ผู้วิจัย

ดร.ถาวร รัตติทิวาพาณิชย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

กากมันสำปะหลังมีแป้งเป็นส่วนประกอบสูงถึงร้อยละ 60 โดยน้ำหนักแห้ง รองลงมาคือ ไฟเบอร์ร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือคือ โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุ หลายปีที่ผ่านมากากมันสำปะหลังถูกใช้เป็นวัตถุดิบของการผลิตอาหารสัตว์ วัสดุปรับปรุงดิน และเพาะเห็ด เป็นต้น ปัจจุบันโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังให้ความสำคัญกับการผลิตก๊าซชีวภาพจากกากมันสำปะหลัง เทคโนโลยีที่ใช้งานภายในประเทศส่วนใหญ่มีอัตราย่อยสลายต่ำ ใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่า 50 วัน และใช้ปริมาตรของถังปฏิกรณ์ขนาดหลายหมื่นลูกบาศก์เมตร โดยเทคโนโลยี “ระบบผลิตก๊าซชีวภาพประสิทธิภาพสูงรุ่นใหม่” ประกอบด้วยการออกแบบทางวิศวกรรมขั้นสูง หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถย่อยสลายกากมันสำปะหลัง และองค์ความรู้ด้านการควบคุมระบบ ทำให้สามารถย่อยสลายกากมันสำปะหลังได้ในระยะเวลาสั้นและใช้พื้นที่ก่อสร้างระบบลดลง

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
  • เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายกากมันสำปะหลังที่ออกจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง เพื่อผลิตกรดอินทรีย์
    และก๊าซชีวภาพ
  • เพิ่มเสถียรภาพการทำงานของระบบและสามารถผลิตก๊าซชีวภาพ
  • ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในกระบวนการผลิต ผ่านการใช้ไฟฟ้าจากกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตรเลขที่ 20841

สถานภาพของผลงานวิจัย

อยู่ระหว่างสาธิตระบบต้นแบบระดับอุตสาหกรรมขนาด 7,000 m3

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้สนใจในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม /เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

ติดต่อสอบถาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.