Timeline ความสัมพันธ์ 10 ปี ระหว่าง สวทช. และสถาบันวิจัยจูลิช
2557
- เริ่มต้นความสัมพันธ์จากการเยี่ยมชม สวทช.และหน่วยงานพันธมิตรเพื่อหารือความร่วมมืองานวิจัย
- ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการศึกษาฟีโนไทป์ของรากพืช
2558
- ร่วมนิทรรศการและงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2015)
2559
- ร่วมจัดการประชุม Thai-German Bioeconomy Conference
- ลงนามความร่วมมือ ทางด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพเพื่อความยั่งยืน และเทคโนโลยี plant phenotyping และการประยุกต์ใช้
2560
- เริ่มต้นโครงการวิจัย CASSAVASTORe
2561
- เริ่มต้นโครงการ SAPPHIRE และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเกษตรแบบแม่นยำ
- ร่วมนิทรรศการและงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2018)
- รัฐมนตรีกระทรวงวิทย์ฯ เยี่ยมชมสถาบันจูลิช
- สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ เยี่ยมชมสถาบันจูลิชและร่วมเป็นพยานการลงนามความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับจูลิช และ มจธ. กับจูลิช
2562
- ลงนามความร่วมมือกรอบงานวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยร่วมด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ระหว่าง สวทช. และจูลิช
- ร่วมนิทรรศการและงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2019)
- เริ่มต้นโครงการศึกษาเปรียบเทียบผลของถุงปลูกนอนวูฟเวน ต่อโครงสร้างของราก และการเจริญเติบโตของพืช
2563
- มีห้องทำงานโครงการความร่วมมือห้องปฏิบัติการวิจัยด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ระหว่าง สวทช. และจูลิชที่อุทยานวิทยาศาสตร์
- เริ่มต้นโครงการ Irrigation 4.0
- จูลิชได้มอบทุนปริญญาเอกให้แก่นักวิจัยของ สวทช.จำนวน 2 ทุน
2564
- เริ่มต้นโครงการ DIRECTION
- นักวิจัยจูลิชเป็นอาจารย์พิเศษที่ มจธ. 2 ท่าน
- จัดประชุมปิดโครงการCASSAVASTORe
2565
- เริ่มต้นโครงการ PiñaFibre
- นักวิจัยจูลิชเป็น NSTDA Visiting professor
- เริ่มให้ทุนนักศึกษา มจธ.-จูลิช เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ โดยทรงโปรเกล้าฯ พระราชทานชื่อทุน ”รุกขพิทยพัฒน์”
2566
- ประชุมปิดโครงการ IRRIGATION 4.0 และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ผลงาน
- จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมระหว่างจูลิชและ ENTEC ในหัวข้อ bioeconomy link to energy
IRRIGATION 4.0
ระบบให้น้ำตามความต้องการของพืชสำหรับทุเรียนและข้าวโพด ได้พัฒนาเซนเซอร์สำหรับตรวจวัดสถานะน้ำในพืช โดยมีการประยุกต์ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนอินฟราเรดเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิพื้นผิวใบของทรงพุ่มของต้นไม้ ทุกๆ 10 นาทีอย่างต่อเนื่อง และประมวลผลหาค่าดัชนีที่บ่งชี้ถึงความเครียดจากการขาดน้ำของพืชซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากพืชไม่มีการคายน้ำจึงทำให้ใบพืชมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยค่าสถานะน้ำในพืชที่ตรวจวัดได้จะถูกนำไปควบคุมระบบให้น้ำอัตโนมัติทำให้การให้น้ำมีความแม่นยำมากขึ้น สามารถประหยัดการใช้น้ำได้มากขึ้น เหมาะกับพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำจำกัด
Magik Growth
ถุงแบบนอนวูฟเวนสำหรับเพาะปลูกพืช เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชทำให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตสูงขึ้น โดยเอ็มเทคและสถาบัน IBG-2 จูลิช ได้ร่วมกันศึกษาทดสอบผลของถุงปลูกนอนวูฟเวนสีต่างๆ ต่อระบบราก การเจริญเติบโต และผลผลิตของพริก มะเขือเทศ และเมล่อน พบว่าถุงปลูกสีแดง มีแนวโน้มให้ผลดีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชทั้งสามชนิดมากกว่าถุงปลูกชนิดอื่นๆ
PiñaFibre
ศึกษาข้อมูลฟีโนไทป์และจีโนไทป์ของสับปะรดทั้งพันธุ์ป่าและพันธุ์ปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์สับปะรดที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพเส้นใยสูง รวมทั้งพัฒนากระบวนการผลิตเส้นใย (Pineapple Leave Fiber, PALF) เส้นด้ายและสิ่งทอ ต้นแบบผลิตภัณฑ์นอนวูฟแวนและคอมโพสิตจากเส้นใยใบสับปะรดรวมทั้ง ประเมินโอกาสด้านการตลาดและห่วงโซ่คุณค่าของเส้นใยของใบสับปะรดและเผยแพร่ผลทดสอบที่ได้แก่ผู้ประกอบการในประเทศโคลอมเบีย ไทย และเยอรมัน
DIRECTION
พัฒนาแอปพลิเคชั่นบนมือถือเพื่อช่วยตัดสินใจให้น้ำกับมันสำปะหลังอย่างมีประสิทธิภาพ
ทุนปริญญาเอก Jülich-NSTDA Joint Lab PhD Studentship
สถาบัน IBG-2 จูลิช ได้มอบทุนปริญญาเอก 2 ทุนให้แก่นักวิจัย สวทช.
นางสาวหทัยรัตน์ จินดามล
หัวข้อวิทยานิพนธ์ Development of Non-Destructive Quantification Method for Secondary Methabolites in the Medicinal Plant Holy Basil based on Hyperspectral Data
มหาวิทยาลัย Bonn
สาขา Agricultural Science
นายคฑาวุธ โลหะเวช
หัวข้อวิทยานิพธ์ Transparent Nano Coating for Rhizotron Study
มหาวิทยาลัย Aachen
สาขา Biology
ความร่วมมือในอนาคต
กรอบงานวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยร่วมด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (NSTDA – JÜLICH Joint Laboratory on Bioeconomy) ระยะที่ 2 ระยะเวลา 5 ปี (2567 – 2572)
- การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture)
- การปรับใช้เศรษฐกิจฐานชีวภาพให้เหมาะสมในแต่ละภูมิภาค(Regionalization of Bioeconomy)
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มเพื่อเศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Value-Added Products for Bio-Circular-Green Economy)
Regional Development: Marginal Field Labs
สถาบัน IBG 2 จูลิช ร่วมกับ RWE Power AG พัฒนาเป็นแพลตฟอร์สำหรับการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตอาหารและพืช รวมทั้งฟื้นฟูป่า โดยการปรับปรุงคุณภาพของดินที่เสื่อมโทรมจากการทำเหมืองลิตไนท์ ในพื้นที่เหมืองของ RWE กว่า 20 เฮกตาร์ ถือเป็นต้นแบบของงานวิจัยภาคสนามที่น่าจะนำมาประยุกต์กับพื้นที่เสื่อมโทรมจากการทำเหมืองที่ประเทศไทยได้