พื้นที่นำร่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านแม่เพรียง และ สุขศาลาพระราชทานในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโป่งลึก ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย A-MED ดำเนินโครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ : การใช้งานระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) โดยทางโครงการได้ส่งมอบชุดอุปกรณ์ และชุดตรวจสุขภาพสำหรับการรักษาด้วยแพทย์ทางไกล ให้กับสุขศาลาพระราชทานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (รร.ตชด.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ที่ทำงานเชื่อมโยงกับห้องพยาบาลของ รร.ตชด. ในพื้นที่นำร่องของโครงการจำนวน ๗ แห่ง โดยเปิดทดสอบใช้งานตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๕ – พฤษภาคม ๒๕๖๖
รพ.สต.บ้านห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และสุขศาลาพระราชทานของ รร.ตชด.บ้านโป่งลึก จังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่(นำร่อง)ของระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ที่เปิดใช้งานตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๕ และทดลองใช้งานจนถึงปัจจุบัน ทางโครงการได้ติดตามผลการใช้งานระบบฯ กับผู้ปฏิบัติงานมาโดยตลอด และได้ดำเนินการติดตั้งโปรแกรมสุขภาพครอบครัว Family Folder Collector plus (FFC+) ฉบับปรับปรุงพร้อมอบรมการใช้งาน ซึ่งเป็นโปรแกรมสนับสนุน เพื่อเสริมการใช้ของระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ให้แก่ รพ.สต.ห้วยแม่เพรียง และสุขศาลาพระราชทานของ รร.ตชด.บ้านโป่งลึก จ.เพชรบุรี พร้อมอบรมการใช้งานในการให้บริการด้านสาธารณสุขปฐมภูมิของระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth)
ภาพที่ 1. องค์ประกอบของระบบ
พื้นฐานที่ชี้วัดการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ก็คือร่างกายที่แข็งแรง แต่เพราะความเจ็บป่วยและโรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น
- การมีระบบสาธารณสุขที่ดีที่ผสมผสานให้เกิดมิติของการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การบำบัดรักษาโรค และการซ่อมแซมฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดี
- สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ การมีข้อมูลและประวัติการรักษาของผู้ป่วยอย่างละเอียด คือ กุญแจสำคัญที่จะช่วยให้การทำหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การบำบัดรักษาโรค และการซ่อมแซมฟื้นฟูสมรรถภาพ
ภาพที่ 2 ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติของโปรแกรม FFC+
จุดเด่นที่สำคัญของ FFC+
- โปรแกรมสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติออกมาได้ หรือวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ในเชิงสุขภาพโดยรวมของพื้นที่เป็นประโยชน์ในการที่เราจะพัฒนารูปแบบโปรแกรม กิจกรรม หรืองานวิจัยอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางสุขภาพให้กับคนในพื้นที่ได้ต่อไป
- สามารถบันทึกข้อมูลในพื้นที่ได้มากขึ้นและสมบูรณ์ขึ้น การแก้ไขปัญหาสาธารณสุข จากสถิติข้อมูลใหม่ ๆ ที่ได้จากการบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรม FFC+ จะนำไปสู่การเกิดระบบหรืองานวิจัยต่อยอดที่เป็นรูปแบบเฉพาะของพื้นที่ในอนาคตต่อไป
FFC+ บันทึกสุขภาพประจำตัวส่วนบุคคล
- เปรียบเสมือนบันทึกสุขภาพประจำตัวส่วนบุคคล ที่บ่งบอกถึงข้อมูลประวัติความเจ็บป่วยและประวัติการรักษา ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ลงลึกถึงระดับครอบครัวเครือญาติ
- สามารถนำมาใช้พิจารณาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือเจ็บป่วยในระดับพันธุกรรมได้ กลายเป็นตัวสะท้อนให้เห็นภาพรวมสภาวะสุขภาพ รวมทั้งบ่งชี้ให้เห็นการดูแลตนเองและพฤติกรรมสุขภาพที่ผ่านมา จึงเป็นประโยชน์โดยตรงต่อตัวบุคคลที่จะได้รับทราบข้อมูลของตนเอง ช่วยในเรื่องของการวางแผนในการดูแลตนเอง หากสามารถเก็บบันทึกและรวบรวมได้อย่างละเอียดสมบูรณ์ ย่อมเป็นประโยชน์โดยตรงต่อทั้งบุคลากรทางการแพทย์และองค์กรด้านสาธารณสุขในการนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ เพื่อดูบริบทและสภาพปัญหาด้านสุขภาพและสาธารณสุขในพื้นทีว่า คืออะไร เห็นปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถให้การดูแลสุขภาพโดยบูรณาการแบบองค์รวมแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ ยิ่งสามารถบันทึกเชื่อมโยงข้อมูลทางสุขภาพของประชาชนกันได้มากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์อีกจำนวนมากที่จะเข้าใจในมิติปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนรวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อสุขภาพ เช่น โรคประจำถิ่น วัฒนธรรมและความเชื่อ หรือวิธีการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะสามารถสะท้อนมุมมองวิเคราะห์ออกมาในเชิงการพัฒนากิจกรรม รูปแบบ หรือโปรแกรมด้านการดูแลสุขภาพของประชาชนที่มีความเฉพาะของแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมต่อไป” โดย พญ.ฐิตินันท์ นาคผู้ แพทย์ประจำ ศูนย์การแพทย์และฟื้นฟูบึงยี่โถกล่าว
กรณีศึกษาการนำผลวิเคราะห์ข้อมูล FFC+ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
- ส่งเสริมการเรียนรู้ “ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (GLOBE) เรื่องความหลากหลายของชนิดลูกน้ำยุง ภายในหมู่บ้านโป่งลึก เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนตำรวจชายแดน (รร.ตชด.) บ้านโป่งลึก ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
- ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติ ด้านสุขภาพ ระดับปฐมภูมิของพื้นที่ชุมชนบ้านแม่เพรียง พบว่า มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่บ้านโป่งลึก ส่งผลกระทบต่อนักเรียนโรงเรียน ตชด. และชาวบ้านในชุมชน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านแม่เพรียง (รพ.สต.) และ สุขศาลาพระราชทานบ้านโป่งลึก ครูจึงนำปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน มาเป็นโจทย์ปัญหาวิจัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ “ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (GLOBE) เรื่องความหลากหลายของชนิดลูกน้ำยุง ภายในหมู่บ้านโป่งลึก เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนตำรวจชายแดนบ้านโป่งลึก ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางสุขภาพให้กับคนในพื้นที่ได้ต่อไป โดยกำหนดจุดศึกษา (จุดเก็บน้ำยุง) เป็นแหล่งน้ำในหมู่บ้านโป่งลึก
จุดที่ 1 คือ บริเวณบ่อน้ำ สำหรับใช้ในการเกษตรของหมู่บ้าน
จุดที่ 2 คือ บริเวณบ่อพักน้ำ ลำหรับอุปโภคในหมู่บ้าน
จุดที่ 3 คือ บริเวณแม่น้ำเพชรบุรี ที่ไหลผ่านหมู่บ้าน
จุดที่ 4 คือ จุดน้ำขังในหมู่บ้าน บริเวณบ้านเรือน