29 มีนาคม 2567

รู้ใจ ไม่รู้ไต : ร่วมชะลอภัยโรคไต ด้วยระบบนิเวศนวัตกรรมไทย

วิทยากร
  • ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
  • นพ. วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข
  • ดร. เดือนเพ็ญ จาปรุง
  • รศ.พญ. ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย
  • ทพ. อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
  •  ภก.กฤษณภัชฏ์ จิตจักร
  • ดร.พสุ สิริสาลี
  • ดร. สุพักตร์ โยไธสง

จากรายงานของ The United States Renal Data System (USRDS) พบว่าประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด โดยพบว่าโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-5 ในประเทศไทย มีความชุกรวมทั้งหมดประมาณ 17.5% ของประชากร ซึ่งสูงกว่าในต่างประเทศมาก (ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศในแถบยุโรปมีความชุกของโรคไตเรื้อรังอยู่ที่ประมาณ 11-13% ของประชากร) สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคไตเรื้อรังในประชากรไทยในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุขในปี 2565 พบว่า 1 ใน 25 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง กลายเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ โดยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องล้างไตสูงมากถึง 62,386 ราย ประกอบกับข้อมูลของกรมอนามัยที่รายงานว่าโรคไตเป็นปัญหาสภาวะสุขภาพที่กำลังคุกคามคนไทยที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยแบบก้าวกระโดด จาก 8 ล้านคนในปี 2563 เพิ่มเป็น 11.6 ล้านคนในปี 2565 และจำนวนผู้ที่ล้างไตเพิ่มจาก 80,000 คน เป็น 1 แสนคน ทั้งนี้มีผู้ป่วยเพียง 1.9% ที่รู้ตัวว่าเป็นโรคไตแล้ว และโรคไตเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และอาจทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลไปตลอดชีวิต 

จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้โรคไตเรื้อรังกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นการหาแนวทางป้องกันไม่ให้มีจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น หรือการติดตามรักษาอาการของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่เป็นแล้วเพื่อชะลอการเกิดไตวายเรื้อรังจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อโรคไตเรื้อรังเข้าสู่ระยะสุดท้ายการรักษาด้วยยาจะไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการบำบัดและทดแทนไต จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่าผู้ป่วยโรคไต 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาทต่อคนต่อเดือน หรือ 360,000 บาทต่อคนต่อปี และรายงานปี 2565 ระบุงบประมาณที่ต้องใช้ในการล้างและเปลี่ยนถ่ายไต สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สูงถึง 9,731 ล้านบาท ดังนั้นการป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเพื่อมิให้ลุกลามเป็นไตวายเรื้อรัง นอกจากจะเป็นการรักษาชีวิตผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยลดงบประมาณของประเทศในการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังได้ด้วย ฉะนั้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์การตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไตในประชาชนกลุ่มเสี่ยง จึงถือเป็นยุทธวิธีที่จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยโรคไตและภาระค่าใช้จ่ายของประเทศลงได้

อย่างไรก็ตามการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์เพื่อการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไตในประชาชน และการติดตามความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยโรคไต ยังต้องการการผลักดันและบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ตั้งแต่นโยบายด้านสาธารณสุข การวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ตลอดจนการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ และการสร้างโอกาสทางการตลาดของภาคเอกชนควบคู่กับการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ประโยชน์นวัตกรรมไทย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศวิจัยนวัตกรรมไทยเพื่อตอบโจทย์การชะลอและแก้ปัญหาโรคไตอย่างยั่งยืนจึงเป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลและบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรับมือกับปัญหาโรคไต พร้อมทั้งแสดงเจตจำนงค์ร่วมกันในการบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการนำนวัตกรรมไทยไปใช้ประโยชน์ในการชะลอและป้องกันโรคไตให้กับประชาชนไทยได้อย่างแท้จริง เพื่อนำไปสู่การสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม

กำหนดการสัมมนา
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.40 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

13.45 – 14.00 น. สถานการณ์ และความรุนแรงโรคไตในประเทศไทย

โดย นพ. วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข
นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

14.00 – 14.20 น. นวัตกรรมชุดตรวจโรคไตภายใต้แผนงาน BCG Implementation สวทช. และผลการศึกษาการใช้แถบตรวจอัลบูมินคัดกรองโรคไตในชุมชน

โดย ดร. เดือนเพ็ญ จาปรุง
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

รศ.พญ. ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย
หัวหน้าโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CKDNET) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะกรรมการบริหารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

14.20 – 14.40 น. สถานการณ์ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ความท้าทายและเจตจำนงค์

โดย ทพ. อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

14.40 – 14.55 น. บทบาทของภาคเอกชนในการช่วยส่งเสริมการตรวจคัดกรองและชะลอโรคไต

โดย ภก.กฤษณภัชฏ์ จิตจักร Senior Therapeutic Area Medical Partner, Nephrology
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด

15.10 – 15.40 น. เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมผลักดันนวัตกรรมชุดตรวจไทย สู้ภัยโรคไตเรื้อรัง   

ผู้ร่วมเสวนา : วิทยากรทุกท่าน

Moderator : ดร.พสุ สิริสาลี นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.

หมายเหตุ : รวม ถาม-ตอบ จากผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน

ผู้ดำเนินรายการ  ดร. สุพักตร์ โยไธสง
Core team แผนงานชุดตรวจโรคไต BCG Implementation
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
เลิกงานสัมมนาไม่เกิน 16.00 น.
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
นพ. วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข
นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
ดร. เดือนเพ็ญ จาปรุง
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
รศ.พญ. ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย
หัวหน้าโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CKDNET) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ คณะกรรมการบริหารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
ทพ. อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
 ภก.กฤษณภัชฏ์ จิตจักร
Senior Therapeutic Area Medical Partner, Nephrology บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด
ดร.พสุ สิริสาลี
นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
ดร. สุพักตร์ โยไธสง
Core team แผนงานชุดตรวจโรคไต BCG Implementation ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ