31 มีนาคม 2566

เทคโนโลยีชุดบอดี้สูท “เรเชล – นวัตกรรมสำหรับสังคมอายุยืนที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ”

Motion-assist Bodysuit “Rachel - Active wear for independent lifestyle”

วิทยากร
  • ดร. กฤษดา ประภากร
  • นพ. นพพร ชื่นกลิ่น
  • รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์
  • ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ 
  • ดร. วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ 
  • อ. กนกลักษณ์ ดูการณ์ 
  • รศ. ดร. วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ 
  • ดร. เปริน วันแอเลาะ
  • คุณพรพิพัฒน์ อยู่สา
  • ดร. ธนรรค อุทกะพันธ์ 
  • คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์
  • ดร. ศศิธร ศรีสวัสดิ์

 

เทคโนโลยีชุดบอดี้สูท “เรเชล – นวัตกรรมสำหรับสังคมอายุยืนที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ”

เมื่อประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมอายุยืน” อย่างเต็มรูปแบบ จะทำอย่างไรให้การมีชีวิตยืนยาวนั้นมีคุณภาพ ลดการพึ่งพา และยังมีคุณค่าต่อสังคม ?

จากคำถามนี้ MTEC สวทช. ได้ร่วมกับเครือข่ายฯ ออกแบบนวัตกรรมบอดี้สูท ที่มีชื่อเล่นว่า “เรเชล” Rachel – Motion-assist Bodysuit สำหรับผู้สูงอายุที่สามารถสวมใส่ได้ตลอดทั้งวัน เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการเสริมแรงให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ เคียงคู่กับผู้สูงอายุได้ตลอดในกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้นยืน เดินขึ้นบันได ทำงานบ้าน เป็นต้น งานสัมมนาครั้งนี้ คณะวิจัยจะมาเล่าถึงนวัตกรรมนี้ แชร์ประสบการณ์ความท้าทายในการออกแบบวิจัยและพัฒนาที่มีการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปี และชวนผู้ร่วมสัมมนาในการมองถึงอนาคตในการต่อยอดเทคโนโลยีนี้ไปด้วยกัน 

จากผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของผู้สูงอายุและผู้ดูแลด้วยกระบวนการการออกแบบที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (Human-centric design) พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่แม้จะเป็นกลุ่มพฤฒพลัง (Active aging) ล้วนเริ่มมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) มีโรคกระดูกและข้อ และความเสื่อมถอยของอวัยวะต่าง ๆ ไปตามอายุขัย นำมาซึ่งปัญหาการทรงตัวและความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวและความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม โดยกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ผู้สูงอายุมักประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือในลำดับต้น ๆ คือ การลุกขึ้นยืน การเดินขึ้นบันได และการยกของระหว่างการทำงานบ้าน เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาบริบทของผู้ใช้ (User insights) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการ “ตัวช่วย” ที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุได้ น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย มีความสวยงาม ใส่แล้วไม่รู้สึกแปลกแตกต่างจากคนทั่วไป จากโจทย์นี้เอง MTEC สวทช. ได้ร่วมกับเครือข่ายฯ ออกแบบนวัตกรรมบอดี้สูท “เรเชล” Rachel – Motion-assist Bodysuit สำหรับผู้สูงอายุที่สามารถสวมใส่ได้ตลอดทั้งวัน เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการเสริมแรงให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ เคียงคู่กับผู้สูงอายุได้ตลอดในกิจวัตรประจำวัน 

กำหนดการสัมมนา

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร. กฤษดา ประภากร, รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

09.10 – 09.30 น. บทบาทของแหล่งทุนกับงานวิจัยและพัฒนาด้าน Wearable Technologies และ Exoskeleton 

โดย นพ. นพพร ชื่นกลิ่น, ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์, รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

09.30 – 09.45 น. เทคโนโลยีชุดบอดี้สูทสำหรับผู้สูงอายุ Active Aging “เรเชล – นวัตกรรมสำหรับสังคมอายุยืน ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ” 

โดย ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ, ผู้อำนวยกลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

09.45 – 10.00 น. เทคโนโลยีกล้ามเนื้อจำลองสำหรับชุด Exosuit

โดย ดร. วรวริศ กอปรสิริพัฒน์, นักวิจัย ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 

10.00 – 10.15 น. มุมมองจากแฟชั่นดีไซเนอร์ “ออกแบบชุด Exosuit ยังไงให้โดนใจ สว.”

โดย อ. กนกลักษณ์ ดูการณ์, ผู้อำนวยการศูนย์อบรมแพ็ทเทิร์นอุตสาหกรรม แพ็ทเทิร์นไอที, สถาบันพัฒนาแพ็ทเทิร์นอุตสาหกรรมและออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูป

10.15 – 10.30 น. มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์การกีฬา “การออกแบบชุด Exosuit ให้เสริมการเคลื่อนไหว”

โดย รศ. ดร. วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์, รองคณบดีฝ่ายวิจัยวิชาการและวิเทศสัมพันธ์, วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

10.30 – 10.45 น. แนวคิดการออกแบบชุด Exosuit ให้รองรับสรีระผู้ใช้ด้วยหลักการกายวิภาคศาสตร์

โดย ดร. เปริน วันแอเลาะ, นักวิจัยหลังปริญญาเอก ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

10.45 – 11.00 น. พักระหว่างการสัมมนา
11.00 – 11.15 น. การประเมินประสิทธิภาพการใช้งานชุด Exosuit ด้วยสัญญาณกล้ามเนื้อ (EMG signal analysis)

โดย คุณพรพิพัฒน์ อยู่สา, ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

11.15 – 11.30 น. การประเมินประสิทธิภาพการใช้งานชุด Exosuit ด้วยการจำลองการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal modeling)

โดย ดร. ธนรรค อุทกะพันธ์, นักวิจัย ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

11.30 – 11.40 น. เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการประเมินประสิทธิภาพ Wearable Devices

โดย คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์, วิศวกร ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

10.40 – 11.45 น. ทิศทางการต่อยอดเทคโนโลยีสู่ผลิตภัณฑ์ชุด Exosuit สำหรับผู้สูงอายุ และบุคลากรทางการแพทย์

โดย ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ, ผู้อำนวยกลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

11.45 – 12.00 น. ถาม – ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ดำเนินรายการโดย

ดร. ศศิธร ศรีสวัสดิ์, หัวหน้าทีมวิจัยทีมวิจัยวัสดุเฉพาะทางสำหรับการประยุกต์ใช้ทางวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.

 

สถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อสัมมนา
VDO สัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. กฤษดา ประภากร
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
นพ. นพพร ชื่นกลิ่น
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์
รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ
ผู้อำนวยกลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร. วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ 
นักวิจัย ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ดี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
อ. กนกลักษณ์ ดูการณ์ 
ผู้อำนวยการศูนย์อบรมแพ็ทเทิร์นอุตสาหกรรม แพ็ทเทิร์นไอที สถาบันพัฒนาแพ็ทเทิร์นอุตสาหกรรมและออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูป
รศ. ดร. วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ 
รองคณบดีฝ่ายวิจัยวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. เปริน วันแอเลาะ
นักวิจัยหลังปริญญาเอก ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ดี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
คุณพรพิพัฒน์ อยู่สา
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ดี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร. ธนรรค อุทกะพันธ์ 
นักวิจัย ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ดี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์
วิศวกร ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ดี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร. ศศิธร ศรีสวัสดิ์
หัวหน้าทีมวิจัยทีมวิจัยวัสดุเฉพาะทางสำหรับการประยุกต์ใช้ทางวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ