ผู้วิจัย
กรรณิกา หัตถะปะนิตย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การพัฒนาดินปั้นจากสารธรรมชาติ (Para Dough) เกิดจากความพยายามในการประยุกต์ใช้ยางธรรมชาติในมุมมองใหม่เพื่อช่วยเพิ่มทางเลือกในการแปรรูปยางธรรมชาติที่ผลิตได้ภายในประเทศ โดยอาศัยการปรับสมบัติความแข็งอ่อนของยางร่วมกับการใช้ยางประสาน (rubber binder) จากยางธรรมชาติ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ยางธรรมชาติในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มีการคงรูป (non-vulcanize) นอกจากนี้ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการเตรียมดินปั้นดังกล่าวยังเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติส่งผลให้ดินปั้นจากสารธรรมชาติมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง
คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
- ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ผลิตภัณฑ์จากข้าว ข้าวโพด ยาง และ มันสำปะหลัง เป็นต้น รวมถึงสารช่วยยึดติดจากยางธรรมชาติหรือยางธรรมชาติเหลวหนืด จึงปลอดภัยทั้งต่อผู้เล่น และ สิ่งแวดล้อม
- คงรูปร่างอยู่นาน ไม่แห้งแข็งเมื่อสัมผัสอากาศเป็นเวลานาน และสามารถนำกลับมาปั้นใหม่ได้ ควรเก็บในบรรจุภัณฑ์ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส
- มีความเสถียรต่ออุณหภูมิ ไม่เยิ้มเหนียวเมื่อโดนความร้อน และสามารถเล่นได้ตามปกติเมื่อเย็นตัวลง
- แข็งตัวเมื่ออยู่ในที่อุณหภูมิต่ำ แต่เมื่อกลับสู่สภาวะอุณหภูมิห้อง สามารถปั้นได้ตามปกติ
- สามารถฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ได้
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
- คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่ 2101005278 ยื่นคำขอวันที่ 3 กันยายน 2564
- ความลับทางการค้า
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ