Rhizophora

สกุลโกงกาง (Rhizophora)

โกงกางใบเล็ก

Rhizophora apiculata

Download

ข้อมูลจีโนมโกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata)
Click Here

โกงกางใบใหญ่

Rhizophora mucronata

Download

ข้อมูลจีโนมโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata)
Click Here

การวิเคราะห์จีโนมของพืชสกุลโกงกาง

ทีมวิจัยได้ทำการสร้างจีโนมอ้างอิงของพืชในสกุลโกงกางจากประเทศไทย ได้แก่ โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) (Ruang-areerate et al., 2022) และ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) (Naktang et al., 2023)  รวมถึงทำการ sequence ประชากรโกงกางในธรรมชาติมากกว่า 200 ตัวอย่างจากทั่วทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เพื่อศึกษาโครงสร้างประชากรของพืชสกุลโกงกางทั้งสอง

โครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากร

ในส่วนของพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง Rhizophora ประกอบด้วยโกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) และ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) โดยโกงกางใบเล็ก (R. apiculata) มีค่า Genetic Differentiation (Fst) ที่ค่อนข้างสูง Fst=0.24 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาสถานะความหลากหลายทางธรรมชาติของโกงกางใบเล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Guo, Z. et al., 2016 J. Biogeogr, 43, 1856–1868; He, Z. et al., 2019 Natl. Sci. Rev., 6, 275–288; Azzman, A. et al., 2020 Sci. Rep., 10, 19112) ในขณะที่ประชากรของโกงกางใบใหญ่มีค่า Genetic Differentiation ที่ต่ำมาก แสดงถึงผสมข้ามของพืชระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย แต่เนื่องจากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนโดยการปลูกป่าชายเลนที่เน้นการปลูกพืชโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) เนื่องจากมีการเจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชายทะเล เช่นบ่อกุ้งร้าง ต้นกล้ามีสัดส่วนรอดชีวิตสูง ทำให้โครงสร้างทางพันธุศาสตร์ประชากรของ R. mucronata มีการผสมข้ามของประชากรย่อยไปมาได้จากปัจจัยจากการปลูกป่าชายเลนทดแทนขึ้น (Naktang et al., 2023)

Share:
Facebook
Twitter

อ้างอิง

Panthita Ruang-areerate, Chaiwat Naktang, Wasitthee Kongkachana, Duangjai Sangsrakru, Nattapol Narong, Chatree Maknual, Tamanai Pravinvongvuthi, Waratthaya Promchoo, Suchart Yamprasai, Sithichoke Tangphatsornruang, Wirulda Pootakham. 2022. Assessment of the Genetic Diversity and Population Structure of Rhizophora apiculata Blume (Rhizophoraceae) in Thailand. Biology 11, no. 10: 1449. https://doi.org/10.3390/biology11101449

Chaiwat Naktang, Supaporn Khanbo, Chutintorn Yundaeng, Sonicha U-thoomporn, Wasitthee Kongkachana, Darunee Jiumjamrassil, Chatree Maknual, Poonsri Wanthongchai, Sithichoke Tangphatsornruang, Wirulda Pootakham. 2023. Assessment of the Genetic Diversity and Population Structure of Rhizophora mucronata along Coastal Areas in Thailand. Biology 12, no. 3: 484. https://doi.org/10.3390/biology12030484

Zixiao Guo, Yelin Huang, Yongmei Chen, Norman C. Duke, Cairong Zhong, Suhua Shi. 2016. Genetic discontinuities in a dominant mangrove Rhizophora apiculata (Rhizophoraceae) in the Indo-Malesian region. Journal of Biogeography, 43: 1856-1868. https://doi.org/10.1111/jbi.12770

Ziwen He, Xinnian Li, Ming Yang, Xinfeng Wang, Cairong Zhong, Norman C Duke, Chung-I Wu, Suhua Shi. 2022. Speciation with gene flow via cycles of isolation and migration: insights from multiple mangrove taxa. National Science Review, Volume 6, Issue 2, March 2019, Pages 275–288, https://doi.org/10.1093/nsr/nwy078

Amelia Azman, Kevin-Kit-Siong Ng, Chin-Hong Ng, Chai-Ting Lee, Lee-Hong Tnah, Nurul-Farhanah Zakaria, Suhaila Mahruji, Khairuddin Perdan, Md-Zaidey Abdul-Kadir, Acga Cheng, Soon-Leong Lee. 2020. Low genetic diversity indicating the threatened status of Rhizophora apiculata (Rhizophoraceae) in Malaysia: declined evolution meets habitat destruction. Scientific Reports 10, 19112. https://doi.org/10.1038/s41598-020-76092-4