แผนงาน : แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ปฐมภูมิ
ผลงาน : แพลตฟอร์ม A-MED Care สำหรับร้านยา และคลินิกพยาบาล
แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ปฐมภูมิ เป็นระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่วิจัยพัฒนาโดย สวทช. เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่อง ความแออัดของหน่วยบริการสาธารณสุข โดยเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการให้รองรับผู้ป่วยให้ได้มาก โดยมีตัวอย่างแพลตฟอร์มย่อยที่สำคัญ คือ A-MED Care สำหรับร้านยาคุณภาพ คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น และคลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น และ A-MED Home ward สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งทั้งสองผลงานได้พัฒนาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุข สภาวิชาชีพด้านการแพทย์ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดการใช้งานจริงอย่างต่อเนื่องตลอดไป
A-MED Care
เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) สวทช.ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) และร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สภาเภสัชกรรม และ สภาการพยาบาล พัฒนาต่อยอดมาจากแพลตฟอร์ม A-MED Telehealth โดยมีเป้าหมายเป็นแพลตฟอร์มกลางให้บริการดูแลรักษาโรคทั่วไป สำหรับหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ (Primary Care) ที่ได้รับรองศักยภาพการให้บริการโดย สปสช.
A-MED Care
ครอบคลุมกระบวนการยืนยันและพิสูจน์ตัวตน (Authentication) ของผู้ป่วยด้วยบัตรประชาชนแบบสมาร์ตการ์ด บันทึกการรักษาโรค จ่ายยาเวชภัณฑ์ ตลอดจนส่งเคลมผ่านระบบ API ไปยัง สปสช. ได้โดยตรง พร้อมมีระบบ Dashboard ติดตามสถานการณ์ แบบเบ็ดเสร็จ
รูปที่ 1 ต้นแบบแพลตฟอร์ม A-MED Care สำหรับร้านยา และคลินิกพยาบาล
ปัจจุบัน A-MED Care ให้บริการร้านยาคุณภาพ มากกว่า 1,600 แห่ง คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น มากกว่า 600 แห่ง และ คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น มากกว่า 20 แห่ง (เริ่มใช้งานเดือนกุมภาพันธ์ 2567) อยู่ระหว่างขยายผลการใช้งานให้ครอบคลุมร้านยาคุณภาพ คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น และคลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่นทั่วประเทศต่อไป
จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
- แพลตฟอร์มออกแบบให้ใช้งานบนคลาวน์ภาครัฐ GDCC ที่มีมาตรฐานสากล ISO 27001 และ ISO 20000-1 มีความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความปลอดภัยสูง
- มีระบบ API เชื่อมโยงระบบการขอบริการยืนยันและพิสูจน์ตัวตน
- มีระบบเชื่อมต่อเครื่องอ่านบัตรประชาชนแบบ Smart Card รองรับการปิดสิทธิ์
- มีระบบ API เชื่อมโยงระบบเบิกจ่ายบริการสุขภาพ (e-Claim)
- มีระบบ Dashboard ติดตามผลการเบิกจ่ายแบบ Real-time
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้ แพลตฟอร์ม
- ร้านยาคุณภาพของฉัน
- คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น
- คลินิก OP-Telemedicine
- คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น
- คลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น (กำลังพัฒนาฯ)
ขอบเขต/ข้อจำกัดการใช้งาน
หน่วยงานที่ต้องการใช้งาน A-MED Care จะต้องเป็นหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. และต้องผ่านการประเมินคุณภาพหน่วยบริการภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิชาชีพนั้นๆ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อีเมล dhcb-hii@www.nstda.or.th
รูปที่ 2 Dashboard แสดงสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วย สถานะผู้ป่วยฯ แบบเรียลไทม์ ณ ปัจจุบัน (กรณีร้านยาคุณภาพ)
รูปที่ 3 การใช้งานแพลตฟอร์มจริงโดยเภสัชกรร้านยา
แผนงาน : แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ปฐมภูมิ
ผลงาน : แพลตฟอร์ม A-MED Homeward สำหรับโรงพยาบาล
แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ปฐมภูมิ เป็นระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่วิจัยพัฒนาโดย สวทช. เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่อง ความแออัดของหน่วยบริการสาธารณสุข โดยเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการให้รองรับผู้ป่วยให้ได้มาก โดยมีตัวอย่างแพลตฟอร์มย่อยที่สำคัญ คือ A-MED Care สำหรับร้านยาคุณภาพ คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น และคลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น และ A-MED Home ward สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งทั้งสองผลงานได้พัฒนาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุข สภาวิชาชีพด้านการแพทย์ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดการใช้งานจริงอย่างต่อเนื่องตลอดไป
A-MED Home ward สำหรับโรงพยาบาล
เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) พัฒนาต่อยอดมาจากแพลตฟอร์ม A-MED Telehealth โดยมีเป้าหมายเป็นแพลตฟอร์มกลางให้บริการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยในที่บ้าน สำหรับหน่วยบริการระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) เช่น โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น โดยจะต้องได้รับรองศักยภาพการให้บริการโดย สปสช.
A-MED Home ward
รองรับการดูแลผู้ป่วยโรคทางกาย 7 กลุ่มโรค และโรคทางจิตเวช ดังนี้
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคแผลกดทับและพื้นที่กดทับ
- โรคติดเชื้อในระบบทางเดิน
- โรคปอด
- โรคไส้ติ่งอักเสบ
- โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
รูปที่ 1 ต้นแบบแพลตฟอร์ม A-MED Homeward สำหรับโรงพยาบาล
ปัจจุบัน A-MED Home ward ให้บริการโรงพยาบาล ดูแลโรคทางกาย มากกว่า 700 แห่ง และโรงพยาบาล ดูแลโรคทางจิตเวช มากกว่า 20 แห่ง และจะขยายผลการใช้งานให้ครอบคลุมโรงพยาบาลทางกายและทางจิตทั่วประเทศต่อไป
จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
- เป็นแพลตฟอร์มกลางให้บริการทางการแพทย์ทางไกล (Telehealth) สำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยในที่บ้าน สำหรับทีม แพทย์ เภสัชกร พยาบาลหรือสหวิชาชีพ
- แพลตฟอร์มออกแบบให้ใช้งานบนคลาวน์ภาครัฐ ที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง
- มีระบบ Dashboard แสดงสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วย สถานะผู้ป่วยฯ แบบเรียลไทม์ (Real-time)
- มีระบบ Video conference ให้ทีมแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ใช้เยี่ยมติดตามอาการผู้ป่วยทางไกล
- ได้รับการยอมรับเป็นเครื่องมือให้บริการกับหน่วยบริการที่ต้องการเบิกจ่าย สำหรับบริการ DMS Home ward ของ สปสช.
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้ แพลตฟอร์ม โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.
ขอบเขต/ข้อจำกัดการใช้งาน
หน่วยงานที่ต้องการใช้งาน A-MED Homeward จะต้องเป็นหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. เท่านั้น
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อีเมล dhcb-hii@www.nstda.or.th
รูปที่ 1 Dashboard แสดงสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วย สถานะผู้ป่วยฯ แบบเรียลไทม์ ณ ปัจจุบัน
รูปที่ 2 การใช้งานแพลตฟอร์มจริงโดยโรงพยาบาลกบินทร์บุรี