และพืชทางเลือก

การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานที่มีภายในประเทศให้มากที่สุด โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลเป็นเป้าหมายสำคัญที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 – 2580 (AEDP 2018) อย่างไรก็ตาม พบว่า การใช้พลังงานชีวมวลยังไม่เต็มศักยภาพมากนัก เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านคุณสมบัติชีวมวลที่ยังไม่พร้อมใช้งาน ขาดข้อมูลสนับสนุนการเลือกเทคโนโลยีให้มีความเหมาะสมกับชนิดเชื้อเพลิงชีวมวล ชิ้นส่วนอุปกรณ์หม้อไอน้ำยังคงนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเป็นการออกแบบสำหรับเชื้อเพลิงฟอสซิล และ/หรือเป็นการออกแบบที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน (Heat transfer coefficient) โดยประมาณ ไม่ได้เป็นค่าจำเพาะของหม้อไอน้ำประเภทต่าง ๆ เมื่อใช้เชื้อเพลิงชีวมวลแต่ละชนิด จึงมักประสบปัญหาในการใช้งาน เกิดการหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบทั้งด้านต้นทุนและเวลา อย่างไรก็ตาม พบข้อมูลว่า มีความพยายามในการพัฒนาระบบการเผาไหม้ซึ่งรวมถึงหม้อไอน้ำขึ้นเองภายในประเทศ แต่มีระดับการผลิตตามแบบภายใต้ชื่อทางการค้า (Brand) และการออกแบบจากต่างประเทศเป็นหลัก มีบริษัทผู้ผลิตจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่มีศักยภาพในการออกแบบและผลิตหม้อไอน้ำได้เอง อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่นิยมใช้มากนัก เนื่องจากมีราคาสูงกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ และยังไม่มีความเชื่อมั่นในการใช้งาน

นอกจากนี้ ข้อจำกัดจากความไม่ต่อเนื่องของเชื้อเพลิงชีวมวลที่ป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้าในบางฤดูกาล ทำให้ราคาเชื้อเพลิงชีวมวลปรับสูงขึ้น ส่งผลกระทบให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลเพิ่มขึ้น แนวทางหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนและลดข้อจำกัดดังกล่าวได้ คือ การมีแหล่งเชื้อเพลิงที่มีความหลากหลาย เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าโรงไฟฟ้าชีวมวลได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยพืชพลังงานที่จะนำเสนอต่อไปนี้ คือ “อ้อยพลังงาน ซึ่งเกิดจากการพัฒนาพันธุ์อ้อยป่า โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับไม้โตเร็ว เช่น กระถินยักษ์ กระถินเทพา ยูคาลิปตัส เป็นต้น ได้แก่ ศักยภาพการผลิตไฟฟ้า และการให้ผลผลิตชีวมวลสูง

โครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ. – สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เล็งเห็นความสำคัญและการสร้างโอกาสในการเข้าถึงผลงานวิจัยและพัฒนาฯ ดังกล่าว ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภาคการผลิตไฟฟ้าตลอดห่วงโซ่คุณค่าให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 

การจัดสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาโครงการวิจัย “การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อการผลิตไฟฟ้า กรณีศึกษา: บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด” และ “พืชพลังงานทางเลือก สำหรับโรงไฟฟ้า ชีวมวล” ที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมชีวมวลในประเทศให้มีศักยภาพ สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และนำสู่การบรรลุเป้าหมายของประเทศในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (ค.ศ. 2050) และเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ 

กำหนดการสัมมนา

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.05 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร. สายัณห์ ปานซัง, ผู้อำนวยการโครงการเดินเครื่องและบำรุงรักษาประจำโรงไฟฟ้า
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย คุณภาณุ เวทยนุกูล, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

09.05 – 09.20 น. ปัญหาที่เกิดขึ้นในหม้อไอน้ำจากการใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม ปทุมสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

09.20 – 09.35 น. ภาพรวมงานวิจัยด้าน “การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อการผลิตไฟฟ้า กรณีศึกษา: บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด และ “พืชพลังงานทางเลือก สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล” ภายใต้โครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ. – สวทช.

โดย คุณจันทนา สุกใส, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ผลการศึกษาโครงการวิจัย “พืชพลังงานทางเลือก สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล”
09.35 – 09.50 น. การทดสอบพันธุ์อ้อยพลังงานเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวล

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผลการศึกษาโครงการวิจัย “การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อการผลิตไฟฟ้า กรณีศึกษา: บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด”
09.50 – 10.05 น. การประเมินค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนของหม้อน้ำในภาคอุตสาหกรรม

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จารุวัตร เจริญสุข, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

10.05 – 10.20 น. การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อที่ใช้ในหม้อไอน้ำสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล 

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยสิทธิ์ บรรจงประเสริฐ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

10.20 – 10.35 น. พฤติกรรมการกัดกร่อนของท่อเหล็กภายใต้ฟาวลิ่งในสภาวะไอน้ำยิ่งยวด 

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภฉัตร ธารีลาภ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

10.35 – 10.50 น. พฤติกรรมการสึกหรอแบบกัดเซาะที่อุณหภูมิสูงของเหล็กกล้าผสมที่บริเวณ Superheat 

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพบรรณ ปะละไทย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

แนวทางการขยายผลและการใช้ประโยชน์
10.50 – 11.05 น. แนวทางการขยายผลมุ่งสู่การใช้ประโยชน์ สำหรับการวางแผนซ่อมบำรุงเชิงก้าวหน้า เพื่อยืดอายุและป้องกันความเสียหายต่อโรงไฟฟ้าชีวมวล

โดย ดร. เรืองเดช ธงศรี, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

11.05 – 11.25 น. ทิศทางการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

โดย ศ.ดร. อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย, ประธานคณะอนุกรรมการ แผนงานกลุ่มพลังงานเคมีและวัสดุชีวภาพ
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

11.25 – 12.00 น. ถาม – ตอบ

 

เอกสารประกอบการสัมมนา
VDO สัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. สายัณห์ ปานซัง 
ผู้อำนวยการโครงการเดินเครื่องและบำรุงรักษาประจำโรงไฟฟ้า บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
คุณภาณุ เวทยนุกูล 
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม ปทุมสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คุณจันทนา สุกใส
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
รองศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร. จารุวัตร เจริญสุข
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัยสิทธิ์ บรรจงประเสริฐ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นภฉัตร ธารีลาภ
มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพบรรณ ปะละไทย
มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ศ.ดร. อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย
ประธานคณะอนุกรรมการ แผนงานกลุ่มพลังงานเคมีและวัสดุชีวภาพ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)
ดร. เรืองเดช ธงศรี
นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ