ผู้วิจัย

ดร.วรล อินทะสันตา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

ปัจจุบันมีการนำสารเคลือบผิววัสดุ ผ้า หรือสิ่งทอมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และมีเทคโนโลยีการนำสารเคลือบมาใช้ในหลากหลายรูปแบบวิธีการ โดยส่วนมากหากเป็นการตกแต่งสำเร็จเพื่อเพิ่มมูลค่าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ จะเน้นไปที่วิธีการบีบอัด (padding method) และวิธีการจุ่มอัดรีด (exhaust method) เนื่องจากเป็นวิธีการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในระดับอุตสาหกรรม และโดยทั่วไปแล้ววิธีการบีบอัดจะเหมาะสมกับผ้าที่มีหน้ากว้าง 100 – 180 เซนติเมตร และหากผ้ามีหน้ากว้างมากกว่านั้นหรือผ้ามีการตัดเย็บสำเร็จแล้ว จะเหมาะสมกับวิธีการจุ่มอัดรีดมากกว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับวิธีการบีบอัดและการจุ่มอัดรีดระดับอุตสาหกรรมดังกล่าว จะต้องเตรียมสารเคลือบและวัตถุดิบผ้านำเข้าในปริมาณที่ค่อนข้างมากซึ่งอาจทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วย ดังนั้นเทคโนโลยีการเคลือบในรูปแบบของสเปรย์นี้จะทำให้ตอบโจทย์การใช้งานทั้งในกลุ่มครัวเรือนและกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก เป็นต้น

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
  • สเปรย์สูตร ‘สมบัติสะท้อนน้ำ’ ให้สมบัติลดการซึมของน้ำหรือสร้างปรากฎการณ์น้ำกลิ้งบนผิวผ้า จะตอบโจทย์ความต้องการแก้ปัญหาเรื่องของการดูแลรักษาที่ยาก และเปื้อนง่าย ในผิววัสดุหรือผ้าบางชนิดได้เป็นอย่างดี
  • สเปรย์สูตร ‘สมบัตินุ่มลื่น’ จะแก้ไขปัญหาเรื่องเนื้อผ้ามีความแข็ง สวมใส่ไม่สบาย ทำให้ผ้ามีเนื้อนุ่ม มากขึ้น ช่วยลดการยับและช่วยให้ผ้ามีสมบัติคืนตัวที่ดีขึ้น
  • เป็นการเคลือบในระดับอนุภาคนาโน ซึ่งทำให้แสดงคุณสมบัติพิเศษของตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างดีเยี่ยม
  • วิธีการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  • ใช้ได้กับผิววัสดุ ผ้าหรือสิ่งทอหลากหลายชนิด เช่น ผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, ผ้าใยผสม และผ้าใยสังเคราะห์
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

ความลับทางการค้า

สถานภาพของผลงานวิจัย

ต้นแบบระดับ pilot scale

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

ติดต่อสอบถาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.