คำบรรยายผลงานโดยย่อ
ระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมในนาข้าว ที่ปลูกแบบเปียกสลับแห้ง โดยตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ความเร็วลม ทิศทางลม ความเข้มแสง ระดับน้ำ ความชื้นดิน อุณหภูมิดิน และตัวแปรอื่นๆ ที่สนใจ และกล้องถ่ายภาพ โดยระบบสามารถสื่อสารกันได้ในระยะไกลสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจควบคุมการให้น้ำในแปลงนาข้าว
คุณลักษณะ
- มีสถานีวัดอากาศ สำหรับเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมในการปลูกข้าว และส่งข้อมูลเข้าฐานข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต
- มีสถานีเก็บข้อมูลน้ำและดินในนาข้าว ซึ่งสามารถส่งข้อมูลไปที่สถานีวัดอากาศซึ่งอยู่ห่างกันได้
- มีระบบควบคุมการส่งน้ำเข้าแปลงนาข้าว ซึ่งสามารถควบคุมจากระยะไกลโดยตัดสินใจจากข้อมูลของน้ำ ดินและอากาศ
จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
- เป็นระบบเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและกิจกรรมแปลงปลูกข้าว
- สามารถใช้เพื่อควบคุมการส่งน้ำเข้าแปลงนาข้าว ซึ่งการปลูกแบบเปียกสลับแห้ง ทำให้ประหยัดการใช้น้ำมากสุดถึง 30% โดยที่ผลผลิตยังใกล้เคียง หรือมากกว่าเดิม ทั้งนี้ ดินที่ทำนาเปียกสลับแห้งต้องไม่ใช่ดินเค็ม และมีการทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย เช่น การปรับระดับหน้าดินให้เสมอ การให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
- สามารถใช้ช่วยคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการปลูกแบบเปียกสลับแห้ง ลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้มากสุดถึง 80%…โดย สามารถทำร่วมกับการจัดการฟางข้าวและตอซัง เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ขอบเขต/ข้อจำกัดการใช้งาน
- เป็นที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต
- ผู้ใช้งานต้องสามารถเรียนรู้และเข้าใจการทำงานของระบบ
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
- ผู้ที่ต้องการพัฒนาการปลูกโดยใช้เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ
- ผู้ที่ต้องการตรวจสอบและควบคุมการปลูกข้าวจากระยะไกล
สถานภาพการพัฒนา
- ในประเทศ ระบบติดตั้งและทดสอบที่สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ จ.สุพรรณบุรี และจ.ชัยนาท
- ต่างประเทศ ระบบติดตั้งและทดสอบที่ประเทศบรูไน
หน่วยงานพันธมิตร (ถ้ามี)
กรมการข้าว ไบโอเทค เอ็มเทค