28 มีนาคม 2567

เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาสสำหรับเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF)  

วิทยากร
  • ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
  • ดร.วิศาล ลีลาวิวัฒน์
  • นางสาวสุธารี เกียรติมั่น
  • ดร.เสกสรร พาป้อง
  • ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ
  • นายสุรพร  เพชรดี
  • ดร.ศรันยา เพ็งอ้น
  • นางสาวสุวรรณา ฟักทิม

จากปัญหาภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ทุกภาคส่วน รวมถึงอุตสาหกรรมการบิน ต่างมีความมุ่งมั่น ที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจากการศึกษายานพาหนะประเภทต่าง ๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน พบว่าธุรกิจการบินมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นสัดส่วนประมาณ 2-2.5% ของโลก และตั้งแต่ปี 1990-2019 เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2.3% ต่อปี กระทั่งเกิดวิกฤติโควิด 19 ส่งผลให้การเดินทางทั่วโลกหยุดชะงัก ทำให้มีการปล่อย CO2 จากภาคการบินลดลงไปด้วย ซึ่งในปี 2019 ปล่อยสูงสุดมากกว่า 1 พันล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ และในปี 2020 ลดลงมาเป็น 6 ร้อยล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ในปี 2021 กลับมาเพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 720 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกินระดับที่ปลดปล่อยสูงสุดเมื่อปี 2019 ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันพาหนะอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งเข้าสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาด ที่ผ่านมา เชื้อเพลิงสะอาดสำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน กลับยังไม่ได้ถูกพูดถึงมากนัก ซึ่งปัจจุบัน เริ่มมีการศึกษา วิจัยและพัฒนา รวมถึงการกำหนดนโยบายจากหลายประเทศ ให้เห็นกันในวงที่กว้างขึ้น 

Sustainable Aviation Fuel (SAF) หรือเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมการบินลงได้ ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 80% ตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับน้ำมันอากาศยานแบบเดิม โดยเฉพาะเมื่ออุตสาหกรรมการบินวางแผนจะก้าวเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050

ด้วยแนวทางในการพัฒนาของสหประชาชาติที่ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ไว้สำหรับปี ค.ศ. 2030 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก็มีแนวทางในการพัฒนาด้านความยั่งยืนด้วยหมุดหมายที่จะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาและการลงทุนต่างๆ ที่ได้เข้ามาในภูมิภาคนี้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคธุรกิจการบินก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จึงทำให้ต้องเริ่มมองหาแนวทางในการขับเคลื่อนธุรกิจบนความยั่งยืน ตามแนวโน้มความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้แนวทางของ ESG ที่ประกอบไปด้วย Environment, Social และ Governance ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สำหรับประเทศไทยมีการส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพมายาวนาน มีศักยภาพในการผลิตและจัดหาวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ อีกทั้งมีโครงสร้างในการบริหารจัดการการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ดังนั้นการพัฒนา SAF จึงเปิดโอกาสทางธุรกิจด้านพลังงาน และตอบสนองกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคธุรกิจการบิน ซึ่งสอดรับกับการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050

ทั้งนี้ สวทช. โดย ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ในฐานะภาคการวิจัย ได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Sustainable Aviation Fuel: SAF โดยมีการศึกษาวิจัยร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวสำหรับประเทศไทยต่อไป 

การสัมมนาในครั้งนี้ จึงขอเชิญทุกท่านร่วมหาคำตอบและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งในการทำงานจริงและในมุมของการบริหารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี SAF

กำหนดการสัมมนา
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.40 น. กล่าวเปิดสัมมนา
โดย ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติดำเนินรายการโดย
ดร.วิศาล ลีลาวิวัฒน์ นักวิจัยกลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
13.40 – 14.00 น. ภาครัฐ (นโยบาย)

หัวข้อบรรยาย “การส่งเสริมเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนของประเทศไทย”
โดย นางสาวสุธารี เกียรติมั่น วิศวกรระดับชำนาญการพิเศษ  กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

14.00 – 14.15 น. ภาคงานวิจัย

หัวข้อบรรยาย “ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนากลยุทธ์ด้านเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน”
โดย ดร.วิศาล ลีลาวิวัฒน์  นักวิจัยกลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

14.15 – 14.30 น. หัวข้อบรรยาย “การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานความยั่งยืนของวัตถุดิบสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน”
โดย ดร.เสกสรร พาป้อง หัวหน้าทีมวิจัยการประเมินความยั่งยืนและเศรษฐกิจและสังคม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
14.30 – 14.45 น. พัก
14.45 – 15.00 น. หัวข้อบรรยาย “เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน”
โดย ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
15.00 – 15.15 น. ภาคเอกชน

หัวข้อบรรยาย “ครั้งแรกของประเทศไทยกับน้ำมันอากาศยานยั่งยืน (SAF)”
โดย นายสุรพร  เพชรดี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF)

15.15 – 15.30 น. หัวข้อบรรยาย “SAF ความท้าทายของ ปตท. ​และความมั่นคงของเกษตรกรไทย”
โดย ดร.ศรันยา เพ็งอ้น นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและยานยนต์ สถาบันนวัตกรรม ปตท.
15.30 – 15.45 น. หัวข้อบรรยาย “SAF โอกาสที่มาพร้อมความท้าทาย”
โดย นางสาวสุวรรณา ฟักทิม ผู้อำนวยการฝ่ายสถานีบริการจัดเก็บน้ำมันสุวรรณภูมิ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS)
15.45 – 16.15 น. เสวนาอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็น “เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาสสำหรับเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน” 

โดย

  • กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
  • ดร.วิศาล ลีลาวิวัฒน์
  • ดร.เสกสรร พาป้อง
  • ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ
  • บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF)
  • บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS)

ดำเนินรายการโดย
ดร.วิศาล ลีลาวิวัฒน์

16.15 – 16.30 น. ถาม-ตอบ และกล่าวปิดงานสัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร

              

ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ 
ดร.วิศาล ลีลาวิวัฒน์
นักวิจัยกลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
นางสาวสุธารี เกียรติมั่น
วิศวกร ระดับชำนาญการพิเศษ กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
ดร.เสกสรร พาป้อง
หัวหน้าทีมวิจัยการประเมินความยั่งยืนและเศรษฐกิจและสังคม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
นายสุรพร เพชรดี
ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF)
ดร.ศรันยา เพ็งอ้น
นักวิจัยอาวุโส  ฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและยานยนต์ สถาบันนวัตกรรม ปตท.
นางสาวสุวรรณา ฟักทิม
ผู้อำนวยการฝ่ายสถานีบริการจัดเก็บน้ำมันสุวรรณภูมิ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS)

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ