28 มีนาคม 2567

นวัตกรรมอาหารฟังก์ชันเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ

Co-creation of innovative functional foods for driving bioindustry

วิทยากร
  • ดร. วรรณพ วิเศษสงวน
  • ดร. วีระพงษ์ วรประโยชน์
  • ดร. กิตติยา  เกษรบัวขาว
  • น.สพ.ดร. มงคล แก้วสุทัศน์
  • คุณภีมเดช อุตสาหจิต
  • คุณกวินรัฎฐ์ ยศอมรสุนทร
  • ดร.อติกร ปัญญา

ปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ ได้แก่ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ซึ่งหมายถึง การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบชีวภาพหรือชีวมวลเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจุดแข็งของประเทศไทยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพคือ มีความหลากหลายของพันธุกรรมพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ และมีความพร้อมในด้านวัตถุดิบชีวภาพที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่ใช้ฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้อาหารไทยมีอัตลักษณ์เป็นที่ต้องการของตลาดโลก อย่างไรก็ตามสินค้าส่วนใหญ่ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปขั้นต้นยังไม่ใช่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ตอบสนองความต้องการที่จำเพาะของผู้บริโภค ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง  และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมการผลิตอาหารฟังก์ชัน ทั้งอาหารสุขภาพ อาหารเฉพาะกลุ่ม และกลุ่มสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredients) 

สวทช. ได้จัดตั้งกลุ่มแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน หรือ FoodSERP เพื่อพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร ผ่านกลยุทธ์การผนวกวิทยาการความรู้และความเชี่ยวชาญสหสาขา เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อม โดยเป็นการให้บริการตลอดห่วงโซ่การผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในรูปแบบ One-stop service มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มการผลิตมาประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมกลุ่มผลิตภัณฑ์เป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredients) 2) โปรตีนทางเลือก (Alternative proteins) 3) สารสกัดเชิงหน้าที่ (Functional extracts) และ 4) อาหารเฉพาะกลุ่ม (Food for specific groups) เพื่อผลักดันให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาหารทางการแพทย์ และอาหารเฉพาะกลุ่ม และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศ

(ร่าง) กำหนดการสัมมนา
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร. วรรณพ วิเศษสงวน  ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 

ดำเนินรายการโดย ดร. วีระพงษ์ วรประโยชน์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 

09.10 – 09.40 น. Top Trends in the Global Functional Food & Beverage Market

โดย ดร. กิตติยา  เกษรบัวขาว Technical Business Development Manager Food & Nutrition APAC

09.40 – 10.10 น. Functional foods and health benefits 

โดย น.สพ.ดร. มงคล แก้วสุทัศน์ Country Leader of dsm-firmenich Thailand
DSM Nutritional Products (Thailand) Ltd.

10.10 – 10.40 น. แนวโน้มความต้องการและนวัตกรรมอาหารอนาคต

โดย คุณภีมเดช อุตสาหจิต ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมแบบเปิด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

10.40 – 10.50 น. พักระหว่างการสัมมนา
10.50 – 11.20 น. นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตของโลกและทรัพย์สมบัติของประเทศไทย

โดย คุณกวินรัฎฐ์ ยศอมรสุนทร ฟาร์มสยามบั๊กส์ กรรมการผู้จัดการฟาร์มสยามบั๊กส์ โดย บจก. คามิสุ ซุปเปอร์ เอ็นโต โปรดักส์

11.20 – 11.50 น. แพลตฟอร์มการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้านนวัตกรรมอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน 

โดย  ดร.อติกร ปัญญา หัวหน้าทีมวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร

เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. วรรณพ  วิเศษสงวน
ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ดร. วีระพงษ์ วรประโยชน์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ดร. กิตติยา เกษรบัวขาว
Technical Business Development Manager Food & Nutrition APAC
น.สพ.ดร. มงคล  แก้วสุทัศน์
Country Leader of dsm-firmenich Thailand DSM Nutritional Products (Thailand) Ltd.
คุณภีมเดช อุตสาหจิต
ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมแบบเปิด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
คุณกวินรัฎฐ์ ยศอมรสุนทร
กรรมการผู้จัดการฟาร์มสยามบั๊กส์ ฟาร์มสยามบั๊กส์ โดย บจก. คามิสุ ซุปเปอร์ เอ็นโต โปรดักส์
ดร.อติกร  ปัญญา
หัวหน้าทีมวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ