NSTDA PR » Boonlert http://www.nstda.or.th/pr สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ Mon, 12 Nov 2012 08:08:43 +0000 en-US hourly 1 http://wordpress.org/?v=3.5 เครื่องชาร์จไฟโทรศัพท์มือถือเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ประสบภัยน้ำท่วม http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%88%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b9%8c/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%88%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b9%8c/#comments Sat, 23 Oct 2010 03:54:45 +0000 Boonlert http://www.nstda.or.th/pr/?p=472 จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นส่งผลให้กระแสไฟฟ้าในพื้นที่ถูกตัด และดับเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารขอรับความช่วยเหลือจากผู้ประสบภัยธรรมชาติ สู่บุคคล/องค์กรต่างๆ เป็นไปได้อย่างลำบาก สวทช. โดยเนคเทค ขอนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างง่าย โดยการนำแบตเตอรี่ ๑๒ โวลท์จากรถยนต์มาประยุกต์ใช้สร้างเป็นเครื่องชาร์จไฟโทรศัพท์ใช้กันเอง รายละเอียด

]]>
http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%88%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b9%8c/feed/ 0
เปิดคลิปประวัติศาสตร์…พระพิฆเนศพระราชทาน http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%9b%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%9b%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c/#comments Mon, 22 Jun 2009 05:44:06 +0000 Boonlert http://www.nstda.or.th/pr/?p=5 22 มิถุนายน 2552 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. ) และมิสเตอร์ ชินนิจิ มิตซูโมโต ผู้อำนวยการองค์กรอวกาศญี่ปุ่น Japan Aerospace Exploration Agency ร่วม กันแถลงข่าวเปิดให้สื่อมวลชนชมคลิปวิดิโอภาพของที่ระลึกจากประเทศไทย ซึ่งเป็นพระพิฆเนศพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และต้มยำกุ้ง อาหารหลักของไทยที่ ด็อกเตอร์โคอิจิ วากาตะ นักบินอวกาศชาวญี่ปุ่นประจำ NASA Johnson Space Center นำ ติดตัวขึ้นไปปฏิบัติงานในอวกาศ พร้อมเผยรายละเอียดโครงการร่วมในอนาคตซึ่งเป็นการประกวดหาโครงงานวิจัยเพื่อ นำขึ้นไปทดลองบน สถานีอวกาศนานาชาติ และโครงการวิจัยที่จะทำการทดลองบนเครื่องบินที่ทำการบินแบบพาลาโบลาที่ ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดเผยในรายละเอียดว่า“สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณในองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีต่อวงการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งยังความซาบซึ้งประทับใจให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ และยังเป็นการจุด ประกายและสร้างโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และสังคมไทย ได้สนใจและศึกษาวิจัย และร่วมทำการทดลองทางอวกาศในระดับสากลด้วย ทั้งนี้ ประเทศไทย มีการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากมายหลายแขนง มีนัก วิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและมีผลงานโดดเด่นจำนวนไม่น้อยทางด้าน ชีวภาพ การเกษตร หรือการแพทย์ เป็นต้น ผลงานที่โดดเด่นเหล่านั้น มีทั้งที่เป็นผลงานวิจัยพื้นฐานต่อยอดองค์ความรู้ และผลงานวิจัยแบบประยุกต์เพื่อถ่ายทอดลงสู่ภาคการผลิตของประเทศ และมีความคาดหวังว่าในอนาคต ประเทศไทยและนักวิจัยไทยจะมีโอกาสได้ประยุกต์และต่อยอดงานวิจัยในด้านอวกาศ มากขึ้น” คุณหญิงกัลยากล่าว ด้าน ดร.ศักรินทร์เปิดเผยเพิ่มเติมในรายละเอียดว่าโครงการที่ สวทช.และ JAXA จะร่วมกันต่อไปในอนาคตมีจำนวน 2 โครงการคือ โครงการ Research Proposal for KIBO ซึ่งเป็นการประกวดหาโครงงานวิจัยเพื่อนำขึ้นไปทดลองบน สถานีอวกาศนานาชาติในส่วนของประเทศญี่ปุ่นคือ ยาน KIBO หรือ JEM โดย JAXA และ สวทช.จะคัดเลือกโครงงานวิจัยที่ช่วยให้เกิดการก้าวกระโดดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นงานวิจัยที่ดำเนินการวิจัยเบ็ดเสร็จได้ด้วยอุปกรณ์ที่นำขึ้นไปติดตั้งและทดลองได้บนยาน KIBO ได้ มีระยะเวลาพัฒนาโครงการวิจัย 2-4 ปี โดย สวทช.และ JAXA สนับสนุนค่าใช้จ่ายและให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาโครงการ และโครงการที่ 2 The Student Zero-gravity Flight Experiment Contest คือโครงการวิจัยที่จะทำการทดลองบนเครื่องบินที่ทำการบินแบบพาลาโบลาที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเดือนธันวาคม 2552 นี้ โดย สวทช.สนับสนุนทุนในการพัฒนาชุดการทดลอง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำการทดลองที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย

]]>
http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%9b%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c/feed/ 0