ผู้วิจัย

วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

ปัจจุบันการตรวจโรคกุ้งใช้เวลานาน มีขั้นตอนในการตรวจซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง เครื่องมือราคาแพง และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาชุดตรวจที่มีการใช้งานง่าย มีความแม่นยำเทียบเท่า PCR แต่รวดเร็วกว่า และราคาต้นทุนต่ำกว่า รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถตรวจโรคได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการหรือเทคนิคนี้เรียกว่า “แลมป์” (LAMP) มีวิธีการใช้งานและขั้นตอนตรวจสอบผลการติดเชื้อโรคกุ้งที่ง่ายแบบขั้นตอนเดียว 2 แบบ แบบแรกคือ Real-AMP คือการออกแบบเทคนิคแลมป์ให้ใช้ควบคู่กับเครื่องวัดความขุ่นแบบเรียลไทม์ ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาแลมป์และเครื่องตรวจวัดความขุ่นที่เกิดจากปฏิกิริยาแลมป์โดยการแสดงผลด้วยเส้นกราฟที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่อกับเครื่องวัดความขุ่น แบบที่ 2 คือ XO-AMP เป็นการออกแบบเทคนิคแลมป์ร่วมกับการอ่านผลด้วยสี Xylenol orange ที่เปลี่ยนไป หากมีการติดเชื้อก่อโรคกุ้งในหลอดทดสอบ สีของปฏิกิริยาแลมป์จะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลืองภายในเวลา 60 นาที แต่ถ้ากุ้งไม่มีการติดเชื้อ สีของปฏิกิริยาแลมป์จะยังคงเป็นสีม่วง 

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
  • มีความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำ เทียบเท่ากับเทคนิค PCR
  • มีขั้นตอนที่ง่าย รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน ผู้ประกอบการสามารถตรวจได้เองในพื้นที่
  • น้ำยาแลมป์ อุปกรณ์และเครื่องมือ มีราคาถูก ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งเข้าถึงได้
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2303001829 ยื่นคำขอวันที่ 6 กรกฎาคม 2566
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2303001831 ยื่นคำขอวันที่ 6 กรกฎาคม 2566
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2303001855 ยื่นคำขอวันที่ 6 กรกฎาคม 2566
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2303003654 ยื่นคำขอวันที่ 15 ธันวาคม 2566 
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2403000066 ยื่นคำขอวันที่ 11 มกราคม 2567
สถานภาพของผลงานวิจัย
  • ต้นแบบระดับ pilot scale
ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ/ ผู้ต้องการนำไปใช้งานตรวจโรคกุ้ง 

ชุดตรวจโรคกุ้งแบบ real-amp
เครื่องวัดความขุ่นแบบเรียลไทม์
ติดต่อสอบถาม