30 มีนาคม 2566

เสวนาโต๊ะกลม
“มาตรฐานสากล…ทางรอดเครื่องมือแพทย์ไทย มุ่งไปตลาดต่างประเทศ สู้สเปคสินค้านำเข้า”

วิทยากร
  • ศ.นพ. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ 
  • คุณอดิศร อาภาสุทธิรัตน์
  • คุณนริศชา ต่อสุทธิ์กนก
  • เภสัชกรวิวัฒน์  จันทรสาธิต
  • คุณสิรินยา ลิม
  • ดร.ชัยรัตน์  อุทัยพิบูลย์
  • เภสัชกรวราวุธ เสริมสินสิริ
  • ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์
  • ผศ.ดร. เชษฐา พันธ์เครือบุตร
  • คุณปรวีฐ์ ดลสุข
  • ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู

กิจกรรม เสวนาโต๊ะกลม “ มาตรฐานสากล…ทางรอดเครื่องมือแพทย์ไทย มุ่งไปตลาดต่างประเทศ สู้สเปคสินค้านำเข้า”

ที่มาของเสวนา :

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 25665 โมเดลเศรษฐกิจ BCG  ถูกประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเครื่องมือแพทย์ ร่วมกับอนุกรรมการจากภาคส่วนต่างๆทั้งรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และได้กำหนดวิสัยทัศน์ ในการยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) แห่งเอเชีย ในการพัฒนาเครื่องมือ ชุดตรวจ อุปกรณ์ วัสดุ  เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งส่งเสริมใน 4 มิติคือ มิติที่ 1: สร้างการพึ่งพาตนเอง ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยที่ได้มาตรฐาน   มิติที่ 2: ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในการดูแลสุขภาพ ด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล  มิติที่ 3: เพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ  มิติที่ 4:  เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ไทย ให้มีความสามารถในการแข่งขันและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน  

อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์ไทยนับเป็นอุตสาหกรรมใหม่ ที่ส่วนใหญ่พัฒนามาจากผู้ประกอบการไทยนำเข้าเครื่องมือแพทย์เข้ามาจำหน่าย มองเห็นความเป็นไปได้ของตลาด จึงค่อย ๆ พัฒนางานวิจัยเป็นสินค้าของตัวเองขึ้นมาทดแทนสินค้าจากต่างประเทศ นับเป็นการส่งเสริมในมิติที่ 1 เรื่องการสร้างการพึ่งพาตัวเอง แต่ด้วยอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือแพทย์ไทยยังตามหลังสินค้านำเข้าจากต่างประทศในหลายด้าน และเกิดความเสียเปรียบ ได้แก่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นของแพทย์ และกับดักที่สำคัญคือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับจากสากล ได้แก่ มาตรฐานสากล เช่น CE Mark / US FDA (510k) ที่มีระเบียบวิธีการดำเนินการที่ซับซ้อนและใช้งบประมาณที่สูงในการพัฒนาให้ได้มา ประกอบกับประเทศไทยขาดผู้เชี่ยวชาญ ห้องทดสอบมาตรฐานและองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสากลดังกล่าว ขาดหน่วยงานรัฐที่จะสนับสนุนอย่างจริงจัง ทำให้สินค้าเครื่องมือแพทย์ไทยยังไม่สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศหรือจะส่งออกสู้ตลาดในต่างประเทศได้ยาก

 

วัตถุประสงค์ :

เสวนาโต๊ะกลม “มาตรฐานสากล…ทางรอดเครื่องมือแพทย์ไทย มุ่งไปตลาดต่างประเทศ สู้สเปคสินค้านำเข้า” เป็นการร่วมแบ่งปันแนวคิดและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ หน่วยงานรัฐด้านนโยบาย แหล่งทุน และส่งเสริมการค้า ในการเสวนาหาแนวทางเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับไปพิจารณาหาแนวทางตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานต่อไป

 

ผู้เข้าร่วมเสวนาโต๊ะกลม :

  1. ศ.นพ. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา, คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล  
  2. ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์, ผู้อำนวยการ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) 
  3. คุณอดิศร อาภาสุทธิรัตน์, ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  4. คุณนริศชา ต่อสุทธิ์กนก, รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. เภสัชกรวิวัฒน์  จันทรสาธิต,  ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านมาตรฐานเครื่องมือแพทย์
  6. คุณสิรินยา ลิม,  ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 
  7. ดร.ชัยรัตน์  อุทัยพิบูลย์, รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและนวัตกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)
  8. เภสัชกรวราวุธ เสริมสินสิริ,  ผู้อำนวยการ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  9. ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์, ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ( รอการยืนยัน)
  10. ผศ.ดร. เชษฐา พันธ์เครือบุตร, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและผู้ร่วมก่อตั้ง (CTO & co-founder) บริษัทเมติคูลี่ จำกัด
  11. คุณปรวีฐ์ ดลสุข,  ผู้ตรวจสอบอาวุโส (Senior Auditor II)  บริษัท ทูฟ ซูด (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ดำเนินรายการ: ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู, ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

หากสนใจเข้าฟังการสัมมนา โปรดติดต่อ chotirote.bun@nstda.or.th หรือโทร. 0256467000 ต่อ 1474

เกี่ยวกับวิทยากร
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ