ผู้วิจัย

ว่าที่ร้อยตรี ดร.นพดล สิทธิพล ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC)

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

แผงโซลาร์เซลล์ที่มีน้ำหนักเบามีข้อดีในการช่วยลดข้อจํากัดในการต่อเติมโครงสร้าง เพื่อรองรับน้ำหนักแผงสำหรับการติดตั้ง และเพิ่มรูปแบบการประยุกต์ใช้งานโซลาร์เซลล์ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตามนํ้าหนักที่เบาขึ้น จะทำให้แผงโซลาร์เซลล์มีความแข็งแรงและทนทานในการรับน้ำหนักจากแรงกระแทกลดลง ด้วยโครงสร้างแผงโซลาร์เซลล์ทีมีน้ำหนักเบาโดยทั่วไปจะใช้วัสดุประเภทพอลิเมอร์ เช่น Polyethylene Terephthalate (PET) เป็นชั้นด้านหน้าทดแทนกระจก และใช้เป็นชั้นด้านหลังแทน Polyvinyl fluoride (PVF) แผงที่ได้จะมีนํ้าหนักเบาขึ้น แต่รับแรงกดทับหรือแรงกระแทกได้น้อยลง เมื่อนําไปติดตั้งใช้งานแผงจึงมีโอกาสเสียหายได้ง่าย  ดังนั้นการพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ที่มีน้ำหนักเบา และมีความแข็งแรงที่รองรับแรงกดทับ และแรงกระแทกได้ จะช่วยส่งเสริมการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบ Vehicle integrated PV (VIPV) ที่แผงโซลาร์เซลล์ต้องติดตั้งกับยานพาหนะและรับแรงสั่นสะเทือนขณะยานพาหนะเคลื่อนที่ได้ รวมไปถึงการใช้งานในรูปแบบ Building integrated PV (BIPV) ได้

สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี

แผงโซลาร์เซลล์ที่พัฒนาโครงสร้างใหม่ที่มีนํ้าหนัก 3.8 kg/m2 หรือคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 30% ของนํ้าหนักแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป โดยแผงจะมีความแข็งแรงกว่าแผงที่ทำจากโครงสร้าง PET-PET หรือ PET-PVF ที่มีนํ้าหนักเบาทั่วไป เนื่องจากมีการเสริมชั้นที่มีรูปทรงคล้ายตาข่าย เพิ่มการรับนํ้าหนักในโครงสร้างแผง โดยประสิทธิภาพของแผงยังคงเทียบเท่าแผงแบบเดิม ด้วยลักษณะพิเศษของชั้นดังกล่าวแผงที่พัฒนาขึ้นมีรูปทรงคล้ายตาข่ายนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า “Mesh PV” จากคุณสมบัติที่เบา และแข็งแรง Mesh PV จึงเหมาะสําหรับประยุกต์ใช้กับยานพาหนะ (VIPV) อาทิ รถยนต์ รถบัส เรือ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนเป็น Electrical Vehicle (EV) กันมากขึ้น รวมถึงเหมาะกับการประยุกต์ใช้เป็นส่วนหนึ่งของอาคาร (BIPV) อาทิ หลังคาอาคาร หลังคาทางเดิน หน้าต่างบานพับ กันสาด เป็นต้น

สถานภาพสิทธิบัตร

คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 2301006226 ยื่นคำขอวันที่ 27 กันยายน 2566

สถานภาพของผลงานวิจัย

ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

รูปด้านหน้า Mesh PV
รูปด้านหลัง Mesh PV
Mesh PV
ติดต่อสอบถาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.