© 2024 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ
เกษตรสมัยใหม่
เพื่อความยั่งยืน
เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำเกษตร รวมทั้งป้องกันศัตรูพืชแบบชีวภาพ
28 มีนาคม 2567
A1
B1
- Plant Factory (โรงงานผลิตพืช)
- ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Center : NOC)
- ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. (NSTDA Characterization and Testing Service Center: NCTC)
- โรงงานต้นแบบผลิตไวรัสเอ็นพีวีเพื่อควบคุมศัตรูพืช
A1/B1
Plant Factory (โรงงานผลิตพืช)
โรงงานผลิตพืช หรือ Plant Factory ของ ไบโอเทค สวทช. มีพื้นที่ปลูกพืช 910 ตารางเมตร เป็นเทคโนโลยีการปลูกพืชในระบบปิดที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ เช่น ช่วงคลื่นแสง ความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างสมบูรณ์ โดยแหล่งกำเนิดแสงที่นำมาใช้แทนแสงอาทิตย์จากธรรมชาติ คือ แสงจากหลอดไฟ LED ซึ่งให้ความร้อนน้อยกว่าและประหยัดไฟมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่สำคัญ คือ สามารถเลือกสี ความยาวคลื่นแสง ตามความเหมาะสมของชนิดพืชและระยะการเจริญเติบโตได้ ซึ่งจะช่วยให้พืชที่ปลูกให้ผลผลิตสูง และผลิตสารสำคัญตามต้องการได้ จุดเด่นที่สำคัญของ Plant Factory คือ สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล อีกทั้งการปลูกพืชในระบบปิดและมีระบบกรองอากาศนี้ทำให้ปราศจากเชื้อก่อโรคและแมลง ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัย และไม่มีสารตกค้าง
Plant Factory ของ สวทช. นับเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการผลิตพืชที่จะยกระดับการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรแบบแม่นยำ (precision farming) และการผลิตเชิงอุตสาหกรรม (industrial farming) ซึ่งขณะนี้ Plant Factory ของ สวทช. มีการใช้งานทางด้านการวิจัยเป็นหลัก
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Center : NOC)
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ ให้บริการเทคนิควิเคราะห์ทดสอบ จีโนมของสิ่งมีชีวิต วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างชนิดของสิ่งมีชีวิต และในระดับพันธุศาสตร์ประชากร พัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะที่สนใจ ให้บริการการตรวจวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ (เช่น เมล็ดพันธุ์ลูกผสม) ด้วยเทคนิค genome sequencing และ genotyping (SNP, SSR genotyping) ตรวจวิเคราะห์เชื้อก่อโรคในพืชและสัตว์ ด้วยเทคนิค PCR, RT-PCR และ Elisa วิเคราะห์การแสดงออกของยีนในระดับ transcriptomics และ proteomics และให้บริการวิเคราะห์สาร metabolites ในสิ่งมีชีวิต มีการให้บริการพัฒนาเครื่องหมายชีวโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะที่สนใจได้
ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. (NSTDA Characterization and Testing Service Center: NCTC)
ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช (NCTC) เป็นศูนย์เครื่องมือกลางที่ครบวงจร รองรับงานวิจัยและอุตสาหกรรมในประเทศ เป็น testing hub สนับสนุนการขับเคลื่อนงานวิจัยด้วยการวิเคราะห์ทดสอบที่มีมาตรฐานและครบวงจรแบบ one-stop Service ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยบุคลากรที่มีความชำนาญให้บริการด้วยความรวดเร็วและมีคุณภาพ ปฏิบัติงานภายใต้ระบบมาตรฐานห้องปฎิบัติการ ISO/IEC 17025, ISO9001 และ ISO45001 ปัจจุบัน NCTC ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ ภายใต้ห้องปฏิบัติการ 4 กลุ่ม ได้แก่
- ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
- ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมี
- ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางชีวภาพ
- ห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา
และยังมีบริการงานทดสอบสอบเฉพาะทางได้แก่ งานบริการวิเคราะห์ทดสอบด้านกัญชากัญชง สารสกัดและผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชง (CATC), บริการงานวิเคราะห์ทดสอบหาปริมาณสารสำคัญในกระท่อมและผลิตภัณฑ์ (KATC) และ บริการงานวิเคราะห์ทดสอบด้านอาหาร อาหารสัตว์ และสมุนไพร (FTEC)
นอกจากบริการทางด้านบริการวิเคราะห์ทดสอบทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ ยังมีงานบริการในด้านของการพัฒนาและบำรุงรักษาเครื่องมือ โดยมีให้บริการด้านดูแลและบำรุงรักษาเครื่องมือ ซ่อมแซม รวมถึงการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือด้วย
โรงงานต้นแบบผลิตไวรัสเอ็นพีวีเพื่อควบคุมศัตรูพืช
บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเชื้อไวรัสเอ็นพีวีมุ่งเน้นการผลิตเชื้อไวรัสเอ็นพีวีในระดับกึ่งอุตสาหกรรม โดยเน้นประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดเพื่อให้ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็นพีวีอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นที่น่าสนใจของเกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านการเกษตร รวมถึงการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมายโดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมวิจัยที่นำเทคโนโลยีทางไวรัสวิทยาและพันธุวิศกรรมมาปรับปรุงสายพันธุ์ของไวรัสให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเกษตร
บริการของ สวทช.
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น
ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทำธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์:
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120