28 มีนาคม 2567

สืบสานภูมิปัญญา ต่อยอดลายอัตลักษณ์ผ้าไทย ยกระดับคุณภาพด้วยเทคโนโลยี 

วิทยากร
  • อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย
  • ผศ.ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์
  • อาจารย์แพรวา รุจิณรงค์
  • คุณอมตา จิตตะเสนีย์ (คุณแพรี่พาย)
  • ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ
  • นางแสงมณี โคตรเจริญ
  • นายวิวัฒน์ พร้อมพูน

 

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเส้นไหมอันดับ 5 ของโลก 520 ตัน ในปี 2564 ประเทศไทยส่งออกผ้าไหมมูลค่ากว่า 364 ล้านบาท ผ้าไหมทอพื้นเมืองเป็นผลิตภัณฑ์ทรงคุณค่าทางภูมิปัญญาที่ชุมชนทางภาคอีสานที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เขตทุ่งกุลาร้องไห้ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด เป็นแหล่งที่มีผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือที่มีอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาที่มีความโดดเด่น มีการสอดแทรกลวดลายโบราณที่สะท้อนถึงวิถีวัฒนธรรมของคนในสมัยก่อน ปัจจุบันการผลิตสินค้าผ้าไหมของชุมชนต่าง ๆ กำลังประสบปัญหาปริมาณการผลิตผ้าไหมของชุมชนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตให้คงที่ การสร้างอัตลักษณ์สิ่งทอพื้นเมือง ต้นทุนการผลิตสูง ขาดแรงงานช่างทอผ้า สิ้นเปลืองพลังงานสูงในขั้นตอนการผลิต รวมทั้งการใช้สารเคมีในขั้นตอนการเตรียมเส้นไหม การย้อมสีเคมี ทำให้เกิดมลภาวะในน้ำทิ้งของชุมชน 

สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ได้เล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับการผลิตผ้าไหมทอพื้นเมืองของไทย จึงได้กำหนดจัดเสวนา “สืบสานภูมิปัญญา ต่อยอดลายอัตลักษณ์ผ้าไทย ยกระดับคุณภาพด้วยเทคโนโลยี” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งการอนุรักษณ์ และสืบสานภูมิปัญญาทอผ้า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับสิ่งทอ การย้อมสีจากพืชธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี สร้างผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการออกแบบลวดลายอัตลักษณ์ การประยุกต์ผ้าไหมไทยให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง การสร้างจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยคาดหวังว่าความรู้ที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอพื้นเมืองของไทยให้ได้รับการยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ  ชุมชนจะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งผู้เข้าร่วมเสวนาจะได้เข้าร่วมกิจกรรมการย้อมสีธรรมชาติ (work shop) จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

กำหนดการเสวนา
13.00 – 13.15 น. ลงทะเบียน
13.15 – 15.15 น. เสวนาหัวข้อ สืบสานภูมิปัญญา ต่อยอดลายอัตลักษณ์ผ้าไทย ยกระดับคุณภาพด้วยเทคโนโลยี

ประเด็นการเสวนา (120 นาที)

การอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญา มรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าผ้าไหมไทย (20 นาที)
โดย อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ครูศิลป์ของแผ่นดิน ผู้สืบสานหัตถศิลป์ไทย มรดกของวัฒนธรรม

การสร้างลวดลายอัตลักษณ์ผ้าไหมไทย การใช้สีธรรมชาติ โดยชุมชนมีส่วนร่วม (20 นาที)  
โดย ผศ.ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

การออกแบบสิ่งทอสมัยใหม่ เชื่อมโยงวัฒนธรรมพื้นบ้าน (25 นาที)
โดย อาจารย์แพรวา รุจิณรงค์ สาขาแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

การประยุกต์ผ้าไหมไทยกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ (25 นาที)
โดย คุณอมตา จิตตะเสนีย์ (คุณแพรี่พาย) อดีต Beauty Influencer ที่ผันตัวมาเป็นนักสร้างสรรค์สื่อเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีและนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา (20 นาที)   
โดย ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ ทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ชุมชนทอผ้ากับการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง (10 นาที)  
โดย นางแสงมณี โคตรเจริญ ประธานวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านอุ่มแสง ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

15.15 – 16.00 น. ดำเนินรายการโดย

อาจารย์แพรวา รุจิณรงค์ และนายวิวัฒน์ พร้อมพูน ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สวทช.

เวทีถาม-ตอบ แลกเปลี่ยน

16.00 – 17.00 น. Workshop การย้อมสีธรรมชาติ 

ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้เอนไซม์ และลงมือปฏิบัติการย้อมสีจากพืชธรรมชาติ พร้อมรับตัวอย่างผ้ากลับเป็นของที่ระลึกจากการร่วมกิจกรรม

กลุ่มชุมชนที่เข้าร่วม

  • กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านอุ่มแสง ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
  • กลุ่มเสื้อเย็บมือผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือบ้านเมืองหลวง ต.เมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ    
  • กลุ่มทอผ้าลายประยุกต์บ้านแสนสุข ต.ยะวึก อ.ชุมผลบุรี จ.สุรินทร์
  • กลุ่มผู้ผลิตเส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสานบ้านหนองแคนลุมพุก ต.เวียงสะอาด อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
  • โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านดอนหลี่ ต.หนองบัวแก้ว อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
  • กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกลุ่มโคกล่าม ต.หนองบัวแก้ว อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
เกี่ยวกับวิทยากร
อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย
ครูศิลป์ของแผ่นดิน ผู้สืบสานหัตถศิลป์ไทย มรดกของวัฒนธรรม
ผศ.ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์
หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
อาจารย์แพรวา รุจิณรงค์
สาขาแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
คุณอมตา จิตตะเสนีย์ (คุณแพรี่พาย)
อดีต Beauty Influencer ที่ผันตัวมาเป็นนักสร้างสรรค์สื่อเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
นางแสงมณี โคตรเจริญ
ประธานวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านอุ่มแสง ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
นายวิวัฒน์ พร้อมพูน 
ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สวทช.

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ