28 มีนาคม 2567

Pharma NETwork…ผสานพลังเพื่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทย

Pharma NETwork…Integrated Power for Driving the Thai Pharmaceutical Industry

วิทยากร
  • ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์
  • ดร.วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์
  • ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ
  • ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์
  • ภก.ทัฬห์ ปึงเจริญกุล
  • ผศ.ดร.สุธีรา จันทร์เทศ
  • ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์
  • ศ.ดร.นพ.ฉัตรชัย เหมือนประสาท
  • ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์
  • ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ
  • ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์

จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แนวโน้มการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น และการเกิดโรคระบาดจากเชื้ออุบัติใหม่ต่าง ๆ ส่งผลให้แนวโน้มความต้องการยาของประเทศเพิ่มขึ้น แต่ประเทศไทยยังคงขาดศักยภาพในทั้งในด้านการผลิตยา รวมถึงสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredient: API) อีกทั้งการลงทุนในการผลิตยาเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่ทำให้ไม่สามารถนำเข้ามาได้อย่างเพียงพอในเวลาเวลาที่จำกัด จะส่งผลให้ไม่มียาเพียงพอต่อการรักษาและควบคุมสถานการณ์ในประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประเทศไทยขาดเสถียรภาพและความมั่นคงทางยาและสาธารณสุข 

จากเหตุผลข้างต้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเริ่มต้นวิจัยพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตยาและ API ให้ได้เองภายในประเทศอย่างจริงจัง จึงเป็นที่มาของการสร้างความร่วมมือระหว่าง ภาคการศึกษาวิจัย ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยาของประเทศไทยอย่างสูงสุด และยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) อีกด้วย

ในงานสัมมนานี้จะนำเสนอ Roadmap การส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบทางยาของประเทศ ภาพรวมของสถานการณ์อุตสาหกรรมการผลิตยาของประเทศ แรงกดดัน และปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิตยา รวมถึงการนำเสนอกรณีศึกษาการใช้ “การประสานความร่วมมือไตรภาคี  (Triple Helix Model)” ในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมการผลิต API และเครือข่ายการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมยา และการแพทย์ 

กำหนดการสัมมนา
08.30 – 09.00  ลงทะเบียน
09.00 – 09.10 กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ (หรือมอบหมาย)

 ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำเนินรายการ

โดย ดร.วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.10 – 09.35 Roadmap คณะทำงานส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบทางยาของประเทศ

โดย ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ

อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ประธานคณะทำงานการส่งเสริมวัตถุดิบทางยา

09.35 – 10.00 แรงกดดันของอุตสาหกรรมวัตถุดิบทางยา

โดย ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์

วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย

10.10 – 10.25 ปัญหาเรื่อง API จากภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิตยา 

โดย ภก. ทัฬห์ ปึงเจริญกุล

      สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (TPMA)

10.25 – 10.50 Triple Helix Model of Innovation and API case study

โดย ผศ.ดร. สุธีรา จันทร์เทศ     

  คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (TPMA)

10.50 – 11.00 พักระหว่างการสัมมนา
11.00 – 12.00 เสวนา Medicine and Medical Product Network  เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ไทย

โดย

ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์    หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) – กลุ่มสุขภาพและการแพทย์

ศ.ดร.นพ.ฉัตรชัย เหมือนประสาท    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์    ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์  (องค์การมหาชน) (TCELS)

ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ    สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

ดำเนินการเสวนาโดย

ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์    ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ดร.วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย

 

เกี่ยวกับวิทยากร
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์
ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ดร.วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ประธานคณะกรรมการการส่งเสริมวัตถุดิบทางยา
ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์
วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย
ภก.ทัฬห์ ปึงเจริญกุล
สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (TPMA)
ผศ.ดร.สุธีรา จันทร์เทศ
คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) – กลุ่มสุขภาพและการแพทย์
ศ.ดร.นพ.ฉัตรชัย เหมือนประสาท
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์
 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS)
ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ดำเนินการเสวนาโดย ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ