29 มีนาคม 2567

ไขโจทย์อุตสาหกรรมด้วยเทคนิคโอเปอรันโดสเปกโตรสโกปีเพื่อการวิจัยด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเคมี(จัดในรูปแบบออนไลน์)

Trends and Advancements in Operando Spectroscopy for Energy, Environmental, and the Chemical Industry(Online)

วิทยากร
  • ผศ.ดร.ธนากร โอสถจันทร์
  • ดร.กมลวรรณ ธรรมเจริญ
  • ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง
  • ดร.ปฐมาภรณ์ วัฒนพันธุ์ 
  • ดร. บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์
  • ผศ. ดร. ศิรินุช ลอยหา
  • ดร. ณัฐวุฒิ  โอสระคู
  • ดร. คณิต หาญตนศิริสกุล

 

ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้าด้านการวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูงเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการสร้างนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เกษตรและอาหาร พลังงานและวัสดุ สุขภาพและการแพทย์ ปิโตรเคมีและสิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ กำลังได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนของประชาคมวิจัย และได้รับการส่งเสริม ผลักดัน จากรัฐบาล เพราะสามารถสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิต ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง มีนวัตกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐานเทคโนโลยีที่มั่นคง นำไปสู่การเป็นผู้นำหลักทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงระดับเอเชีย แปซิฟิค จนส่งผลให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกของประเทศไทย สำหรับการศึกษาและพัฒนาวัสดุนาโนที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศทั้งทางด้านการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเชิงอุตสาหกรรม Operando spectroscopy ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากและได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับเคมีพื้นผิว โดยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวัสดุนาโนที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทย โดยการยกระดับการแข่งขันอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก ซึ่งเทคนิค Operando spectroscopy สามารถสร้างจุดแข็งทางด้านการวิเคราะห์คุณลักษณะขั้นสูงระดับโลกโดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางของการวิเคราะห์ โดยทั่วไปแล้ว เทคนิค Operando spectroscopy สามารถสร้างความเข้าใจในกลไกทำงานของวัสดุนาโน โดยเฉพาะธรรมชาติหรือพฤติกรรมของวัสดุศาสตร์ในระดับโครงสร้างอะตอม ทำให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาวัสดุนาโนให้มีความสามารถในการทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงระดับซับซ้อน นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุนาโนขณะสังเคราะห์และระหว่างการใช้งานก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ในการอธิบายการทำงานของวัสดุนาโนเหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาวัสดุนาโนให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการใช้งานอีกด้วย ซึ่งในหัวข้อการสัมมนาครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอแนวโน้มและความสำคัญของสเปกโทรสโกปีโอเปอรันโดต่ออุตสาหกรรมพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเคมี ของประเทศไทยในขณะนี้

กำหนดการสัมมนา
13.30 – 16.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.45 น กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ผศ.ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนโทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำเนินรายการโดย ดร.กมลวรรณ ธรรมเจริญ / ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง

13.45 – 14.15 น. หัวข้อบรรยาย ไขโจทย์อุตสาหกรรมด้วยเทคนิคเปกโตรสโกปี GCxGC MS เพื่อการวิจัยด้านพลังงาน และการแยกความแตกต่างของน้ำมันดิบ”

โดย ดร. ปฐมาภรณ์ วัฒนพันธุ์ ตำแหน่ง นักวิจัย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

14.20 – 14.50 น. หัวข้อบรรยาย วิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุในสภาวะเสมือนจริงด้วย operando spectroscopy เพื่อมุ่งสู่ carbon neutrality 

โดย ดร. บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.)

14.55 – 15.30 น. หัวข้อบรรยาย ไขความลับกลไกการเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ด้วยระบบ Operando XAS-GC-MS 

โดย ผศ.ดร. ศิรินุช ลอยหา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หัวข้อบรรยาย การยกระดับการติดตามการเร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธ์ด้วยการใช้เทคนิคร่วม Operando XAS-GC-MS และ DRIFTS

โดย ดร. ณัฐวุฒิ  โอสระคู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

15.35 – 16.05 น. หัวข้อบรรยาย High-performance polyolefin for energy storage devices and electric vehicles

โดย ดร. คณิต หาญตนศิริสกุล Central Research and Development, SCG Chemicals

16.05 – 16.30 น ถาม – ตอบ
เกี่ยวกับวิทยากร
ผศ.ดร.ธนากร โอสถจันทร์
รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนโทคโนโลยีแห่งชาติ
ดร.กมลวรรณ ธรรมเจริญ
ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง
ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.)
ดร.ปฐมาภรณ์ วัฒนพันธุ์ 
ตำแหน่ง นักวิจัย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
ดร. บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์
ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.)
ผศ. ดร. ศิรินุช ลอยหา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 ดร. ณัฐวุฒิ  โอสระคู
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ดร. คณิต หาญตนศิริสกุล
Central Research and Development, SCG Chemicals

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ