28 มีนาคม 2567

แนวโน้มเทคโนโลยีพลังงานและการกักเก็บเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน

New Energy and Storage Trend for Carbon Neutrality

วิทยากร
  • ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
  • ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย
  • คุณพิพิธ เอนกนิธิ
  • คุณสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์
  • ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล 
  • คุณบัณฑูรย์ ปรปักษ์ขาม

จากการประชุม COP และ World Economic Forum ที่ผ่านมา ประเด็นที่ทั่วโลกเห็นตรงกันคือ การที่จะลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะโลกร้อนนี้ จำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับประเทศไทยนั้น ภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดนั้น คือ ภาคพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม และ
ภาคขนส่งตามลำดับ แนวทางที่จะต้องปรับตัวในภาคพลังงานมีหลากหลายวิธี เช่น การหันไปใช้พลังงานสะอาดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง การเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนการใช้การขนส่งจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน ในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าเอง อาจแบ่งย่อยได้อีกหลายเทคโนโลยี ทั้งการใช้แบตเตอรี่ หรือการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนป้อนเข้าสู่เซลล์เชื้อเพลิง ล้วนแล้วแต่ปลดปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ทั้งสิ้น (Zero Emission Vehicle)

ในการบรรยายหัวข้อนี้ แบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก คือ ในช่วงแรกจะเป็นการนำเสนอมุมมองที่หลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาต่อการประชุม COP28 ที่ผ่านมา ทั้งสาขาด้านธุรกิจการธนาคาร ภาคนโยบายพลังงาน เทคโนโลยี การศึกษาและสิ่งแวดล้อม จากนั้นในส่วนที่สองเน้นไปที่การเสวนาทางด้านเทคโนโลยีพลังงานที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในอนาคตต่อการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงาน เพื่อมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และความเป็นกลางทางคาร์บอน 

ในบทบาทของประเทศไทย หน่วยงานของภาครัฐได้รับมอบหมายในการกำหนดแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกตลอดช่วงเวลาพ.ศ. 2565-2580 (AEDP 2022) โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศไทย ผ่านการศึกษาวิจัยร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยั่งยืนในประเทศ

การสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ทุกท่านร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญในด้านธุรกิจ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งในบริบทของการทำงานจริงและการบริหารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลังงานสะอาดสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยต่อไป

กำหนดการสัมมนา
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ    

ดำเนินรายการโดย ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.10 – 09.35 น. หัวข้อบรรยาย “Unlocking Thailand Capability to Unleash Low Carbon Economy”

โดย คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

09.35 – 10.00 น. หัวข้อบรรยาย “Banpu Next as a Net Zero Solution Provider”

โดย คุณสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด

10.00 – 10.25 น. หัวข้อบรรยาย “Energy transition and Thailand sustainable growth”

โดย ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS)

10.25 – 10.40 น. พัก
10.40 – 11.05 น. หัวข้อบรรยาย “Thermal Battery : Heat Storage for Green Industrial Use”

โดย คุณบัณฑูรย์ ปรปักษ์ขาม Vice President – Energy Storage Solution, SCG Cleanergy
บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด

11.05 – 12.00 น. เสวนาอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็น “แนวโน้มเทคโนโลยีพลังงานและการกักเก็บเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน”

โดย  ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

  • คุณพิพิธ เอนกนิธิ 
  • คุณบัณฑูรย์ ปรปักษ์ขาม  
  • คุณสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์ 
  • ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล

ดำเนินรายการโดย ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย
รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
คุณพิพิธ เอนกนิธิ
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
คุณสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด
ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล 
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS)
คุณบัณฑูรย์ ปรปักษ์ขาม
Vice President – Energy Storage Solution, SCG Cleanergy บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ