งานวิจัยนโยบายองค์กร (OPR)
opr@nstda.or.th
0-2564-7000 ต่อ 71850-71868
Menu
นอกจากแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจะเป็นเครื่องมือหลักในการทำวิจัยเชิงนโยบายแล้ว ปัจจุบันยังมีเครื่องมือในรูปแบบอื่นๆ ที่มีการนำมาใช้ในการเก็บข้อมูล โดยในบทความนี้จะพามารู้จักกับเครื่องมือ (Tools) หรือ ตัวช่วยในการสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการทำวิจัยเชิงนโยบาย หลังจากได้เรียนรู้ วิธีการเก็บข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำวิจัยเชิงนโยบายกันมาบ้างแล้ว
แบบสอบถามออนไลน์ (Online Survey) ถือว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่นักวิจัยมักนิยมนำมาใช้เพื่อเก็บข้อมูลในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการวัดผลได้หลากหลายประเด็น ครบ และตรงตามความต้องการของนักวิจัย ซึ่งนักวิจัยสามารถสร้างแบบสอบถามขึ้นได้ด้วยตนเอง สะดวกสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้ง ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้ง่าย และยังสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อกลับมาวิเคราะห์ผลได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย
โดยในวันนี้จะพาไปรู้จักกับเครื่องมือที่ชื่อว่า Google Form และ Microsoft Form ซึ่งทั้ง 2 เครื่องมือนี้นักวิจัยสามารถสร้างแบบสอบถามได้ด้วยตัวเองเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยได้ตามความต้องการ สามารถเข้าใช้ง่าย สะดวก มีฟังก์ชั่น รูปแบบการใช้งานที่คล้ายกัน
Google Form เป็นเครื่องมือสร้างแบบสอบถามออนไลน์ มีอยู่ในฟีเจอร์หลักของ Google/Google Doc เพียงแค่ Sign In ด้วย Google account ผ่านทาง web browser ก็สามารถใช้งานได้แล้ว
Microsoft Form เป็นเครื่องมือระบบปิดที่นักวิจัยจะสามารถสร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้ก็ต่อเมื่อ Sign In ด้วย Microsoft 365 Account (ต้องมี Username/Password) ผ่านทาง https://forms.office.com/ มีรูปแบบการใช้งานคล้ายกับ Google Form เพียงแต่ไม่สามารถ Add-on เชื่อมต่อโปรมแกรมอื่นๆจากภายนอกเหมือน Google Form แต่ Microsoft Form สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมอื่นใน application ของ Microsoft Office365 ได้เป็นอย่างดี
เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง Google Form และ Microsoft Form จะเห็นได้ว่ามีรูปแบบการใช้งานที่คล้ายกันมาก
ตารางเปรียบเทียบรูปแบบการใช้งาน ระหว่าง Google Form และ Microsoft Form
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยสามารถเข้าไปศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามออนไลน์เพิ่มเติมได้ที่ Microsoft Form – Course: Microsoft Form (nstda.or.th) และ Google Form- Google Forms (nstda.or.th) ส่วนจะตัดสินใจเลือกใช้งานตัวไหนก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ประเด็นข้อคำถาม และความถนัดของนักวิจัยได้เลยค่ะ