29 มีนาคม 2567

ไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ: นโยบายและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

Low-carbon hydrogen, policy framework and technology advancement.

วิทยากร
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ 
  • คุณวันวิศา ฐานังขะโน
  • คุณอาศิรวรรธน์ โพธิพันธุ์
  • ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
  • ดร.จิตติ มังคละศิริ 
  • คุณพงษ์ศักดิ์ เหลืองจินดารัตน์
  • คุณภาณุพงษ์ พงษ์ประยูร
  • คุณนงนภัส สายสุทธิ์ 
  • ศ. ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย

ตลาดการผลิตไฮโดรเจนเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าจะโตขึ้น        กว่าร้อยละ 6 ในทศวรรษข้างหน้า ด้วยความต้องการไฮโดรเจนจากหลายภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน  ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงทางพลังงานของโลก ที่มาพร้อมกับมาตรการด้านความยั่งยืนที่เข้มงวดยิ่งขึ้นกับสินค้าและบริการ “ไฮโดรเจน” จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจด้วยข้อดี อาทิ ประสิทธิภาพทางพลังงานสูง สะอาด และปล่อยคาร์บอนต่ำ 

ในมิติด้านพลังงานจากไฮโดรเจนมีการคาดการณ์ว่าสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจภายใต้ (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) อาทิ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา รัสเซีย ชิลี เป็นต้น มีศักยภาพเป็นผู้ส่งออกสุทธิของพลังงานไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำของโลก ขณะที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และฮ่องกง ได้รับการประเมินว่ามีศักยภาพในการเป็นผู้นำเข้าสุทธิ โดยสหรัฐฯ และจีนเป็นผู้ผลิตเพื่อใช้ในการบริโภคภายในประเทศของตนเป็นหลัก ซึ่งหากไม่เปลี่ยนบริบทจากการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานทดแทน/ทางเลือก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในภูมิภาคจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 32 ระหว่างปี         พ.ศ. 2553 – 2578 (ค.ศ. 2010 – 2035) 

ประเทศไทย ไฮโดรเจนถือเป็นเทคโนโลยีและแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย นำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของไฮโดรเจนที่สามารถใช้งานได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง และการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นภาคส่วนหลักที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงของประเทศ ประกอบกับประเทศไทยมีจุดแข็งที่ความหลากหลายของวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตไฮโดรเจน ปัจจุบัน ไฮโดรเจนสามารถผลิตขึ้นมาได้ด้วย 3 วิธีการ คือ 1) ผลิตมาจากกระบวนการปฏิรูปของก๊าซธรรมชาติ 2) การผลิตไฮโดรเจนจากพลังงานหมุนเวียน และ 3) การผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพ 

เพื่อเตรียมความพร้อมของธุรกิจการผลิตไฮโดรเจนเข้าสู่เวทีทางการค้าระดับนานาชาติ แผนงานกลุ่มพลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีความเข้าใจมาตรฐานการผลิตของไฮโดรเจนเป็นอย่างดี รวมถึงควรมีข้อมูลพื้นฐานด้านคาร์บอนสำหรับไฮโดรเจนของไทย จึงมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำการศึกษาโดยนำแนวคิดตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Thinking) มาประยุกต์ใช้ภายใต้ข้อจำกัดของมาตรฐานต่าง ๆ กับรูปแบบการผลิตไฮโดรเจนที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน โดยมุ่งหวังเพื่อให้ได้ข้อมูลความได้เปรียบ-เสียเปรียบของแต่ละวิธีมาตรฐาน นำเสนอเป็นทางเลือกต่าง ๆ ที่เหมาะสมสำหรับบริบทประเทศไทย ในการเตรียมความพร้อมการเจรจาเวทีระหว่างประเทศในระยะเวลาอันใกล้ เพื่อให้เกิดฉันทามติที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ตลอดจนเป็นการสร้างโอกาสและขีดความสามารถในการเข้าร่วมตลาดไฮโดรเจนในระดับสากลต่อไป

 

กำหนดการสัมมนา
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.40 น. กล่าวต้อนรับและเปิดการสัมมนา

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์
ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ดำเนินรายการโดย คุณวันวิศา  ฐานังขะโน

13.40 – 13.55 น. บรรยายหัวข้อ “ทิศทางการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานไฮโดรเจนของประเทศไทยให้สอดคล้องกับแนวทางสากล” 

โดย คุณอาศิรวรรธน์ โพธิพันธุ์
นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ กองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

13.55 – 14.10 น. บรรยายหัวข้อ “บทบาทและหน้าที่ของ สวทช. เพื่อสนับสนุนการผลักดันไฮโดรเจนของประเทศ”

โดย ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

14.10 – 14.25 น. บรรยายหัวข้อ “ความก้าวหน้าผลการศึกษามาตรฐานและการรับรองด้านคาร์บอนของไฮโดรเจนเพื่อบริบทของประเทศไทย และสถานการณ์รอบโลก”

โดย ดร.จิตติ มังคละศิริ
นักวิจัย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.

14.25 – 14.40 น. บรรยายหัวข้อ “การขนส่งไฮโดรเจน” 

โดย คุณพงษ์ศักดิ์ เหลืองจินดารัตน์
Deputy Director : Climate Technology BIG

14.40 – 14.55 น. บรรยายหัวข้อ “เทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจน”

โดย คุณภาณุพงษ์ พงษ์ประยูร
Business Development Manager, Linde Engineering  บริษัท ลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

14.55 – 15.10 น. บรรยายหัวข้อ “มุมมองของภาคเอกชนต่อการผลักดันให้เกิดธุรกิจไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ”

โดย คุณนงนภัส สายสุทธิ์
ผู้จัดการ-สำรวจธุรกิจใหม่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

15.10 – 15.35 น. ถาม – ตอบ
15.35 – 16.15 น. การเสวนา “ทิศทางไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ: เทคโนโลยีอนาคต การผลิต กักเก็บ ขนส่ง นโยบาย และมาตรฐานไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำสำหรับประเทศไทย”

โดย 

  1. คุณอาศิรวรรธน์ โพธิพันธุ์ นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ กองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
  2. ศ. ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มพลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ (บพข.)
  3. คุณพงษ์ศักดิ์ เหลืองจินดารัตน์ Deputy Director : Climate Technology, BIG
  4. คุณภาณุพงษ์ พงษ์ประยูร Business Development Manager, Linde Engineering
  5. คุณนงนภัส สายสุทธิ์ ผู้จัดการ-สำรวจธุรกิจใหม่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 

ผู้ดำเนินรายการ    ดร.จิตติ มังคละศิริ สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน MTEC สวทช.

16.15 – 16.30 น. เปิดเวทีเสวนาร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและซักถาม
เกี่ยวกับวิทยากร
รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ 
ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ (บพข.)
คุณวันวิศา ฐานังขะโน
คุณอาศิรวรรธน์ โพธิพันธุ์
นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ กองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
ดร.จิตติ มังคละศิริ
นักวิจัย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) MTEC
คุณพงษ์ศักดิ์ เหลืองจินดารัตน์
 Deputy Director : Climate Technology BIG
คุณภาณุพงษ์ พงษ์ประยูร
Business Development Manager, Linde Engineering  บริษัท ลินเด้ (ประเทศไทย ) จำกัด (มหาชน)
คุณนงนภัส สายสุทธิ์ 
ผู้จัดการ-สำรวจธุรกิจใหม่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
ศ. ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย
ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มพลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ (บพข.)

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ