งานวิจัยนโยบายองค์กร (OPR)
opr@nstda.or.th
0-2564-7000 ต่อ 71850-71868
Menu
Strategic Intent ฉบับนี้ขอมาเล่าต่อจากฉบับที่แล้ว ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง “หายนะจากการก้าวเข้าสู่ภาวะโลกเดือด (Global Boiling)” หรือ ภาวะโลกร้อน (Global Warming) โดยในฉบับนี้ จะพามาดูว่า สวทช. มีแนวทางในการเตรียมความพร้อมและ/หรือมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโลกเดือด หรือโลกร้อนนี้อย่างไร เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
จากแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับทบทวนที่่ 7.2 (พ.ศ. 2567-2571) สวทช. ได้มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจน โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Technology) เพื่อเพิ่มการจัดการด้านการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิิอากาศที่ส่งผลต่อภาคเกษตร เช่น ภัยพิบัติจากธรรมชาติ และสภาพอากาศแปรปรวน เป็นต้น
นอกจากนี้ สวทช. ยังได้มีการกำหนดจุดยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่สามารถตอบสนองต่อเป้า BCG ของประเทศ ในมิติการสร้างความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ลดการใช้ทรัพยากร ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำของเสียกลับมาใช้ใหม่) อีกด้วย โดยประกอบด้วย 4 แผนการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การพัฒนานวัตกรรมพลังงานเพื่อเพิ่มศักยภาพพลังงานสะอาด มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งมีโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการยกระดับ “ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงสะอาด” สู่การใช้งานจริงในประเทศ (2) การพัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDG เพื่อการค้าและความยั่งยืน มีโครงการสำคัญ 2 โครงการ ได้แก่
โครงการพัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDG เพื่อการค้าและความยั่งยืน และโครงการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์พลาสติก สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล Materials Informatics & AI (3) การพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ทรัพยากร ลดการปลดปล่อยของเสีย เข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (เชื่อมกับ Thailand i4.0 Platform) มีโครงการสำคัญ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อวิเคราะห์และเลือกใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากร และลดการปลดปล่อยของเสีย และโครงการการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบและวัสดุเหลือใช้และจากอุตสาหกรรม อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน และ (4) การพัฒนาเทคโนโลยี Carbon capture and utilization (CCU) ที่มีความพร้อมในการขยายผล ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร มีโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการการพัฒนาเทคโนโลยี Carbon capture and utilization (CCU) รวมถึงการพัฒนา Consortium National CCU Technology Road Map เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาข้างต้น แนวทางสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภาวะโลกเดือด หรือ โลกร้อนของ สวทช. นี้ เป็นเพียงฟันเฟืองหนึ่งที่ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต่อไป
“ช่วยโลก ช่วยเรา ช่วยกันลดโลกร้อนไปพร้อมกับ สวทช.”