NSTDA PR » Press conference http://www.nstda.or.th/pr สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ Mon, 12 Nov 2012 08:08:43 +0000 en-US hourly 1 http://wordpress.org/?v=3.5 กระทรวงวิทย์ ฯ ร่วมมือ กระทรวงสาธารณสุข สานต่อโครงการ ฝังรากฟันเทียม ให้บริการประชาชน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โดยมี นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นประธาน http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c-%e0%b8%af-%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b8%81-2/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c-%e0%b8%af-%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b8%81-2/#comments Thu, 08 Sep 2011 08:16:52 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=754 เรียน    บรรณาธิการ

 ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำบันทึกความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรม (2550-2555) โดยรับสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการรักษาด้วยทันตกรรมรากฟันเทียมที่มีราคาถูกที่ผลิตได้ในประเทศ อันส่งผลให้ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสได้เข้าถึงการรักษาด้วยรากฟันเทียมอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ โครงการระยะแรกจะสิ้นสุดลงในวันที่ 18 มกราคม 2555 ซึ่งการดำเนินงานภายใต้บันทึกความร่วมมือดังกล่าวมีผลการดำเนินงานที่เด่นชัด อาทิ โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ที่ได้ให้บริการรากฟันเทียมแก่ผู้ด้อยโอกาสไปแล้วจำนวน 10,000 ราย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้คณะทำงานได้เข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลรายงาน พร้อมทั้งได้พระราชทานคำแนะนำเพื่อนำมาปรับปรุงโครงการไปแล้วนั้น

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯและกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้ร่วมกันขยายเวลาของบันทึกความร่วมมือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรมต่อไป เพื่อให้ประชาชนไทยได้รับการรักษาโรคช่องปากและฟันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำตามพระราชดำริฯ โดยกำหนดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรม ครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ที่  12 กันยายน  2554 เวลา 11.00  - 13.00 น. ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้ ถนน ศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ  ทั้งนี้ ฯพณ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีดังกล่าว

 การนี้ จึงใคร่ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนทุกท่านเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสรินยา , คุณโกเมศ , คุณกัญรินทร์ และคุณปริเยศเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  โทรศัพท์ 02-644-8150-89  ต่อ 237,217,212,712  หรือ 081-9886614,  081-668-1064, 084-529-0006  และ 084-910-0850

]]>
http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c-%e0%b8%af-%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b8%81-2/feed/ 0
ซอฟต์แวร์พาร์ค ผลักดันไอทีไทยเตรียมพร้อมเดินหน้าสู่ AEC2015 ในงาน Software Park Annual Conference 2011 http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%8b%e0%b8%ad%e0%b8%9f%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%84-%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%84/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%8b%e0%b8%ad%e0%b8%9f%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%84-%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%84/#comments Wed, 31 Aug 2011 08:23:47 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=724 [singlepic id=544 w=320 h=240 float=]

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(Software Park Thailand) ร่วมกับ ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เตรียมจัดงานสัมมนาวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ Software Park Annual Conference 2011 ภายใต้หัวข้อ “การเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสู่เวทีอาเซียนในปี 2015” หวังยกระดับความรู้ ทักษะ เสริมสร้างเครือข่าย พร้อมเผยแพร่ผลงาน ศักยภาพผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย สู่เวทีนานาชาติ ในวันที่ 13 กันยายน 2554 นี้ ณ ห้องบอลรูม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) เปิดเผยว่า ในฐานะที่ซอฟต์แวร์พาร์คเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ พร้อมทั้งมุ่งพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีความเข้มแข็ง และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง งานสัมมนาวิชาการประจำปีของซอฟต์แวร์พาร์คปีนี้ หรือ Software Park Annual Conference 2011 จึงถูกสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด “การเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสู่เวทีอาเซียนในปี 2015” เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมให้ทั้งภาคธุรกิจและบุคลากรในวงการไอทีตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่เวที AEC2015

ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า  หากขาดการเตรียมพร้อมและการปรับตัวที่ดี อุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบเชิงลบค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน  แรงงานที่มีความสามารถอาจเคลื่อนไปสู่องค์กรขนาดใหญ่ในอาเซียนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ในทางกลับกัน ช่วง 3 ปีครึ่งจากนี้ หากอุตสาหกรรมไอทีไทยร่วมมือกันวางแผน และปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ก็เชื่อว่า AEC2015 จะกลายเป็นโอกาสทางการตลาดและเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไอทีไทยอย่างแท้จริง

กิจกรรมในงานจะประกอบไปด้วย ส่วนนิทรรศการ บูธแสดงสินค้าและบริการของเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำ ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ศูนย์ฝึกอบรมด้านไอที  และอื่นๆ การสัมมนาเชิงวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารจากภาครัฐและเอกชน รวมถึง หอเกียรติยศ Software Park Thailand: Hall of Fame 2011 ซึ่งเป็นการประกาศเกียรติคุณผู้ทำประโยชน์ให้แก่อุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ

[singlepic id=553 w=320 h=240 float=]

ดร.ประสบโชค ประมงกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ไมโครซอฟท์(ประเทศไทย)จำกัด เปิดเผยว่า AEC 2015 เป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะปักธงในอาเซียน และเป็นการส่งสัญญาณไปสู่ประชาคมโลก โดยในการสร้างความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการมีปัจจัยหลัก 3 ประการคือ 1.คน.2.ตลาด 3.ไอซีที ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยนั้นมองว่า เป็นวาระแห่งชาติที่การผลักดันเป็นภารกิจของประเทศซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน โดยต้องพัฒนาคนให้เก่ง ทำตลาดให้กว้าง และพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวไกล ทั้งนี้ต้องมีการสนับสนุนอย่างจริงจัง อาจทำเป็นรูปแบบคลัสเตอร์ในแต่ละSolution หรือการสร้างมูลค่าตลาดให้มากขึ้น

คุณเจนวิทย์ คราประยูร ผู้จัดการทั่วไป True Internet Data Center Co.,Ltd. (True IDC) เปิดเผยว่า สิ่งที่ Technology vendor ต้องเตรียมรับมือกับ AEC2015 ที่กำลังจะมาถึงคือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เพราะเมื่ออาเซียนเป็นตลาดเดียวกันแล้วก็จะทำให้ตลาดด้านเทคโนโลยีมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย สินค้า บริการ ทุนและแรงงานวิชาชีพที่มีฝีมือจะสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างอิสระทั่วภูมิภาคซึ่งอาจส่งผลให้แรงงานวิชาชีพสำคัญของไทยอาจเลือกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านที่มีผลตอบแทนสูง นอกจากนี้ประเทศไทยอาจเสียประโยชน์ประเทศอื่นๆในอาเซียนเพราะมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี กฏหมาย และขีดความสามารถของบุคลากร รวมทั้งมีโอกาสได้รับผลกระทบจากากรเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในไทยมากขึ้น จากปกติที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติมากอยู่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจเกิดการแข่งขันรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นนอกจาก Technology vendor ทั้งหลายต้องพยายามรักษาบุคลากรแรงงานที่มีฝีมือในบริษัทของตนแล้ว ขณะเดียวกันยังมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเหล่านั้นควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันก็ควรดำเนินการตลาดแบบเชิงรุกกลับคู่แข่งเช่นกัน อาทิ การสนับสนุนให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางของ network ในภูมิภาค โดยจูงใจให้ผู้ให้บริการเครือข่ายระหว่างประเทศเข้ามาตั้ง node ในประเทศไทย และทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Content ในภูมิภาค

นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SSC Solution Co.,Ltd. และกรรมการกิจการอาเซียนสภาหอการค้าไทย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยต้องเตรียมปักธงว่าจะมีความโดดเด่นด้านไหนหากเปิดตลาดอาเซียน การเตรียมตัวที่จะเป็นอันดับหนึ่งของตลาดนอกจากผู้ประกอบการที่ต้องเตรียมพร้อมแล้วต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและต้องทำงานร่วมกันกับสมาคมหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้อุตสาหกรรมไทยพร้อมที่จะแข่งขันได้อย่างมีศักยภาพ

[singlepic id=547 w=320 h=240 float=]

นายปริญญา หอมเอนก ประธานและผู้ก่อตั้ง ACIS Professional Center Co., Ltd. เปิดเผยว่า สิ่งสำคัญคือภาครัฐควรสนับสนุนการสอบใบรับรองความสามารถของบุคลากรไอทีของไทย โดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณบางส่วนเพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการวัดความรู้ความสามารถของบุคลากรทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลของประเทศอาเซียนมีการตื่นตัวและพัฒนาบุคลากรด้านไอทีกันแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเร่งผลักดันให้มีการวัดระดับความสามารถบุคลากรไทยเพื่อให้แข่งขันได้ในเวทีนานาชาติ

นายอดิเรก ปฏิทัศน์ นายกอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย(ATCI) เปิดเผยว่า ภาครัฐควรช่วยให้ความรู้ด้านกฎระเบียบและข้อบังคับของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมถึงสำรวจความต้องการของตลาด IT และ IT Services เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการในการเตรียมความพร้อม รวมถึงการส่งเสริมและให้การฝึกอบรมในการใช้ภาษาอังกฤษ (Intensive English Program) เพื่อการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ภาครัฐควรมีการจัดสัมมนา และเชิญผู้รู้ในอุตสาหกรรม IT และ IT Services มาร่วมให้ข้อมูลในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดความตื่นตัว และพร้อมที่จะแข่งขันในอีก 3 ปีข้างหน้า

นายสมพร มณีรัตนะกูล นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (ATSI) เปิดเผยว่า การเตรียมรับมือ AEC 2015 สำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ATSI ได้เตรียมรับมือหลายรูปแบบ และได้จัดทำมาตรการรองรับในรูปของระเบียบ ข้อกำหนด เงื่อนไข การตรวจสอบ การรับรอง ฯลฯ ที่อยู่ในรูปแบบที่ปฏิบัติได้ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคซอฟต์แวร์ และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เช่น การออกใบรับรองคุณภาพ และความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ การกำหนดความสามารถ-คุณภาพของซอฟต์แวร์ในระดับต่างๆ การออกใบรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และที่สำคัญคือการรวมตัวของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์เฉพาะด้านในการร่วมกันคิดและผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

[singlepic id=550 w=320 h=240 float=]

ดร.พีรสัณห์ บุณยคุปต์ นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(TSEP) เปิดเผยว่า AEC 2015 จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ใน 2 เรื่องหลักคือ เงินลงทุนที่จะหมุนเวียนไหลเข้าและออก โดยจะมีเงินลงทุนเข้ามาในบริษัทไอทีของไทย ทั้งจากในประเทศกลุ่มอาเซียนและนอกกลุ่มอาเซียนมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องเตรียมรับมือ อีกเรื่องคือ บุคลากร จะมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศหรือเมืองที่มีศักยภาพในการทำงาน มีค่าจ้างที่อยู่ได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยต้องมีการเตรียมรับมือที่จะทำให้ประเทศ หรือ บางพื้นที่ของประเทศไทยมีอินฟาสตรัคเจอร์ที่จะมารองรับและดึงดูดคนที่มีศักยภาพและประสบการณ์ ให้มาทำงาน เพราะเมื่อเปิดตลาดปรากฏการณ์สมองไหลก็จะเกิดขึ้น

พลาดไม่ได้กับงาน สัมมนาวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ Software Industry towards ASEAN Economic Community-AEC 2015 อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน2015 ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 13 กันยายน 2554 นี้  พร้อมพบกับ แบไต๋ไฮเทคทอล์คโชว์ ตอน App ไทยไป App โลก พบ หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ จิ๊กโก๋ไอทีพี่หลาม อาจาร์ยศุภเดช ที่จะมาล้วงลึกวงการแอพตู้ที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของการพัฒนาแอพลิเคชั่นไทยบน Smart Device ต่างๆ ร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาแบบเจ็บๆคันๆมันส์ๆในสไตล์แบไต๋ไฮเทค 1ชม.เต็มอิ่มในงาน

]]>
http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%8b%e0%b8%ad%e0%b8%9f%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%84-%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%84/feed/ 0
สวทช.ขอเชิญร่วมส่งผ่านน้ำใจให้ครอบครัวผู้สูญเสียทั้ง3 ของนักวิจัย สวทช.ผ่านหมายเลขบัญชีธนาคาร http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%8a-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%8d%e0%b8%8a%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%8a-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%8d%e0%b8%8a%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89/#comments Tue, 11 Jan 2011 06:10:05 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ผู้ร่วมงานของบุคลากรที่ทรงคุณค่ายิ่งทั้งสามของ สวทช.และประเทศไทย  ซึ่งเป็นความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้  ทั้งสามผ่านการค้นพบและบ่มเพาะตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพเพื่อกลับมาพัฒนาและตอบแทนคุณแผ่นดินเกิด บางท่านเพียรพยายามต่อสู้ชีวิตมาอย่างเหนื่อยยากลำบาก อีกทั้งยังเป็นเสาหลักหนึ่งเดียวของครอบครัว ซึ่งการจากไปอย่างกะทันหันนี้นอกเหนือจากที่ต้องผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากในการเสียบุคคลอันเป็นที่รักแล้วยังส่งผลกระทบต่ออนาคตของครอบครัว ซึ่งมีทั้งผู้ที่เป็นบิดา มารดา รวมทั้งภรรยาและลูกซึ่งต้องสูญเสียบุคลากรทั้งสามที่เป็นคนดีมีความสามารถที่ยังทำประโยชน์มากมายต่อประเทศไทยได้ในอนาคต 

 

สวทช.ขอถือโอกาสนี้เป็นสื่อกลางเชิญชวนทุกท่านส่งผ่านน้ำใจเพื่อการดูแลผู้ที่จากไปและครอบครัวอันเป็นที่รักของเขาเหล่านั้น ผ่านทางช่องทางเหล่านี้

 

1.ชื่อบัญชี  น.ส. ถวิล เช้าเที่ยง   หมายเลข 292-417438-2

     ธนาคารกรุงเทพ(ออมทรัพย์) สาขาราชบุรี

[มารดา ดร. ศาสตรา เช้าเที่ยง]

 

2.ชื่อบัญชี  นางสุภัชส์ศวีร์ รัตนโฉมศรี  หมายเลข 2062220347

     ธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)สาขาย่อยเซ็นทรัลลาดพร้าว

[ภรรยา นาย อุกฤษฎ์ รัตนโฉมศรี]

 

3.ชื่อบัญชี กษมน มั่นสิน เลขบัญชี 0662118603

     ธนาคารทหารไทย (ออมทรัพย์) สาขากรุงธน

[มารดา นาย เกียรติมันต์ รอดอารีย์]

 

 

ดร. ศาสตรา เช้าเที่ยง

 

ดร. ศาสตรา เช้าเที่ยง (เป็ด) เกิดวันที่ 11 เมษายน 2521 ที่จังหวัดราชบุรี ได้รับทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อปี 2538 ไปศึกษาในระดับปริญญาตรี โท เอก ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก University of Birmingham ในปี 2548 และได้กลับมาปฏิบัติงานที่ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโปรตีนลิแกนด์และชีววิทยาโมเลกุล หน่วยวิจัยชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ไบโอเทค สวทช. ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ในระยะเวลาเกือบ 5 ปีที่ทำงานที่ไบโอเทค สวทช. เป็ดเป็น 1 ในทีมวิจัย ที่มีความขยันหมั่นเพียรในการทำงานร่วมกับกลุ่มงานวิจัยมาลาเรียของไบโอเทค สวทช. โดยทำการศึกษากลไกการดื้อยาของเชื้อมาลาเรีย เป็ดเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ที่กำลังมาแรง ทำงานได้ผลดีมาก และจากความมุ่งมั่นในการตามงานอย่างใกล้ชิดและขยันขันแข็ง เป็นคนที่มีน้ำใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มักให้ข้อเสนอแนะดีๆ ในการวิจัย และช่วยสร้างเสียงหัวเราะให้กับทีมวิจัยเสมอๆ เป็ดเป็นเพื่อนที่พร้อมจะสร้างบรรยากาศงานวิจัยที่ดีให้แก่ทีมวิจัยทุกคน นอกเหนือจากเป็นกำลังสำคัญกับห้องปฏิบัติการของ ไบโอเทค สวทช. เป็ดยังเป็นเสาหลักสำคัญเพียงหนึ่งเดียวให้กับคุณแม่และน้องซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย

 

 

นาย อุกฤษฎ์ รัตนโฉมศรี

 

นาย อุกฤษฎ์ รัตนโฉมศรี (บี) เกิดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2523 ที่จังหวัดชลบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบางพระ เริ่มปฏิบัติงานที่ไบโอเทค สวทช.ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2545 ในตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัย ห้องปฏิบัติเทคโนโลยีเอนไซม์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ บี เป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็นกำลังสำคัญของห้องปฏิบัติการ มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติจำนวนมาก และได้สร้างชื่อเสียงให้กับไบโอเทค สวทช. โดยได้รับรางวัลExcellent Paper Award of the Society for Biotechnology , Japan ที่คัดเลือกจากผลงานตีพิมพ์นานาชาติชั้นเยี่ยมจากนักวิจัยนอกประเทศญี่ปุ่นที่ได้รายงานผลงานวิจัยโดดเด่น ตลอด8 ปีที่บีปฏิบัติงานร่วมกับไบโอเทค สวทช.เป็นทั้งคนที่ดีและเก่ง บีช่วยทุกคนที่ขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว และไม่เคยท้อถอยจะทำทุกอย่างให้สำเร็จด้วยความมุ่งมั่นเสมอ เป็นคนที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความก้าวหน้าในการวิจัยของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ สร้างผลงานที่ดีมีคุณภาพด้วยความตั้งใจ นอกจากเป็นคนที่มีพรสวรรค์ทางด้านการทำงานวิจัย คอมพิวเตอร์ และการออกแบบให้ทุกอย่างดูดี เป็นคนที่มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ เป็นกำลังใจ เป็นเพื่อนที่สร้างความสนุกสนานให้เพื่อนร่วมงานภายใต้บรรยากาศการทำงานที่เคร่งเครียดแล้ว บียังเป็นคนรักครอบครัวอย่างมากซึ่งแน่นอนว่าการจากไปของบีจะส่งผลกระทบต่ออนาคตของภรรยาและลูกเล็กของเขาซึ่งมีวัยเพียงแค่ 3 ปีเป็นอย่างมาก  

 

 

นาย เกียรติมันต์ รอดอารีย์

 

นาย เกียรติมันต์ รอดอารีย์   นักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (โท-เอก)  ซึ่งมาช่วยปฏิบัติงานวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องกลจุลภาค (MEM)  โดยในวันเกิดเหตุเกียรติมันต์อยู่ปฏิบัติงานที่ ห้องปฏิบัติการฯจนค่ำ จึงได้เดินทางกลับที่พัก และประสบเหตุ ดังกล่าว

เกียรติมันต์มีความสนใจในเรื่องวิศวกรรมนาโนฯ มาตั้งแต่เรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และ ระหว่างศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้ามาฝึกงาน และทำโครงงานวิจัยตั้งแต่ปี 2552  ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องกลจุลภาค (MEM)    และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขา Nano Engineering (International Program) ด้วยคะแนน 3.90 เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา  รวมทั้ง เพิ่งได้รับทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ  และอยู่ระหว่างการเตรียมตัวเดินทางเพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศ  ในระหว่างที่มาฝึกงานและช่วยปฏิบัติงานวิจัยที่ MEM  เกียรติมันต์เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย  มึความตั้งใจสูง  ทุ่มเททำงานจนมีผลงานที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก เคยได้รับการตอบรับไปนำเสนอ paper ที่ฮ่องกงในระหว่างศึกษาระดับปริญญาตรี และล่าสุดคือ paper ที่เขียนอยู่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติชั้นนำทางด้าน วิศวกรรมนาโนฯ  การสูญเสียครั้งนี้จึงถือได้ การสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่า และบุคคลที่จะเป็นกำลังสำคัญด้านงานวิจัยของประเทศในอนาคต

 

ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความเสียใจและส่งผ่านน้ำใจมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

]]>
http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%8a-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%8d%e0%b8%8a%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89/feed/ 0
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สวทช.เข้ามอบกระเช้าของขวัญปีใหม่แด่ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%94%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%b9%e0%b8%a5/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%94%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%b9%e0%b8%a5/#comments Thu, 23 Dec 2010 09:58:00 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=547 [singlepic id=343 w=320 h=240 float=]

]]>
http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%94%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%b9%e0%b8%a5/feed/ 0
พันธุ์ข้าวเหนียวพระราชทานนาม “ ธัญสิริน” http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b9%8c%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b9%8c%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a/#comments Wed, 15 Dec 2010 09:53:06 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=538 [singlepic id=337 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=325 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=322 w=320 h=240 float=]

วันที่ 15 ธันวาคม 2553  ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นำข้าวเหนียวพระราชทาน “ ธัญสิริน ” ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แสดงต่อสื่อมวลชน โดยข้าวสายพันธุ์ดังกล่าว เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพเท่าพันธุ์ กข6  แต่มีความต้านทานโรคไหม้  ซึ่งพันธุ์ กข6 เดิมไม่มี โดยคุณสมบัติดังกล่าวจะช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้แก่เกษตรกร เนื่องจากสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากโรคไหม้ เนื่องจากสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากโรคไหม้ที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่นาน้ำฝนในฤดูนาปีได้ นอกจากนั้นยังช่วยลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการใช้สารเคมีฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคไหม้แก่เกษตรกรผู้ปลูกด้วย โดย ดร.วีระชัยเปิดเผยในรายละเอียดว่า

[singlepic id=325 w=320 h=240 float=]

          “กระทรวงวิทยาศาสตร์ โดย สวทช.ไบโอเทค ได้ให้ความสำคัญกับงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2532 ใช้ข้อมูลจีโนมช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว โดยได้พัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมายที่ควบคุมลักษณะสำคัญ เช่น คุณภาพเมล็ด ความสามารถทนต่อน้ำท่วม ทนเค็ม ทนแล้ง ต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดด เป็นต้น สำหรับข้าวเหนียวพันธุ์ดังกล่าวนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  พระราชทานชื่อพันธุ์ข้าวว่า “ธัญสิริน” โดยในปี 2551-2553 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มูลนิธิฮักเมืองน่าน ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร ศูนย์วิจัยข้าวพันธุ์ชุมแพ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรกรจังหวัด เกษตรกรอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้ร่วมในการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้กับเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.น่าน  จ.เชียงราย จ.ลำปาง จ.สกลนคร และ จ.ชัยภูมิ พื้นที่รวมประมาณ 5,000 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อไร่

[singlepic id=340 w=320 h=240 float=]

จากการที่เกษตรกรเพาะปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้ได้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ กข6 ไม่เป็นโรค ต้นไม่ล้ม เกี่ยวง่าย เมล็ดเรียว ข้าวกล้องขายได้ราคาดี ขายเมล็ดพันธุ์ได้ราคาสูง เกษตรกรรายอื่นในชุมชนสนใจอยากได้ และทำให้ไม่ต้องใช้สารเคมีทำให้ผลิตข้าวแบบอินทรีย์ได้ผลดีเมล็ดพันธุ์ราคาสูง ลดต้นทุนค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้จะนำเข้ารายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายผลต่อไป

[singlepic id=331 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=334 w=320 h=240 float=]

 

ผู้ส่งข่าว   :     ลัดดา หงส์ลดารมภ์

ผู้อำนวยการ ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

]]>
http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b9%8c%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a/feed/ 0
การประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งปฐมฤกษ์“ขับเคลื่อนงานวิจัยข้าวไทยสู่นวัตกรรม” http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%81%e0%b8%ab/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%81%e0%b8%ab/#comments Fri, 03 Dec 2010 03:52:37 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=532 [singlepic id=307 w=320 h=240 float=]

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จะจัดประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งปฐมฤกษ์ ภายใต้หัวข้อ “ขับเคลื่อนงานวิจัยข้าวไทยสู่นวัตกรรม” ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ

[singlepic id=310 w=320 h=240 float=]

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและความรู้ด้านข้าวจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งชุมชนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยและงานวิจัยด้านข้าวให้กว้างขวาง รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางในการวางทิศทางและกลยุทธ์งานวิจัยด้านข้าวระดับชาติต่อไป ในการประชุมจะมีการปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษต่างๆ เช่น  “นโยบายรัฐกับการวิจัยข้าวไทย” โดย พณฯ นายกรัฐมนตรี  “นโยบายรัฐกับชาวนา” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  “Strategy for Rice Research: Global and Thailand Perspectives” โดยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ระดับโลกในการวิจัยและพัฒนาข้าว รวมทั้งมุมมองของการพัฒนาข้าวของไทย มีการเสวนา เรื่อง “งานวิจัยข้าวไทยกับชาวนา” เพื่อหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า ชาวนาได้อะไรจากงานวิจัย และทำอย่างไรประโยชน์จากผลงานวิจัยจึงจะถึงชาวนาจริง และการเสวนา เรื่อง “ทิศทางและกลยุทธ์งานวิจัยข้าวไทย” เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์งานวิจัยข้าวของประเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่คาดว่าควรจะเป็นในอนาคต จุดสำคัญของการประชุม คือ การนำเสนอผลงานวิชาการทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์กว่า 120 เรื่อง    (ใน 8 กลุ่มวิชาการ คือ ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการใช้ประโยชน์ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว เทคโนโลยีการผลิตข้าว โภชนาการข้าว เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าข้าว งานวิจัยข้าวระดับท้องถิ่น และงานวิจัยเศรษฐกิจสังคมและวิถีชีวิตชาวนา) นอกจากนั้น ยังมีการจัดนิทรรศการแสดงเครื่องมือการทำนา อาทิเช่น เครื่องขลุบยนต์ เครื่องดำนา เครื่องพ่นหว่านเมล็ด และเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก และอุปกรณ์งานวิจัยข้าวใหม่ๆ และนิทรรศการขององค์กรร่วมที่เกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยและนวัตกรรมข้าว ซึ่งจะจัดแสดงและจำหน่ายข้าวพันธุ์พิเศษ ทั้งข้าวพื้นเมืองและข้าวปรับปรุง รวมทั้ง นวัตนกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว

[singlepic id=313 w=320 h=240 float=]

งานประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติฯ ครั้งนี้ มีกิจกรรมหลากหลาย ที่นักวิชาการ  นักธุรกิจ  และประชาชนทั่วไป สามารถมาร่วมรับประโยชน์ได้  การเข้าร่วมนั้น หากเป็นการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ตั้งแต่วันที่ 15-17 ธันวาคม 2553  จะต้องลงทะเบียนและมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน สำหรับผู้ที่สนใจจะมาชมนิทรรศการ ก็สามารถมาลงทะเบียนเข้างานฟรีหน้างานได้เลย ผู้สนใจร่วมการประชุมวิชาการ สอบถามรายละเอียดได้ที่ 

 

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และการลงทะเบียน

โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3379-3382

โทรสาร 0 2564 6574

E-mail address: rice2010@biotec.or.th

ติดตามกำหนดการและรายละเอียดได้ที่ Website: www.biotec.or.th/rice2010  

]]>
http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%81%e0%b8%ab/feed/ 0
การชาร์จไฟโทรศัพท์มือถือในชุมชน http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%88%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b9%8c%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%96/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%88%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b9%8c%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%96/#comments Tue, 26 Oct 2010 04:52:31 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=505 จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นส่งผลให้กระแสไฟฟ้าในพื้นที่ถูกตัด และดับเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารขอรับความช่วยเหลือจากผู้ประสบภัยธรรมชาติ สู่บุคคล/องค์กรต่างๆ เป็นไปได้อย่างลำบาก สวทช. โดยเนคเทค ขอนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างง่าย โดยการนำแบตเตอรี่ ๑๒ โวลท์จากรถยนต์มาประยุกต์ใช้สร้างเป็นเครื่องชาร์จไฟโทรศัพท์ใช้กันเอง

 

การสร้างเครื่องชาร์จไฟโทรศัพท์จากแบตเตอรี่รถยนต์ทำได้โดย

  1. เตรียมอุปกรณ์
    1. แบตเตอรี่ 12 โวลท์ จากรถยนต์

[singlepic id=280 w=320 h=240 float=]

อินเวอร์เตอร์แปลงแรงดันจาก 12 โวลท์ดีซี เป็น 220 โวลท์เอซี ขนาดของอินเวอร์เตอร์ในท้องตลาดมีตั้งแต่ขนาด 80 วัตต์ จนถึง 1000 วัตต์ ส่วนสายไฟสำหรับต่อกับแบตเตอรี่มักจะให้มากับอินเวอร์เตอร์ รูปด้านล่างเป็นขนาด 1000 วัตต์

[singlepic id=283 w=320 h=240 float=]

สายปลักต่อพ่วงเพื่อให้สามารถเสียบเครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือได้หลายๆ เครื่องพร้อมๆ กัน (สายต่อพ่วงที่ไม่มีคุณภาพ คือเสียบปลักแล้วไม่แน่นหลวม ติดๆ ดับๆ อาจทำให้ทั้งเครื่องชาร์จและอินเวอร์เตอร์เสียหายได้

[singlepic id=286 w=320 h=240 float=]

2.การต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน

  1. ต่อสายแบตเตอรี่สีแดงเข้าที่ขั้วบวก (+) และสายสีดาเข้าที่ขั้วลบ (-) ของทั้งฝั่งอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ดังรูป ตรวจสอบขั้วและสีสายให้ดี ถ้าต่อผิดหรือสลับขั้วอาจทำให้อินเวอร์เตอร์เสียหายถาวรได้ ควรต่อให้แน่น เพราะขณะอินเวอร์เตอร์จ่ายกระแสจะมีกระแสผ่านขั้วต่อต่างๆ สูง ถ้าต่อไม่แน่นจะทำให้ขั้วต่อร้อนจัด และทำความเสียหายได้

[singlepic id=289 w=320 h=240 float=]

เมื่อต่อสายเสร็จแล้วตรวจสอบการทำงานของอินเวอร์เตอร์ โดยการเปิดสวิชท์ที่อินเวอร์เตอร์ อินเวอร์เตอร์ส่วนใหญ่จะมีไฟบอกสถานะการทางาน ไฟจะติดสว่าง

[singlepic id=292 w=320 h=240 float=]

เสียบสายปลักต่อพ่วงแล้วต่อเครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือตามต้องการตามรูปด้านล่างนี้

[singlepic id=295 w=320 h=240 float=]

  • แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลท์ 60 แอมแปร์-ชั่วโมงจะสามารถประจุแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือได้ประมาณ 100 เครื่อง อย่างต่อเนื่อง (ไม่ใช่เอาร้อยเครื่องมาเสียบพร้อมกันนะครับ) ถ้าคำนวณประสิทธิภาพพลังงานจะพบว่าต่ำมาก แต่ในยามคับขันถือว่ายอมรับได้ครับ
  • อีกประการหนึ่งถ้าไม่มีการประจุแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือ ไม่ควรเสียบเครื่องชาร์จทิ้งไว้ในขณะที่อินเวอร์เตอร์เปิดอยู่ เพราะถึงแม้จะไม่มีการชาร์จโทรศัพท์ แต่เครื่องชาร์จก็กินพลังงานจากแบตเตอรี่ผ่านอินเวอร์เตอร์อยู่ดี
  • ขณะปลัก 220 โวลท์ของอินเวอร์เตอร์ไม่มีอะไรเสียบอยู่ควรปิดอินเวอร์เตอร์ เพราะแม้อินเวอร์เตอร์ไม่จ่ายพลังงานแต่ตัวมันเองก็ใช้พลังงานส่วนหนึ่งจากแบตเตอรี่ ถ้าเปิดทิ้งไว้แบตเตอรี่จะหมดไปโดยเปล่าประโยชน์
  • ]]>
    http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%88%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b9%8c%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%96/feed/ 0
    กระทรวงวิทย์ฯ เปิดตัวต้นแบบเครื่องมือตรวจหาเชื้อไวรัสในกุ้ง http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%af-%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b9%89/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%af-%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b9%89/#comments Fri, 24 Sep 2010 04:49:50 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=451 [singlepic id=253 w=320 h=240 float=]

    อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย วันที่ 23 กันยายน 2553 : ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดินหน้าติดตามผลการทำงานตามนโยบายสำคัญของกระทรวงวิทย์ฯ ในด้านการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีความสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านเกษตร อาหาร และพลังงานทดแทน ล่าสุดได้เปิดตัวต้นแบบเครื่องมือตรวจหาเชื้อไวรัสในกุ้ง ที่มีราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศและมีความเหมาะสมกับการใช้งาน เป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

    [singlepic id=256 w=320 h=240 float=]

                ข้อมูลจากกรมประมงระบุว่า กุ้งเป็นสินค้าประมงที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย มีผลผลิตถึงปีละ 5.0-5.5 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 28 ของผลผลิตโลก โดยผลผลิตกว่าร้อยละ90 ของประเทศไทย เป็นการส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้งในรูปของกุ้งแช่เย็น แช่แข็งและกุ้งแปรรูป อุตสาหกรรมกุ้งเป็นที่จับตามองของหลายๆ ฝ่าย เนื่องจากเป็นอาชีพเกษตรกรรมที่เข้าสู่ระบบธุรกิจครบวงจร ผลดำเนินการในแต่ละปีสามารถนำเม็ดเงินเข้าประเทศปีละเหยียบแสนล้านบาท แต่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย คือการเกิดโรคระบาด ซึ่งโรคที่สำคัญและก่อให้เกิดการสูญเสียมากที่สุดคือโรคที่เกิดจากไวรัส ไม่เพียงแต่การระบาดของไวรัสในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเท่านั้น แม้แต่อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งก้ามกรามก็ประสบกับปัญหานี้เช่นกัน ไวรัสที่สำคัญคือไวรัสโรคทอร่าและไวรัสตัวแดงดวงขาว ซึ่งสาเหตุการระบาดของไวรัสเหล่านี้เกิดจากการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ที่ติดเชื้อไวรัส การใช้ลูกกุ้งที่ติดเชื้อ และการมีพาหะที่อาศัยอยู่บริเวณบ่อเลี้ยง

    [singlepic id=259 w=320 h=240 float=]

                ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทคประจำปี2553 ว่าล่าสุดกระทรวงวิทย์ฯ โดย ทีมนักวิจัยจากเนคเทคและไบโอเทค ได้ร่วมกันวิจัยพัฒนาเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และผลิตน้ำยาสำหรับเทคนิค LAMP ซึ่งสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสในกุ้งได้ในระยะเวลา 30 นาที ตรวจวัดได้เร็วกว่าอุปกรณที่นำเข้าจากต่างประเทศ รวมราคาอุปกรณ์ทั้งหมดก็มีราคาถูกกว่า สามารถพกพาได้สะดวก ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน ค่าใช้จ่ายน้อย และสะดวกในการใช้ในภาคสนาม ทำให้ลดต้นทุนการผลิตและยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯจะส่งเสริมให้ใช้ในอุตสาหกรรมกุ้งต่อไป หากมีการผลิตเครื่องมือนี้ภายในประเทศจะช่วยลดการนำเข้าเครื่องมือตรวจวัดที่มีคุณสมบัติเหมือนกันได้ประมาณ 150 ล้านบาท/ต่อปี ซึ่งคาดว่าเครื่องมือดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เลี้ยงกุ้งสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสในกุ้งและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดราคาแพงจากต่างประเทศ และมีทางเลือกมากขึ้น

                เทคนิค LAMP หรือ  Loop-mediated isothermal amplification เป็นเทคนิคที่สามารถเพิ่มปริมาณ DNA ที่จำเพาะ ไว และรวดเร็ว ภายใต้อุณหภูมิเดียวคือ 60-65O C   เทคนิคนี้สามารถเพิ่มปริมาณ DNA ได้ถึง 109 เท่า โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยาไม่เกิน 1 ชั่วโมง  โดยความขุ่น (turbidity) ที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวชี้ให้เห็นว่ามีการเพิ่มปริมาณ DNA ในหลอดทดลอง  การสังเกตความขุ่นที่เกิดขึ้นเป็นตัวตรวจสอบคร่าวๆได้ว่ามีการติดเชื้อไวรัสที่เราสนใจอยู่ในตัวอย่างDNA ที่นำมาทดสอบหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การสังเกตความขุ่นด้วยตาเปล่ามักจะมีความลำเอียง (bias)  รวมทั้งเครื่องมือวัดความขุ่นของปฏิกิริยา LAMP ที่ผลิตขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นก็มีราคาแพง ทำให้คณะผู้วิจัยเล็งเห็นว่าถ้าเกษตรกรจะมีเครื่องมือเล็กๆเครื่องหนึ่งที่ใช้งานได้ง่าย สามารถวัดความขุ่น และแสดงผลการตรวจหาเชื้อไวรัสในกุ้งโดยใช้หลักการวัดทางแสงร่วมกับเทคนิค LAMP ได้อย่างถูกต้องรวดเร็วก็จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมากต่อเกษตรกร

                การทำงานของเครื่องวัดความขุ่นสำหรับตรวจหาเชื้อไวรัสในกุ้งที่ใช้หลักการทางแสงและเทคนิค LAMP  เริ่มจากส่วนควบคุมอุณหภูมิที่สามารถกำหนดอุณหภูมิเพื่อควบคุมอุณหภูมิของสารละลายได้ตามที่ต้องการ หลังจากนั้นนำสารละลายที่มีตัวอย่าง DNA ของกุ้งที่ต้องการตรวจสอบบรรจุลงในหลอดทดลองโปร่งแสง แล้วปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 63 °C เป็นเวลา 30 นาที เมื่อสารละลายอยู่ในอุณหภูมิที่ต้องการแล้ว ส่วนต่อไปก็คือส่วนตรวจวัดความขุ่นของสารละลาย ซึ่งจะทำงานโดยการยิงแสงสีแดงจากหลอด LED ซึ่งเป็นแสงที่หาซื้อง่ายและมีราคาถูก แสงจะถูกยิงผ่านสารละลายมาตกกระทบตัวรับแสงโดยปริมาณแสงที่ตกกระทบนี้จะขึ้นอยู่กับความขุ่นของสารละลาย ถ้าสารละลายมีความขุ่นเกิดขึ้นแสดงว่าตัวอย่าง DNA ที่นำมาตรวจเป็นของกุ้งติดโรค

                ทีมนักวิจัยที่ร่วมกันพัฒนาประกอบด้วย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์, นายอัศวพงษ์ ทรัพย์พัฒน์, นายถนอม โลมาส จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค รับผิดชอบในส่วนการวิจัยพัฒนาเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และ ดร.วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย , นายวันเสด็จ เจริญรัมย์, นางสาวธีรนาฏ พุทธวิบูลย์ จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค รับผิดชอบในส่วนผลิตน้ำยาสำหรับเทคนิค LAMP ซึงอุปกรณ์ต้นแบบชุดนี้มีราคาอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท

    ……………………………

    สอบถามข้อมูลผลงานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่

    ดร.อดิสร เตือนตรานนท์

    ผู้อำนวยการฝ่าย หน่วยปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค เนคเทค

    02-5646900 adisorn.tuantranont@nectec.or.th

    ]]>
    http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%af-%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b9%89/feed/ 0
    ก. เกษตร ฯ นำ นวัตกรรม ว และท ก.วิทย์ ฯ สร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตรกรรม รับภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81-%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%95%e0%b8%a3-%e0%b8%af-%e0%b8%99%e0%b8%b3-%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b8%a7-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81-%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%95%e0%b8%a3-%e0%b8%af-%e0%b8%99%e0%b8%b3-%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b8%a7-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0/#comments Tue, 21 Sep 2010 08:22:11 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=430 เนื่องจาก โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภาคเกษตรไทยยังไม่เข้มแข็งเพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่นมีค่าใช้จ่ายด้านนี้มากกว่าประเทศไทย 10 เท่าตัว ด้านนักวิจัยเกษตรของไทยมีปริมาณคงที่มาตลอด 10 ปี ดังนั้น ต้องพัฒนาความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้กลไก “synergy” หรือ การเสริมซึ่งกันและกันจากจุดแข็งของสองกระทรวงในการร่วมกันกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรกรรมโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะครอบคุลมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการจัดการ ระบบข้อมูล การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนร่วมมือกันผลักดัน การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าวสู่การปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในภาครัฐ เอกชน และชุมชน

    ดังนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมกันผนึกกำลังในการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตรของประเทศอย่างจริงจังและเข้มแข็ง ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรกรรม โดย นายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นางสาวสุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเป็นประธานในงานดังกล่าว  จึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าว ในวันที่ 23 กันยายน 2553 เวลา 13.00-13.45 น.ณ ห้องประชุม 123 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก

     

    โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-988-6614,  081-6881064, 084-5290006  และ 084-9100850

     

    หมายเหตุ : มีรถรับ-ส่งสื่อมวลชน จอดหน้ากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ออกเวลา 11.45 น. (ล้อหมุน)

    ]]>
    http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%81-%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%95%e0%b8%a3-%e0%b8%af-%e0%b8%99%e0%b8%b3-%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b8%a7-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0/feed/ 0
    สวทช.ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ ผุดโครงการคลีนิกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SME พร้อมช่วยแก้ปัญหาจุดบกพร่องของภาคการผลิต ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%8a-%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3/ http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%8a-%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3/#comments Fri, 10 Sep 2010 06:56:08 +0000 nstda-pr http://www.nstda.or.th/pr/?p=406 เรื่อง     สวทช.ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ  ผุดโครงการคลีนิกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SME  พร้อมช่วยแก้ปัญหาจุดบกพร่องของภาคการผลิต ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆ

     

    เรียน      บรรณาธิการข่าว/ผู้สื่อข่าว

     

    ด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (เอฟ ที ไอ) ร่วมมือจัดตั้ง “โครงการคลีนิกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระยะที่ 2” เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม,วินิจฉัยปัญหาทางเทคนิคด้านการผลิต ตลอดจนการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย อันเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

    โดยตั้งเป้าจัดกิจกรรม Road Show ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมกว่า 200 โครงการ เพื่อสนับสนุนแก่สมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ เอฟ ที ไอ ที่ประกอบธุรกิจในระดับ SMEs  ในการยกระดับเทคโนโลยีของภาคเอกชน โดยผ่านกลไก โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (โครงการ ITAP) ของ สวทช. ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการเพื่อพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ

    การนี้ จึงใคร่ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนทุกท่านเข้าร่วมทำข่าว/สกรู๊ป ในงาน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการคลีนิกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระยะที่ 2” โดยมี ฯพณฯ วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี  พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ. สวทช. และนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย      ในวันจันทร์ ที่ 13 กันยายน  2553 เวลา 10.30 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ

     

    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์ และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  โทรศัพท์ 02-644-8150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-668-1064,  081-988-6614, 084-529-0006  และ 084-910-0850

    ]]>
    http://www.nstda.or.th/pr/index.php/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%8a-%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3/feed/ 0