ผู้วิจัย
นายศิริชัย พัฒนวาณิชชัย และคณะวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในอดีตการรีดนมโคจะใช้แรงงานคนเป็นหลักสำหรับการเก็บรวบรวมน้ำนมดิบ ส่งผลทำให้รีดนํ้านมได้ในปริมาณน้อย ประกอบกับค่าแรงมีแนวโน้มราคาที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นฟาร์มโคนมขนาดกลางถึงฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ หรือกลุ่มสหกรณ์รายย่อยจึงนิยมรีดนมโคด้วยการใช้เครื่องรีดนมมากกว่าการรีดนมด้วยมือ เพราะการรีดด้วยเครื่องรีดนมมีความสะดวก สะอาด และสามารถรีดนมได้อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ที่สำคัญชิ้นหนึ่งที่ในกระบวนการรีดนมจากแม่โค คือยางไลเนอร์หรือยางรีดนมโค เพราะว่ายางไลเนอร์เป็นอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวที่สัมผัสโดยตรงกับน้ำนมและเต้านมของแม่โค ดังนั้นยางรีดนมที่ใช้จึงต้องไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำนมดิบและต้องมีความปลอดภัยต่อสุขภาพเต้านมของแม่โค
จากการศึกษาเบื้องต้นของยางรีดนมโคพบว่าวัสดุหลักที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตยางรีดนมนี้ คือ ยางสังเคราะห์ประเภทยางซิลิโคนและยางไนไตรล์ นอกจากนั้น ในปัจจุบันยางรีดนมโคทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินเพื่อการนำเข้าสินค้าประเภทยางรีดนมเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยจึงมองเห็นช่องทางการวิจัยที่จะผลิตยางรีดนมโคด้วยการนำยางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบในสูตรยางคอมพาวนด์เพื่อใช้ผลิตยางรีดนมต้นแบบ เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้า เพื่อส่งเสริมการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศให้มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตน้ำนมให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
- ยางรีดนมโคต้นแบบผลิตจากยางธรรมชาติร้อยละ 50 ของปริมาณยางทั้งหมด
- ใช้สารเคมีในการผลิตยางรีดนมโคต้นแบบในปริมาณต่ำ
- มีประสิทธิภาพการต้านทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากโอโซนสูง
- ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน FDA 177.2600 (Rubber articles are intended for repeated use)
- ยางรีดนมโคต้นแบบที่มีคุณภาพสามารถใช้รีดนมโคได้สูงถึง 2500 ครั้ง
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 2001004164 ยื่นคำขอวันที่ 24 กรกฎาคม 2563
สถานภาพของผลงานวิจัย (โปรดเลือกสถานภาพ)
ต้นแบบระดับ pilot scale ที่ผ่านการทดทสอบประสิทธิภาพการใช้งานรีดนมโคและการได้รับผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานยางรีดนมโคต้นแบบจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ร่วมทดสอบร้อยละ 82.40
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ/ผู้สนใจนำผลงานวิจัยยางรีดนมต้นแบบไปต่อยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในระดับเชิงพาณิชย์