NSTDA PR สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2012-11-12T08:08:43Z http://www.nstda.or.th/pr/index.php/feed/atom/ WordPress nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[สวทช.แถลงมอบทุน 20 ล้านแก่ 2 นักวิจัยแกนนำ สานต่องานวิจัยเพื่อพัฒนาด้านทันตกรรม และด้านการเกษตร หวังจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคม และประเทศชาติ]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=832 2012-11-12T08:08:43Z 2012-11-12T08:08:43Z

สวทช.แถลงมอบทุน 20 ล้านแก่ 2 นักวิจัยแกนนำ สานต่องานวิจัยเพื่อพัฒนาด้านทันตกรรม และด้านการเกษตร หวังจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคม และประเทศชาติ

12   พ.ย. 2555  ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี :  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดแถลงข่าวและพิธีมอบทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2555  แก่ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ภวสันต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ภายใต้โครงการ การพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อฟันเพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูกและเนื้อเยื่อปริทันต์ และรศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้โครงการเทคโนโลยีก่อกลายพันธุ์ทั้งจีโนมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า

“ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น  ดังนั้นการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัย เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สวทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำหน้าที่ในการหากลไก และนโยบาย ที่เอื้อให้นักวิจัยได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ และสร้างผลงานวิจัยที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศกลไกหนึ่งที่ สวทช. ได้ดำเนินการ คือ การให้ทุนวิจัยขนาดใหญ่เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง  แก่นักวิจัยที่มีขีดความสามารถสูง ได้มาทำงานร่วมกัน ใน “โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ”   จากการดำเนินการของโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าว นับเป็นแนวทางที่ได้ผลดี ที่สร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์กับประเทศ ทั้งในด้านสาธารณสุข ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพให้กับประเทศอีกด้วย

เมื่อต้นปี 2555 สวทช. ได้เปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการทุนนักวิจัยแกนนำ และได้รับข้อเสนอโครงการ จากนักวิจัยชั้นนำและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ จากหลากหลายสถาบันทั่วประเทศ จำนวน 16 โครงการ ซึ่งทุกโครงการได้ผ่านการพิจารณา จากทั้งผู้เชี่ยวชาญในสาขา และคณะกรรมการทุนนักวิจัยแกนนำ  โดยการพิจารณาคัดเลือก จากคุณสมบัติ และศักยภาพของหัวหน้าโครงการที่จะนำทีมวิจัยให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ทั้งในด้านการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มวิจัย การพัฒนากำลังคน รวมไปถึงมีศักยภาพในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิชาการ เข้ากับภาคการผลิตและบริการ โดยสามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด จนมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณประโยชน์ หรือเชิงพาณิชย์ได้

สำหรับทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2555 ท่านแรก ศ.ดร.ทพ.ประสิทธิ์ ภวสันต์ สังกัด คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อฟันเพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูกและเนื้อเยื่อปริทันต์” รับทุนนักวิจัยแกนนำ จำนวน 20,000,000 บาท

ศ.ดร.ทพ.ประสิทธิ์ ภวสันต์ เป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนให้กับการทำวิจัย โดยเป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยด้าน cell and tissue engineering  ของประเทศ และเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในวงการทันตแพทย์ของประเทศ โครงการนี้มีจะพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อฟัน โดยมุ่งเน้นที่กระบวนการในการควบคุมภาวะความเป็นเซลล์ต้นกำเนิด และการแปรสภาพเป็นเซลล์สร้างกระดูก เพื่อที่จะสามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกำเนิดในห้องปฏิบัติการให้ได้จำนวนมากเพียงพอต่อการนำไปใช้งานทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก รวมทั้งพัฒนาโครงร่างเทียมที่เหมาะสม และศึกษากลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีต่อเซลล์ต้นกำเนิดจากฟันเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งผลงานดังกล่าวจะเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ของเซลล์ต้นกำเนิด อันจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางคลีนิกต่อไปได้

ท่านที่สอง รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร สังกัด ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากโครงการวิจัย เรื่อง “เทคโนโลยีก่อกลายพันธุ์ทั้งจีโนมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” รับมอบทุนนักวิจัยแกนนำ จำนวน 19,930,000 บาท

สำหรับ รศ.ดร.อภิชาติ   วรรณวิจิตร เป็นนักวิจัยข้าวระดับนานาชาติ มีประสบการณ์การทำงานวิจัยทางพันธุศาสตร์พืชไร่ มานานกว่า 20 ปี สร้างผลงานในรูปแบบการออกพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2549 และรางวัลเกียรติคุณบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2555 โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสามารถในการต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชในระดับสูง พอที่เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้สารควบคุมศัตรูพืชอีกต่อไป ข้าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังต้อง สามารถอยู่รอดให้ผลผลิตได้แม้เกิดมหาอุทกภัย ต้องผจญกับอุณหภูมิสูง/ต่ำกว่าปกติ สภาวะแห้งแล้งและดินเค็ม นอกจากนี้ข้าวพันธุ์กลายทั้งที่ถูกค้นพบแล้วและกำลังถูกค้นพบใหม่ จะเป็นแหล่งความรู้ที่ทำให้เกิดความเข้าใจพันธุกรรมของข้าว ในการค้นหาและเข้าใจหน้าที่ของยีนใหม่ๆ ได้อย่างชัดเจน การเตรียมความพร้อมเหล่านี้ จะเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อรองรับปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้น นับว่ามีประโยชน์มากสำหรับประเทศไทย

ด้าน ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เลขานุการทุนนักวิจัยแกนนำ  สวทช.กล่าวเสริมว่า”สวทช. ได้ให้การสนับสนุนทุนนักวิจัยแกนนำตั้งแต่ปี 2552-2554 ไปแล้ว ทั้งสิ้น 5 โครงการ ผลจากการดำเนินงานของโครงการแต่ละโครงการมีผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3 ต้นแบบ คือ ชุดตรวจฮีโมโกลบินอี แบบรวดเร็ว ข้าวกึ่งสำเร็จรูป และข้าวกล้องงอกที่ผลิตจากข้าวเปลือก ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 100 เรื่อง สิทธิบัตร 9 เรื่อง มีการผลิตบุคลากรในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และหลังปริญญาเอก รวม 165 คน อีกทั้งยังมีการนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อีกหลากหลายผลงานแล้ว”

]]>
0
nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[“สวทช.” และ “สามารถ” หนุน 26 ผลงานเด่นมอบทุน วิจัยกว่าครึ่งล้าน สร้าง “เถ้าแก่น้อย เทคโนโลยี”]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=826 2012-11-05T09:39:06Z 2012-11-05T09:39:06Z

5 พ.ย. 2555 ณ โรงแรมพูลแมน แบงก์กอก คิง เพาเวอร์ : สวทชและกลุ่มสามารถ ร่วมสร้างนักธุรกิจเทคโนโลยีป้อนสู่ตลาด ผ่านโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี มุ่งส่งเสริมความรู้ พัฒนาทักษะ หวังขยายฐานนักธุรกิจรุ่นใหม่ในสายเทคโนโลยี ล่าสุด มีจำนวนผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 26 ผลงานเด่น พร้อมรับทุนพัฒนาผลงานต้นแบบ ทุนละ 20,000 บาท รวมมูลค่ากว่า  500,000 บาท

นายวรวัจน์  เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “ การจะผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและ เจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลกได้นั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้เราไปถึงจุดหมายนั้น ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทตคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ในการมุ่งพัฒนาความสามารถอันเหนือ ชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการเกษตรและภาค อุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้ดีและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เริ่มตั้งแต่การสร้างผลงานวิจัยเชิงลึกหรือเรียกว่างานวิจัยต้นน้ำ เพื่อการนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ ตลอดจนการผลักดันและส่งเสริมให้นำผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์

สำหรับการร่วมมือกับ พันธมิตรในภาคเอกชน อย่างกลุ่มบริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีแนวคิดร่วมกันในการสร้างเถ้าแก่น้อย และได้ให้การสนับสนุนโครงการในด้านต่างๆ รวมถึงการให้ทุนสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบของน้องๆ เถ้าแก่น้อยในอนาคต ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าชื่นชม และแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาประเทศในยุคปัจจุบันนั้น ภาครัฐไม่ได้เป็นคนผลักดันเพียงอย่างเดียว หากแต่มีภาคเอกชนซึ่งร่วมด้วยอย่างเป็นปึกแผ่น ทั้งการให้องค์ความรู้ lesson learned จริงๆ ในการประกอบธุรกิจจนประสบความสำเร็จกับน้องๆ และการสนับสนุนเงินทุนให้น้องได้สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อการนำเข้าสู่ตลาด การได้นำผลิตภัณฑ์ออกขายกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของน้องๆ ในโครงการเถ้าแก่น้อยได้จริง นอกจากนี้การที่ สวทช. นำที่ปรึกษา และการให้คำแนะนำเพิ่มเติมทางเทคนิคในการปรับผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น เหมาะและพร้อมสู่ตลาดมากขึ้น ก็จะนำมาซึ่ง การปรับปรุง และปรับตัวของโครงการหรือผลิตภัณฑ์ทั้ง 26 โครงการเพื่อให้สามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง สามารถได้ลูกค้ารายแรกได้จริงอีกด้วย

นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าจากความร่วมมือระหว่าง Samart Innovation Awards โดย “กลุ่ม บริษัทสามารถ” และ “ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ” ภายใต้ “สวทช.” ในการเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่นักพัฒนาด้าน เทคโนโลยีรุ่นใหม่ ด้วยการจัดโครงการ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี” ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยจุดเด่นของโครงการฯ นอกจากจะเป็นการประกวดแนวคิดและผลงานทางด้านเทคโนโลยีที่มีคุณค่าทาง เศรษฐกิจและทางสังคมแล้ว ยังมีการเสริมความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นและดำเนิน ธุรกิจ รวมทั้ง ที่สำคัญ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ชนะการประกวดนำเสนอแผนงานต่อภาคธุรกิจเอกชนที่มีความสนใจ และมีความพร้อมในการร่วมลงทุนอีกด้วย โดยหลังจากเปิดตัวโครงการฯ ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีกระแสตอบรับที่ดีและมีจำนวนผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้นถึง 120 ผลงาน และผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายจำนวน 26 ผลงาน ซึ่งกลุ่มบริษัทสามารถจะให้การสนับสนุนทุนวิจัย เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 26 ทุนๆ ละ 20,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 520,000 บาท ทั้งนี้ การนำเสนอผลงานในรอบสุดท้ายจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค 55 และประกาศผลในต้นปีหน้า ทั้งนี้ผู้ชนะเลิศยังจะได้รับเงินรางวัลจาก Samart Innovation Awards 2012  จำนวน  200,000 บาทอีกด้วย

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยถึงความเข้มข้นในการตัดสินว่า “การคัดเลือกผู้เข้ารอบ 26 ทีมเพื่อให้ได้รับทุนวิจัยฯนั้น ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากคณะกรรมผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ทั้งด้านการตลาด การเงิน และเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถพัฒนา Idea to market ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยแบ่งผลงานที่ได้รับทุนฯเป็น 3 ประเภท  ได้แก่ ประเภท Digital Content & Mobile Application จำนวน 7 โครงการ ประเภท Enterprise Software จำนวน 9 โครงการ และประเภท Machinery, Material & Medical Technology จำนวน 10 โครงการ

จากนี้ไปทั้ง 26 ทีมที่ได้รับทุนฯ  จะต้องผลิตผลงานต้นแบบหรือ Product Prototype ของตนเองให้สำเร็จ สามารถทำงานได้จริงตามที่ได้ออกแบบไว้และตรงกับความต้องการของตลาดให้มากที่สุด โดย สวทช.จะนำ กลไกต่างๆที่สวทช.มีช่วยสนับสนุนให้ผลงานสามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ ได้จริง อาทิเช่น การเชื่อมโยงผลงานต่าง ๆ เข้าสู่ศูนย์แห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสวทช. เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศของผลิตภัณฑ์ , การพาออกสู่ตลาดผ่านงานแสดงสินค้าด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม, การให้ความรู้เพื่อเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และการเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ผ่านกลไกศูนย์บ่มเพาะธุรกิจของสวทช.เป็นต้น

โครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ที่สวทช.ร่วมกับกลุ่มบริษัทสามารถนี้ เป็นงานที่ท้าทายและสำคัญมาก เป็นเสมือนการดึงพลังคนรุ่นใหม่ ไฟแรง ที่มีความรู้ ความสามารถ ให้เติบโตเป็นเจ้าของธุรกิจได้เร็วขึ้น อันจะส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการด้าน เทคโนโลยีของไทย” ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวปิดท้าย

]]>
0
nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[สวทช./ก.วิทย์ฯ เปิดเวที NSTDA Investors’ Day 2012 โชว์นวัตกรรมเด่นแห่งปี ดึงนักลงทุนพบนักวิจัยต่อยอดธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ หวังผลักดันเศรษฐกิจไทย สู่AEC พร้อมเผยการจัดอันดับ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=820 2012-09-21T02:45:35Z 2012-09-21T02:45:35Z สวทช./ก.วิทย์ฯ  เปิดเวที NSTDA Investors’ Day 2012  โชว์นวัตกรรมเด่นแห่งปี
ดึงนักลงทุนพบนักวิจัยต่อยอดธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์  หวังผลักดันเศรษฐกิจไทย สู่ AEC พร้อมเผยการจัดอันดับ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ
20 กันยายน 2555 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ : พลเอกยุทธศักดิ์    ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน NSTDA Investors’ Day  ประจำปี 2555  ภายใต้แนวคิด “นักวิจัยคิด นักธุรกิจลงทุน หนุนเศรษฐกิจไทยสู่ AEC” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลงานวิจัยออกสู่ภาคอุตสาหกรรมและส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ด้วยการเปิดเวทีนำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพพร้อมสำหรับการลงทุนหรือนำไปต่อยอดได้เสนอต่อผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ซึ่งปีนี้ สวทช.นำเสนอ 5 ผลงานเด่น ประกอบด้วย Do–Dee ชุดทดสอบออกซิเจนละลายน้ำแบบพกพา , แผ่นรักษาสิว , Eco – Catal ตัวเร่งปฎิกิริยาของแข็งจากเปลือกไข่เพื่อการผลิตไบโอดีเซล ,  F4 – KIT ชุดเครื่องตรวจจับจุลชีพ ฯ และ DustDETEC เครื่องวัดวิเคราะห์ขนาดฝุ่นละอองฯ นอกจากนี้ยังมีผลงานเด่นจาก 4 หน่วยงานพันธมิตร อาทิ ผลิตภัณฑ์นวดสลายเซลล์ลูไลท์, คลังแอนติบอดี้มนุษย์ เทคโนโลยีการผลิตโลหะกึ่งของแข็งด้วยการปล่อยฟองแก๊ส(GISS) และระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร
นอกจาก 5 ผลงานเด่นแล้ว สวทช.ยังมีอีก 43 ผลงาน ที่ผ่านการคัดสรรและมีศักยภาพพร้อมสำหรับการลงทุนมาจัดแสดงด้วย และภายในงานยังมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง ความสำคัญของตลาดทุนกับการขับเคลื่อนธุรกิจเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)  และการจัดอันดับ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ  โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช.
โดย พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันผู้ประกอบการไทยให้ก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เนื่องจากมองว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมนั้นสามารถนำไปเชื่อมเพื่อลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนได้  ทั้งนี้รัฐบาลเองได้พยายามเดินหน้าผนึกกำลังความเข้มแข็งให้กับกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสามารถนำมาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาโรคระบาด รวมถึงแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ยกระดับทักษะ คุณภาพของกลุ่มประชาคมอาเซียนในการรับมือกับความผันผวนของสภาพ ภูมิอากาศ หรือภัยพิบัติต่างๆ ได้อีกด้วย
ทั้งนี้งานดังกล่าวที่จัดขึ้น โดย สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาบุคลากรในการสร้างงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและชุมชน และผลักดันให้เกิดการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีซึ่งสนับสนุนงานวิจัยที่เป็นของคนไทย โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ และใช้ความเจริญทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นกลับมาพัฒนาสังคม ชุมชน และผู้ด้อยโอกาสด้วย”
ด้าน ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “นโยบายหลักของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ซึ่งอาจเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาขั้นสูง เพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคการบริการ โดยเฉพาะในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยที่ สวทช. ซึ่งเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การต่อยอดหรือขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ ผ่านการสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อเร่งนำผลงานวิจัยออกสู่ภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ผ่านการจัดกิจกรรม NSTDA Investors’Day  ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  ซึ่งเป็นการนำผลงานวิจัยที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการลงทุนมาจัดแสดง และเป็นเวทีให้แก่นักวิจัยนำเสนอผลงานต่อนักลงทุนและผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ภาคธุรกิจมาผนึกกำลังกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำวิจัยและพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ ให้สามารถสร้างเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ และสร้างธุรกิจเทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้”
ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเสริมว่า “การจัดงานในครั้งนี้ สวทช. จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้ว ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนที่สนใจเข้าเจรจาธุรกิจเป็นจำนวนมาก และบางผลงานได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคเอกชนไปแล้ว และบางผลงานอยู่ระหว่างการพิจารณาลงทุนร่วมกับภาคเอกชน โดยมีตัวอย่างความสำเร็จของบริษัทวินเซนส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มองเห็นศักยภาพทางการตลาดเชิงพาณิชย์ นำไปผลิตเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ i-sensors เพื่อใช้วัดระดับค่าความเป็นกรดด่างของคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติ โดยที่ระบบจะแสดงค่าที่วัดได้จาก Sensors ต่างๆ และสามารถแสดงผลบน Google earth ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง และยังเป็นก้าวแรกของความสำเร็จในการจัดเวทีให้นักวิจัยไทยได้นำเสนอผลงานแก่นักลงทุนและนักอุตสาหกรรม โดยนอกจากจะเป็นโอกาสให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งเวทีที่เปิดให้นักวิจัยได้พบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักลงทุน นักอุตสาหกรรม เพื่อนำไปพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของตลาด หรือภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ความสำเร็จในการจัดงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานพันธมิตร และผู้สนับสนุนการจัดงานหลายบริษัท หลายองค์กร ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี อาทิ สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เป็นต้น
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงาน จัดให้มีการเจรจาธุรกิจในลักษณะแบบตัวต่อตัว หรือ One on One Matching เพื่อให้เกิดการลงทุนจริงในเชิงพาณิชย์ และกิจกรรมนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีต่อนักลงทุนในช่วง Investment Pitching โดยเฉพาะการนำเสนอ 5 ผลงานเด่นจาก สวทช. ที่มีศักยภาพพร้อมสำหรับการลงทุน รวมถึงการจัดโหวตให้คะแนนผลงานที่น่าลงทุนมากที่สุดและผลงานที่นำเสนอได้ดีที่สุดอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยถึงการจัดอันดับ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง (10 Technologies to Watch) รวมถึงการเสวนาให้ความรู้ในหัวข้อ “ธุรกิจมั่งคั่งด้วยเทคโนโลยี รับมือเปิดเสรีทางการค้า” และ “นักวิจัยคิด นักธุรกิจลงทุน หนุนเศรษฐกิจไทยสู่ AEC”  โดยเชื่อว่ากิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น จะสร้างความเชื่อมั่นและทำให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตลอดจนผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและพร้อมต่อการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้ได้”  ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว.
************************************
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จุดประกายความคิด สร้างโอกาสธุรกิจไทย ส่งมอบผลงานวิจัย พัฒนาไทยสู่สังคมฐานความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

20 กันยายน 2555 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ : พลเอกยุทธศักดิ์    ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน NSTDA Investors’ Day  ประจำปี 2555  ภายใต้แนวคิด “นักวิจัยคิด นักธุรกิจลงทุน หนุนเศรษฐกิจไทยสู่ AEC” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลงานวิจัยออกสู่ภาคอุตสาหกรรมและส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ด้วยการเปิดเวทีนำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพพร้อมสำหรับการลงทุนหรือนำไปต่อยอดได้เสนอต่อผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ซึ่งปีนี้ สวทช.นำเสนอ 5 ผลงานเด่น ประกอบด้วย Do–Dee ชุดทดสอบออกซิเจนละลายน้ำแบบพกพา , แผ่นรักษาสิว , Eco – Catal ตัวเร่งปฎิกิริยาของแข็งจากเปลือกไข่เพื่อการผลิตไบโอดีเซล ,  F4 – KIT ชุดเครื่องตรวจจับจุลชีพ ฯ และ DustDETEC เครื่องวัดวิเคราะห์ขนาดฝุ่นละอองฯ นอกจากนี้ยังมีผลงานเด่นจาก 4 หน่วยงานพันธมิตร อาทิ ผลิตภัณฑ์นวดสลายเซลล์ลูไลท์, คลังแอนติบอดี้มนุษย์ เทคโนโลยีการผลิตโลหะกึ่งของแข็งด้วยการปล่อยฟองแก๊ส(GISS) และระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร

นอกจาก 5 ผลงานเด่นแล้ว สวทช.ยังมีอีก 43 ผลงาน ที่ผ่านการคัดสรรและมีศักยภาพพร้อมสำหรับการลงทุนมาจัดแสดงด้วย และภายในงานยังมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง ความสำคัญของตลาดทุนกับการขับเคลื่อนธุรกิจเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)  และการจัดอันดับ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ  โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช.

โดย พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันผู้ประกอบการไทยให้ก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เนื่องจากมองว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมนั้นสามารถนำไปเชื่อมเพื่อลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนได้  ทั้งนี้รัฐบาลเองได้พยายามเดินหน้าผนึกกำลังความเข้มแข็งให้กับกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสามารถนำมาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาโรคระบาด รวมถึงแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ยกระดับทักษะ คุณภาพของกลุ่มประชาคมอาเซียนในการรับมือกับความผันผวนของสภาพ ภูมิอากาศ หรือภัยพิบัติต่างๆ ได้อีกด้วย

ทั้งนี้งานดังกล่าวที่จัดขึ้น โดย สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาบุคลากรในการสร้างงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและชุมชน และผลักดันให้เกิดการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีซึ่งสนับสนุนงานวิจัยที่เป็นของคนไทย โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ และใช้ความเจริญทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นกลับมาพัฒนาสังคม ชุมชน และผู้ด้อยโอกาสด้วย”

ด้าน ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “นโยบายหลักของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ซึ่งอาจเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาขั้นสูง เพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคการบริการ โดยเฉพาะในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยที่ สวทช. ซึ่งเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การต่อยอดหรือขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ ผ่านการสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อเร่งนำผลงานวิจัยออกสู่ภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ผ่านการจัดกิจกรรม NSTDA Investors’Day  ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  ซึ่งเป็นการนำผลงานวิจัยที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการลงทุนมาจัดแสดง และเป็นเวทีให้แก่นักวิจัยนำเสนอผลงานต่อนักลงทุนและผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ภาคธุรกิจมาผนึกกำลังกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำวิจัยและพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ ให้สามารถสร้างเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ และสร้างธุรกิจเทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้”

ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเสริมว่า “การจัดงานในครั้งนี้ สวทช. จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้ว ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนที่สนใจเข้าเจรจาธุรกิจเป็นจำนวนมาก และบางผลงานได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคเอกชนไปแล้ว และบางผลงานอยู่ระหว่างการพิจารณาลงทุนร่วมกับภาคเอกชน โดยมีตัวอย่างความสำเร็จของบริษัทวินเซนส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มองเห็นศักยภาพทางการตลาดเชิงพาณิชย์ นำไปผลิตเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ i-sensors เพื่อใช้วัดระดับค่าความเป็นกรดด่างของคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติ โดยที่ระบบจะแสดงค่าที่วัดได้จาก Sensors ต่างๆ และสามารถแสดงผลบน Google earth ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง และยังเป็นก้าวแรกของความสำเร็จในการจัดเวทีให้นักวิจัยไทยได้นำเสนอผลงานแก่นักลงทุนและนักอุตสาหกรรม โดยนอกจากจะเป็นโอกาสให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งเวทีที่เปิดให้นักวิจัยได้พบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักลงทุน นักอุตสาหกรรม เพื่อนำไปพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของตลาด หรือภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ความสำเร็จในการจัดงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานพันธมิตร และผู้สนับสนุนการจัดงานหลายบริษัท หลายองค์กร ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี อาทิ สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เป็นต้น

ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงาน จัดให้มีการเจรจาธุรกิจในลักษณะแบบตัวต่อตัว หรือ One on One Matching เพื่อให้เกิดการลงทุนจริงในเชิงพาณิชย์ และกิจกรรมนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีต่อนักลงทุนในช่วง Investment Pitching โดยเฉพาะการนำเสนอ 5 ผลงานเด่นจาก สวทช. ที่มีศักยภาพพร้อมสำหรับการลงทุน รวมถึงการจัดโหวตให้คะแนนผลงานที่น่าลงทุนมากที่สุดและผลงานที่นำเสนอได้ดีที่สุดอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยถึงการจัดอันดับ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง (10 Technologies to Watch) รวมถึงการเสวนาให้ความรู้ในหัวข้อ “ธุรกิจมั่งคั่งด้วยเทคโนโลยี รับมือเปิดเสรีทางการค้า” และ “นักวิจัยคิด นักธุรกิจลงทุน หนุนเศรษฐกิจไทยสู่ AEC”  โดยเชื่อว่ากิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น จะสร้างความเชื่อมั่นและทำให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตลอดจนผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและพร้อมต่อการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้ได้”  ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว.

************************************

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จุดประกายความคิด สร้างโอกาสธุรกิจไทย ส่งมอบผลงานวิจัย พัฒนาไทยสู่สังคมฐานความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

]]>
0
nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[ก.วิทย์ฯ ติดปีกเศรษฐกิจไทยสู่ AEC จัด งาน NSTDA Investors’ Day 2012 โชว์นวัตกรรมเด่นแห่งปี ดึงนักลงทุนพบนักวิจัยต่อยอดธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=814 2012-09-11T02:48:02Z 2012-09-11T02:48:02Z

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 สำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดแถลงข่าวเปิดตัวงาน NSTDA Investors’ Day  ประจำปี 2555 ณ ห้องโถงกระทรวงวิทยาศาสตร์ ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยงานดังกล่าวมีกำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดี ที่ 20 กันยายน 2555 เวลา 08.00-16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิด“นักวิจัยคิด นักธุรกิจลงทุน หนุนเศรษฐกิจไทยสู่ AEC” ทั้งนี้ เพื่อให้กลุ่มนักธุรกิจเป้าหมายมีโอกาสเข้าถึงผลงานของนักวิจัยไทย ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ และสื่อถึงความสำคัญของการสร้างธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับผล กระทบของการเปิดเสรีทางการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประธานในการแถลงข่าวครั้งนี้เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีนโยบายเร่งด่วนที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐาน ขององค์ความรู้ โดยเฉพาะการเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ขณะเดียวกันก็มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนและผลักดันผลงานเหล่านั้น ให้เป็นที่จับต้องได้ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีออกสู่ภาคเอกชน เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการที่เกื้อหนุนเศรษฐกิจ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  โดยเฉพาะในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง เช่นสาขาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการลดภาวะโลกร้อน ฯลฯ เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนที่จะมาถึงในอีก 3 ปีข้างหน้า

“เราต้องเร่งสร้างผล งานวิจัยเพื่อนำออกสู่อุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เราคิดขึ้นมาได้ หรือจะเป็นการต่อยอดงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว แต่ยังไม่ลงตัว หรือไม่ตรงกับความต้องการของตลาด หรือไม่สามารถผลิตออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ เราก็สามารถเอามาต่อยอดให้ทันสมัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ โดยให้ตอบรับกับกระแสสังคม” ดร. ปลอดประสพฯ กล่าว

ดร. ปลอดประสพฯ ยังระบุอีกว่าการตอบรับจากภาคเอกชนจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีและเป็นตัว กระตุ้นให้นักวิจัยเกิดความภูมิใจและเข้าใจความต้องการของภาค อุตสาหกรรมมากขึ้น อันจะนำไปสู่การปรับกระบวนความคิดในการคิดค้นงานวิจัยที่สามารถนำ ออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ง่ายขึ้นและมีต้นทุนที่ถูกลง  ซึ่งจะเป็นการเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้ก้าวไปข้าง หน้าอย่างรวดเร็ว

ด้าน ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. ได้เปิดเผยถึงภาพรวมของการจัดงาน NSTDA Investors’ Day ว่า สวทช. ได้จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นประจำทุกปี และจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในปีนี้  โดยมีเจ้าภาพร่วม หน่วยงานพันธมิตร และผู้สนับสนุนการจัดงานซึ่งประกอบด้วย สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุรนารี (มทส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)

ดร. ทวีศักดิ์ฯ ยังกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน NSTDA Investors’ Day ว่างานนี้จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ได้รับการ คัดเลือกแล้วว่ามีศักยภาพสูงในการลงทุน โดยจุดเด่นภาย ในงานปีนี้ได้แก่ การเปิดให้มีการ เจรจาธุรกิจแบบ One on One Matching เพื่อ ให้เกิดการลงทุนจริงในเชิงพาณิชย์ และกิจกรรมนำเสนอผลงาน วิจัยและเทคโนโลยีต่อนักลงทุนในช่วง Investment Pitching โดย เฉพาะการนำเสนอ 5 ผลงานเด่นจาก สวทช. ที่มีศักยภาพพร้อมสำหรับการลงทุนในปีนี้ซึ่งได้แก่ แผ่นแปะรักษาสิว (Q ACNES) ตัว เร่งปฏิกิริยาของแข็งจาก เปลือกไข่เพื่อการผลิตไบโอดีเซล (Eco–Catal) เครื่อง มือตรวจวินิจฉัยใส้เดือนฝอย (F4-KIT) (From Farm to Fine Fork KIT ) ชุดทดสอบออกซิเจน ละลายน้ำแบบพกพา (DO-DEE) และเครื่องวัดและ วิเคราะห์ขนาดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (DustDETEC)

สำหรับผลงานที่น่า สนใจจากหน่วยงานพันธมิตรอื่นๆ ได้แก่ ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร เทคโนโลยีการผลิตโลหะกึ่งของแข็งด้วยการปล่อยฟองแก๊ส คลังแอนติบอดี้มนุษย์ และครีมนวดสลายเซลลูไลท์ เป็นต้น นอกจากนี้ภายในงานยังมีโซนการจัดแสดงนิทรรศการผลงานเทคโนโลยีต่างๆ อีกกว่า 27 ผลงาน เพื่อให้นักลงทุนได้เลือกสรร หากสนใจสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับนักวิจัยได้ ณ บูธนั้นๆ รวมทั้งโซนของการจัดจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีของ สวทช. ทั้งนี้ภายในงานยังสามารถร่วมรับฟังการ บรรยายพิเศษเรื่อง “ความสำคัญของตลาดทุนกับการขับเคลื่อนธุรกิจเทคโนโลยีของไทย” และ “10 เทคโนโลยีที่น่าจับ ตามองสำหรับธุรกิจ (10 Technologies to Watch)” รวม ทั้งการเสวนาให้ความรู้ในหัวข้อ “ธุรกิจมั่งคั่งด้วยเทคโนโลยี รับมือเปิดเสรีทางการค้า” และ “นักวิจัยคิด นักธุรกิจลงทุน หนุนเศรษฐกิจไทยสู่ AEC”

อนึ่งงาน NSTDA Investors’ Day ปีแรกจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2553 ภายใต้แนวคิด “ธุรกิจเทคโนโลยี ของดีสำหรับนักลงทุน” ปีที่สองจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2554 ภายใต้แนวคิด “ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ เพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน” โดยมีกลุ่มนักลงทุนและนักธุรกิจให้ความสนใจและมีกระแสตอบรับเพิ่มมากขึ้นทุกปี

]]>
0
nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[สวทช./นาโนเทค กระทรวงวิทย์ฯ ทุ่มกว่า 300 ล้านบาท จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี กับ 8 สถาบันการศึกษาชั้นนำ พร้อมต่อยอดองค์ความรู้งานวิจัยขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ หวังเป็นผู้นำด้านสินค้านาโนในอีก 10 ปีข้างหน้า]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=802 2012-08-30T02:52:04Z 2012-08-30T02:50:13Z

29 สิงหาคม 2555 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วม มือการจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโน เทคโนโลยี และร่วมปาฐกถาเรื่อง“นโยบาย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม”

โดยพิธีลงนามดังกล่าว สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ/นาโนเทค ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้ง 8 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี  จัดตั้ง”โครงการศูนย์ ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี”เพื่อสนับสนุน กลุ่มวิจัยที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางในการทำวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี ที่มีหัวข้อวิจัยสอดคล้องกับแผนที่นำทางด้านเทคโนโลยี (Technology Road Map : TRM) หรือการวิจัยแบบมุ่งเป้าของศูนย์นาโนเทค โดยเป็นการสร้างกลุ่มวิจัยที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง สามารถ นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของ ประเทศได้ในลักษณะ พันธมิตรระหว่างศูนย์แห่งชาติ และมหาวิทยาลัย เป็นโครงการในระยะเวลา 5 ปี  งบประมาณขั้นต้นในเฟสแรก 300 ล้านบาท

ดร.ปลอดประสพฯ รมว.วท. กล่าวว่า “โครงการ จัดตั้งศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโน เทคโนโลยี การดำเนินการครั้งนี้ถือว่าเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการผนึก กำลังความร่วมมือของหน่วยงานที่ทำ งานด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ ซึ่งทุกท่านคง ตระหนักดีว่า ปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกให้ความสำคัญสูง เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างมากสำหรับภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรม และเป็นปัจจัยสำคัญอย่าง หนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทยได้นำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม   สิ่ง ทอ อาหารและการเกษตร เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมทางการแพทย์ พราะฉะนั้นความร่วมมือของ 9 หน่วยงานเพื่อการทำงานวิจัยและพัฒนา ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการทำงานวิจัยและ พัฒนาที่ถูกต้อง และมีความสอดคล้องกับนโยบายการ พัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการกำหนดกรอบการทำงานการวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีไปในทิศ ทางเดียวกัน และอีกทั้งให้เกิดความสอดคล้องของการดำเนิน งานตามแผนที่กำหนดไว้ ในอีก 10 ปีข้างหน้าอีกด้วย

ดังนั้น คาดหวังว่าโครงการนี้ นอกจากงานวิจัยและพัฒนาแล้ว ยังถือว่าเป็นจุดเริ่มของความร่วมมือของหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อภาคการศึกษา และยังจะมีโอกาสขยายผลความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า ภาคเอกชน,ภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ อันจะทำให้เกิดความสำเร็จอย่างรวดเร็ว สามารถตอบโจทย์ของประเทศได้ในหลายมิติ และหวังว่าโครงการนี้ จะนำไปสู่การพัฒนานาโนเทคโนโลยีของชาติ สร้างสรรงานที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างสูง นำมาพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ให้มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก”

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล  ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเสริมว่า “สวทช.โดยศูนย์นาโน เทคในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีจึงจัดทำโครงการ ศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีร่วมกับสถาบันการ ศึกษา โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นสถาบันภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่มีศักยภาพในการผลิตผลงานและบุคลากรด้านนาโนเทคโนโลยีบน พื้นฐานของแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโน เทคโนโลยีเพื่อนำประโยชน์มา สู่ประเทศไทย เล็งเห็นว่า ในแต่ละมหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนญในการดำเนินงานวิจัยที่ หลากหลาย  การสนับสนุนให้เกิดการร่วมกลุ่มวิจัยเพื่อให้มีเป้าหมาย และทิศทางของงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันได้ของประเทศ  ซึ่งโครงการจัดตั้งศูนย์ร่วม วิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี ซึ่งสวทช.โดยศูนย์นาโนเทคร่วมดำเนินการกับศูนย์ความเป็นเลิศด้าน นาโนเทคโนโลยี ทั้ง 8 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่  การวินิจฉัย และรักษามะเร็ง,ด้าน อาหารและการเกษตร,ด้านระบบนำส่งยา,ด้านวัสดุนาโนขั้นสูงสำหรับการผลิตและกักเก็บพลังงาน,ด้านวัสดุนาโนเพื่อสมบัติเฉพาะทางขั้นสูง,ด้านวัสดุและระบบอัจฉริยะ,ด้าน วัสดุนาโนไฮบริดสำหรับพลังงานทางเลือก,ด้าน นาโนเทคโลยีสีเขียว และด้านอุปกรณ์นาโนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้กรอบความร่วมมือมีระยะเวลา 5 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมดกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิจัยขนาด ใหญ่ที่มีผลงานวิจัยพื้นฐานเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ และผลงานวิจัยแบบปรับประยุกต์ที่ตอบสนองภาคการผลิตของประเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพสูงสุดทางงานวิจัยและพัฒนาต่อการพัฒนาศักยภาพและ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป”

สวทช.เองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่ง มั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิง เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์  ทั้ง ในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัย ต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

]]>
1
nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[สวทช. กระทรวงวิทย์ ฯ เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะฯ หรือ TOPIC เน้นจับมือเอกชนสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง นำร่องด้วยนวัตกรรมใหม่บนนิตยสารและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะหรือ Smart Magazine และ Smart Packaging]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=796 2012-03-27T06:47:41Z 2012-03-27T06:47:41Z [singlepic id=613 w=320 h=240 float=]

27 มีนาคม 2555 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต ปทุมธานี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ (Thailand Organic @ Printed Electronics Innovation Center ) หรือ  TOPIC เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตนวัตกรรมใหม่ของอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ได้ ( Organic & Printed Electronics) เน้นความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยให้ก้าวสู่นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต   นำร่องด้วยนวัตกรรมใหม่บนนิตยสารและบรรจุภัณฑ์ด้วยหมึกพิมพ์นำไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทย หวังปลุกชีพอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งการโฆษณา สิ่งทอ บรรจุภัณฑ์พาณิชย์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเด็ก ฯลฯ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายตลาดการค้าให้ภาคธุรกิจไทยเติบโตได้อย่างมีศักยภาพทั้งในและต่างประเทศ โดย ดร.ทวีศักดิ์ฯ เปิดเผยว่า

“อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ถือเป็นอีกอุตสาหกรรมหลักในประเทศไทยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและมีศักยภาพเป็นผู้นำด้านการพิมพ์ของอาเซียน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันอุตสาหกรรมการพิมพ์กำลังประสบกับวัฏจักร “ขาลง” ซึ่งฉุดอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งระบบให้ตกต่ำอีกด้วย ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเร่งหาเทคโนโลยี ที่จะมาเปลี่ยนแปลงหรือสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านสิ่งพิมพ์อย่างเร่งด่วน สวทช. เองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ทั้งในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆ ที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สวทช.ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหมึกพิมพ์นำไฟฟ้า ที่สามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวต่างๆ ทำให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรวัสดุที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ Smart Packaging บรรจุภัณฑ์ที่สามารถแสดงข้อมูลหรือภาพเคลื่อนไหวบนหีบห่อ เพื่อแสดงวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ บอกคุณภาพของสินค้ากระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และสามารถส่งข้อมูลกลับมายังผู้ผลิตเพื่อการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในอนาคต หรือ หมึกพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถนำมาใช้พิมพ์ RFID ไปพร้อมกับการพิมพ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ ในราคาที่ถูกกว่า RFID แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ,  E-paper หรือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ที่ม้วนได้ สามารถติดลงบนพื้นผิวโค้งงอเพื่อใช้ในงานโฆษณา หรือสิ่งพิมพ์อัจฉริยะ  จอแสดงผลชนิด OLED ซึ่งนำไปเป็นส่วนประกอบในกล้องดิจิตอลหรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น มีสีสันงดงาม ใช้พลังงานน้อยลง และต้นทุนการผลิตที่ต่ำ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นฟิล์มบาง น้ำหนักเบาสามารถคลุมลงบนหลังคาหรือห่อหุ้มอาคารแทนการใช้ฟิลม์กรองแสงและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในตัว ,อาคารประหยัดพลังงาน ที่นำเทคโนโลยีกระจกอัจฉริยะ ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณแสงและความร้อนจากภายนอกที่จะส่องเข้าไปในตัวอาคารในระดับที่ต้องการ ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน หรือแม้แต่นวัตกรรมทางการแพทย์เช่น  เซ็นเซอร์ตรวจวัดน้ำตาลและไขมันในเลือด และเซ็นเซอร์เพื่อการตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น สารตกค้างในอาหาร  ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างเซ็นเซอร์ที่มีราคาถูก ใช้แล้วทิ้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบทำให้การบริโภคอาหารมีความปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ จะเป็นศูนย์รวมเครือข่ายการทำงานระหว่างภาครัฐ และเอกชน โดยจะมีห้องปฏิบัติการ และบริการทางเทคนิค เพื่อบริการแก่ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้คำปรึกษาในการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยหมึกอิเล็กทรอนิกส์ หรือหมึกนำไฟฟ้า  นอกจากนี้ ไทยยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Organic Electronics Association หรือ O-EA ซึ่งเป็นสมาคมด้านอิเล็กทรอนิกส์และอินทรีย์ระดับโลกเพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างกลุ่มสมาชิกของ O-EA ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ไทยมีฐานข้อมูล และเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยที่กว้างมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการปฏิวัติวงการพิมพ์ของไทยให้ก้าวไปสู่โลกอนาคต ซึ่งผมมั่นใจว่าภาคธุรกิจที่เข้ามาร่วมกับ สวทช.จะได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่นี้ที่สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการได้หลากหลายให้สามารถแข่งขันได้  ตลอดจนเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภคได้เข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตอีกด้วย” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

ภาคเอกชนรายใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ call center สวทช. 0 2564 8000

]]>
0
nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[สวทช. ประกาศผลรางวัล “นวัตกรรมไทย สู้ภัยน้ำท่วม” อาทิ ระบบแจ้งขอความช่วยเหลือผ่าน GPS และ Social Network, หลอดดูดเซรามิกกรองน้ำดื่มฉุกเฉิน, ลำดีอินโนฟู้ดส์ อาหารพร้อมบริโภค ฯลฯ เป็นต้น หวังนำผลงานสานต่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในอนาคต]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=784 2012-03-26T08:58:08Z 2012-03-26T08:55:37Z [singlepic id=610 w=320 h=240 float=]

26 มีนาคม 2555 ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย.ปทุมธานี มีการจัดแถลงข่าวประกาศผลรางวัลโครงการ “นวัตกรรมไทย สู้ภัยน้ำท่วม” ขึ้น โดย สวทช. ได้คัดเลือกและจัดพิธีมอบรางวัลให้แก่นวัตกรรมเพื่อรับมือน้ำท่วมที่มีความโดดเด่นทั้งด้านเทคนิค การใช้งาน และศักยภาพทั้งเชิงพาณิชย์ และเชิงสังคม ผู้แข่งขันที่ผลงานผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. ผ่านกลไกสนับสนุนการนำผลงานต่างๆออกสู่เชิงพาณิชย์ของ สวทช. รวมถึงรางวัลเพื่อเป็นการให้กำลังใจและเชิดชูเกียรติแก่ผู้คิดค้นนวัตกรรมที่สร้างคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น อันจะช่วยสร้างโอกาสและกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานวัตกรรมในระดับชาติต่อไป

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล กล่าวว่า “มหาอุทกภัยครั้งที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร การคมนาคมขนส่ง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ เกิดปัญหาโรคระบาดและความเครียดของประชาชน ในสถานการณ์ดังกล่าว การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นเรื่องเร่งด่วนและจำเป็นที่จะต้องแข่งขันกับเวลา ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลครั้งนี้สามารถตอบโจทย์ได้ครบทุกเงื่อนไข แต่งานนวัตกรรมจะเกิดขึ้นและจบไป หากไม่ได้รับการเผยแพร่ และพัฒนาต่อยอดให้ออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ สวทช. จึงขอใช้เวทีการจัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2512 ในครั้งนี้ เป็นเวทีแสดงความชื่นชม และส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ให้ทรงคุณค่ายิ่งๆขึ้นไป “

ด้านคุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการส่งเสริมงานวิจัยพัฒนา การออกแบบ และวิศวกรรม จนสามารถถ่ายทอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สวทช. ได้จัดการประกวดในงานประชุมวิชาการประจำปีของ สวทช. ครั้งนี้ขึ้นเป็นปีแรก ในหัวข้อ “นวัตกรรมไทย สู้ภัยน้ำท่วม” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ได้ลงมือคิดและทำ รวมทั้งส่งเสริมให้งานนวัตกรรมชิ้นนั้นได้รับการต่อยอดออกสู่เชิงพาณิชย์ ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ผลรางวัลแบ่งเป็น รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล ได้รับโล่รางวัลจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี        รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้รับโล่รางวัลจาก สวทช.” โดยมีคณะกรรมการตัดสินรางวัลผู้ส่งคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน จากภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน ในครั้งนี้มีผลงานที่ได้รับรางวัลโครงการ “นวัตกรรมไทย สู้ภัยน้ำท่วม” จำนวน 3 ผลงาน จากผลงานที่ส่งเข้าประกวด ทั้งหมด 21 ผลงาน แบ่งเป็นผลงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน i lert you  โดย บริษัท อรุณสวัสดิ์ ดอท คอม จำกัด ระบบแจ้งขอความช่วยเหลือผ่าน GPS และ Social Network โดยอาศัยหลักการให้ผู้ที่มีโทรศัพท์มือถือสามารถส่ง Location ไปให้กับคนใน Social network เป็นทั้งผู้ขอความช่วยเหลือ และป้องกันดูแลเมื่อเกิดเหตุภัยอันตราย
·       รางวัลชมเชย ได้แก่ ผลงานหลอดดูดกรองน้ำดื่มฉุกเฉิน โดย ผศ.ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักการใช้กรองน้ำดื่มได้ทันที โดยการจุ่มหลอดดูดเซรามิกกรองน้ำดื่มฉุกเฉินในน้ำ
·       รางวัลชมเชย ได้แก่ ผลงานลำดีอินโนฟู้ดส์ จากบริษัท เชียงใหม่วนัสนันท์ จำกัดหลักการเป็นอาหารพร้อมบริโภค ไม่ต้องผ่านกระบวนการปรุงสุก สามารถรับประทานได้ทันที

สวทช.ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งสนับสนุนให้เกิดการกระตุ้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้แก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการรับมือน้ำท่วม ซึ่งเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สร้างความเสียหายอย่างมากในปี 2554 ในปีนี้ สวทช. จึงได้กำหนดจัดงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC 2012) ในหัวข้อ “รู้ สู้พิบัติภัยไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ระหว่างวันที่ 24-28 มีนาคม 2555 และได้จัดโครงการประกวด “นวัตกรรมไทย สู้ภัยน้ำท่วม” ขึ้น โดยคัดเลือกและมอบรางวัลให้แก่นวัตกรรมเพื่อรับมือน้ำท่วมที่มีความโดดเด่นทั้งด้านเทคนิค การใช้งาน และศักยภาพเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม รวมถึงเพื่อเป็นการให้กำลังใจและเชิดชูเกียรติแก่ผู้คิดค้นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์น้ำท่วมของประเทศ นอกจากนี้การเกิดขึ้นของนวัตกรรมเหล่านี้ ยังสามารถขยายผลไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ อันจะช่วยสร้างโอกาสและกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานวัตกรรมในระดับชาติต่อไป

]]>
0
nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[เอ็มเทค จับมือ มธ. จัด “โครงการผ่าตัดแก้ไขความพิการของกะโหลกศีรษะและใบหน้าให้กับผู้ป่วยยากไร้จำนวน 84 ราย”]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=778 2011-09-16T09:35:24Z 2011-09-16T09:35:24Z

เอ็มเทค จับมือ มธ. จัด “โครงการผ่าตัดแก้ไขความพิการของกะโหลกศีรษะและใบหน้าให้กับผู้ป่วยยากไร้จำนวน 84 ราย” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในวโรกาสทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา และเพื่อฉลองวาระครบรอบ 25 ปี การก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และวาระครบรอบ 24 ปี การก่อตั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

16 กันยายน 2554 ห้องประชุม M 506 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จัดการแถลงข่าวโครงการผ่าตัดแก้ไขความพิการของกะโหลกศีรษะและใบหน้าให้กับผู้ป่วยยากไร้จำนวน 84 ราย ในระยะเวลา 1 ปี โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา และฉลองวาระครบรอบ 25 ปี การก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และวาระครบรอบ 24 ปี การก่อตั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และรองศาสตราจารย์ ดร. กำพล รุจิวิชชญ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เกียรติเป็นประธานในการแถลงข่าวร่วมกับ รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศุภชัย ฐิติอาชากุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป และรศ.นพ.ภัทรวิทย์ รักษ์กุล หัวหน้าโครงการวิจัย

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา การใช้วัสดุฝังในจากเทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็วได้รับการตอบรับเป็นอย่างดียิ่งจากศัลยแพทย์ไทยในสถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ และมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่วัสดุฝังในจากเทคโนโลยีนี้แล้วมากกว่า 900 ราย จากสถานพยาบาลกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ (นับถึงสิงหาคม พ.ศ. 2554) โดยวัสดุฝังในที่ผลิตขึ้นโดยเอ็มเทคนี้มีมูลค่าอยู่ที่ 10,000 – 50,000 บาท (ราคาขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของวัสดุฝังใน) ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าชิ้นงานที่สั่งจากต่างประเทศมาก แต่เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามสวัสดิการต่างๆ ของประชาชน จึงทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงการใช้วัสดุฝังในจากเทคโนโลยีต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ได้ ทำให้เทคโนโลยีถูกจำกัดเฉพาะในผู้ป่วยที่มีรายได้สูงเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยที่ยากไร้ได้มีโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและทัดเทียมกับผู้ป่วยอื่น เอ็มเทคจึงร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จัดทำโครงการผ่าตัดแก้ไขความพิการของกะโหลกศีรษะและใบหน้าให้กับผู้ป่วยยากไร้จำนวน 84 ราย ในระยะเวลา 1 ปี โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา และฉลองวาระครบรอบ 25 ปี การก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และวาระครบรอบ 24 ปี การก่อตั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในปี พ.ศ. 2554

ด้าน ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป หัวหน้าโครงการวิจัย ฯ เอ็มเทค กล่าวว่าในปี พ.ศ. 2542 เอ็มเทคได้ริเริ่มงานวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต้นแบบรวดเร็วในทางการแพทย์ ร่วมกับสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำในประเทศหลายแห่ง จนสามารถขึ้นรูปหุ่นจำลองทางการแพทย์ 3 มิติ (Medical Models) เครื่องมือช่วยในการผ่าตัดเฉพาะบุคคล (Customized Surgical Tools) และวัสดุฝังในเฉพาะบุคคล (Customized Implants) ของอวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการวินิจฉัย วางแผนการผ่าตัด และทดแทนอวัยวะที่เสียหาย/สูญเสีย ได้โดยอาศัยข้อมูลจากเครื่อง CT scan ของผู้ป่วยเป็นพื้นฐานในการออกแบบ ซึ่งจุดเด่นของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้คือ สามารถสร้างชิ้นงานได้ล่วงหน้าก่อนการผ่าตัด ชิ้นงานมีความสวยงาม และรูปทรงพอดีกับสรีระของผู้ป่วยแต่ละบุคคล ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วย กล่าวคือทำให้ระยะเวลาการผ่าตัดและการดมยาสลบลดลง จึงลดความเสี่ยงของผู้ป่วยในการติดเชื้อลงได้ ผลการผ่าตัดมีความสวยงามมากขึ้น มีความสมดุลกับโครงสร้างกะโหลกศีรษะของแต่ละบุคคล คนไข้ฟื้นตัวได้เร็ว และใช้ระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลง เป็นการลดค่าใช้จ่ายทั้งต่อตัวผู้ป่วยและโรงพยาบาล อีกทั้งศัลยแพทย์สามารถลดขั้นตอนการปั้นแต่งกะโหลกศีรษะเทียมด้วยมือ (วิธีดั้งเดิม) ที่สามารถกระทำในห้องผ่าตัดหลังจากที่เปิดแผลผ่าตัดแล้วเท่านั้น โดยใช้กะโหลกศีรษะเทียมที่เตรียมไว้ล่วงหน้าซึ่งมีขนาดพอดีกับช่องโหว่ของกะโหลกศีรษะมาปลูกถ่ายในคนไข้ได้ทันที

ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป ยังกล่าวต่ออีกว่า คุณสมบัติของผู้ป่วยที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้ป่วยคนไทยที่มีความพิการของกะโหลกศีรษะและใบหน้า มีฐานะยากไร้ ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ ไม่จำกัดถิ่นที่อยู่อาศัย แต่สามารถเดินทางมาผ่าตัดได้ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติได้ ไม่ว่าจะเดินทางตัวตนเอง หรือประสานงานส่งตัวผ่านโรงพยาบาลอื่น ทั้งนี้ การคัดกรองผู้ป่วยยากไร้ โครงการจะให้ทีมบุคลากรของห้องปฏิบัติการต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ของเอ็มเทค ศัลยแพทย์ และหน่วยสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลฯ เป็นผู้ประเมิน สำหรับค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยจะได้รับการสนับสนุนจากโครงการจะมีค่าวัสดุฝังในจากเทคโนโลยีต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ และค่าวัสดุสำหรับยึดติดกะโหลกศีรษะเข้ากับวัสดุฝังใน (สนับสนุนโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ), ค่าทำ CT Scan, ค่าห้องผ่าตัด, ค่าศัลยแพทย์, ค่ายาและเวชภัณฑ์ และค่าห้องพักฟื้น (สนับสนุนโดยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ) จึงกล่าวได้ว่า ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการผ่าตัดรักษา

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.medical-rp.org, www.mtec.or.th หรือติดต่อ คุณยุพาพร แก้วพรม โทร. 085 834 8460; ห้องปฏิบัติการต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ หน่วยวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ โทร. 0 2564 6500 ต่อ 4021, 4026; แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โทร. 0 2926 9137-8 ดร.กฤษณ์ไกรพ์ กล่าวเสริม

]]>
0
nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[ซอฟต์แวร์พาร์ค กระตุ้นอุตสาหกรรมไอทีไทยตื่นตัวรับมือ AEC 2015 ในงาน “Software Park Annual Conference 2011″]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=769 2011-09-15T06:25:18Z 2011-09-15T06:21:19Z [singlepic id=598 w=320 h=240 float=]

ซอฟต์แวร์พาร์ค กระตุ้นอุตสาหกรรมไอทีไทยตื่นตัวรับมือ AEC2015 ในงาน Software Park Annual Conference 2011”

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(Software Park Thailand) เดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมไอทีไทย เตรียมความพร้อมรับมือ AEC2015 ในงาน Software Park Annual Conference 2011 ภายใต้หัวข้อ“การเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสู่เวทีอาเซียนในปี 2015” หวังเสริมสร้างความรู้ พัฒนาทักษะ เครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน กระตุ้นผู้ประกอบการ บุคลากรไอที ปักธงเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดอาเซียน

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) เปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและบุคลากรในวงการไอทีของไทย ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดตลาดสู่เวทีอาเซียนในปี 2015 งานสัมมนาวิชาการประจำปีของซอฟต์แวร์พาร์ค Software Park Annual Conference 2011 ซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด “การเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสู่เวทีอาเซียนในปี 2015” มุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่เวที AEC2015 โดยเฉพาะการปรับตัวรับมือในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน การเร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านไอที ให้แข่งขันได้ในเวทีนานาชาติ รวมทั้งการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะให้กับบุคลากรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภายในงานมีกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในหลากหลายมิติ แบ่งเป็น

• การประชุมสัมมนาวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารจากภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ทั้งในด้านการพัฒนาธุรกิจ การสร้างโอกาสทางการตลาด การพัฒนาทักษะและศักยภาพบุคลากรไอที รวมทั้งการเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
• การจัดนิทรรศการ แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย บูธแสดงสินค้า และบริการขององค์กร หน่วยงานที่สนับสนุนการจัดงาน อาทิ บริษัทเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำ ภาคการศึกษา บริษัทฝึกอบรมด้านไอที บริษัทที่ปรึกษาไอที และการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัทจัดหางาน ร้านหนังสือ และสื่อด้านไอที บูธประชาสัมพันธ์ซอฟต์แวร์พาร์ค และเครือข่ายพันธมิตร TSPA และ หอเกียรติยศ Software Park Thailand’s Hall of Fame 2011 เพื่อเผยแพร่ผลงาน และแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยที่สร้างชื่อเสียงให้กับสังคมและประเทศ โดยในปีนี้มีผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ”Software Park Thailand Hall of the Fame 2011 จำนวน 3 องค์กร ประกอบด้วย

1.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีวิสัยทัศน์ ในการส่งเสริมภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งให้ความสำคัญและส่งเสริม การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยได้จัดโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ และโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจ เพื่อกระตุ้นการจัดตั้งธุรกิจและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และไอที ซึ่งถือว่าเป็น Supply Side ของเทคโนโลยีต่างๆ ให้สามารถเติบโตเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทย ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ECIT ที่ช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการในภาคการผลิต ซึ่งถือเป็น Demand Side ให้สามารถมีโอกาสในการนำไอทีหรือซอฟต์แวร์ของคนไทยไปใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งโครงการดังกล่าว ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย สามารถขยายตลาด และพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าในโครงการฯโดยในระหว่างปี 2551-2554 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดสรรงบประมาณ กว่า 120 ล้านบาทในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมด้วยไอที ในปัจจุบัน โครงการ ECIT ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จที่สามารถเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

2.มูลนิธิโอเพ่นแคร์ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อ “ป้องกันและบรรเทา” ความเสียหายจากภัยพิบัติจากภัยธรรมชาติต่างๆ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่างๆและส่งกระจายต่อเพื่อให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้อย่างทันท่วงที โดยมีความเชื่อมั่นว่าเมื่อทุกฝ่ายได้รับข้อมูลที่ “ถูกต้อง รวดเร็ว” จะทำให้สามารถตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างดี โดยไม่ได้ตั้งรับแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งผลงานดังกล่าวได้ส่งผลและเป็นคุณูปการต่อผู้ประสบภัยและต่อสาธารณะเป็นอย่างดียิ่ง และส่งผลทำให้สามารถลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอันจะเกิดจากภัยพิบัติต่างๆได้อย่างมหาศาล

3.อาจารย์ปริญญา หอมเอนก เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการไอที ในฐานะผู้เชี่ยวชาญระบบความปลอดภัยสารสนเทศ หรือ IT Security และเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกระบบความปลอดภัยสารสนเทศของประเทศไทย ตลอดเวลา 20 ปีที่ผ่านมา อาจารย์ปริญญา ได้สั่งสมความรู้และประสบการณ์มากมาย โดยได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองวิชาชีพจากสถาบันสากลต่างๆ มากที่สุดในประเทศไทย ทั้งในด้านใบรับรองผู้เชี่ยวชาญระดับสากล หรือ International Certificate ต่างๆ อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ด้านการวิเคราะห์สถาปัตยกรรมความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ด้านการทดสอบเจาะระบบ การตรวจสอบการทุจริต การกู้ระบบในภาวะวิกฤติ ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาด้านมาตรฐานต่างๆ ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศให้แก่องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนตลอดระยะเวลากว่าสิบปี นอกจากนั้นยังได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในคณะผู้แก้ไขเนื้อหาโครงสร้างในการออกข้อสอบของสถาบัน International information Systems Security Certification Consortium หรือ (ISC)2 และยังเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ Thailand Information Security Association (TISA) และปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการ รวมทั้งเป็นกรรมการและที่ปรึกษาขององค์กรวิชาชีพด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศระดับโลก หลายองค์กร
รศ.ดร.ธนชาติ กล่าวต่อไปว่า หากอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยมีการเตรียมความพร้อมรับมือ AEC2015ในทุกมิติและมีการร่วมมือวางแผนประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เชื่อได้ว่าจะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสามารถแข่งขันได้อย่างมีศักยภาพและมีโอกาสที่จะขยายตลาดไปยังตลาดอาเซียนได้อย่างแท้จริง ในส่วนของซอฟต์แวร์พาร์ค ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีบทบาทสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ พร้อมที่จะสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยให้เข้มแข็งและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง
**********************

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย : โทรศัพท์ 0 2583 9992 ต่อ 1420-5: โทรสาร 0 2583 2884

]]>
0
nstda-pr http://wwwnew.nstda.or.th/pr <![CDATA[กระทรวงวิทย์ ฯ ร่วมมือ กระทรวงสาธารณสุข สานต่อโครงการ ฝังรากฟันเทียม ให้บริการประชาชน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โดยมี นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นประธาน]]> http://www.nstda.or.th/pr/?p=754 2011-09-08T08:17:02Z 2011-09-08T08:16:52Z เรียน    บรรณาธิการ

 ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำบันทึกความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรม (2550-2555) โดยรับสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการรักษาด้วยทันตกรรมรากฟันเทียมที่มีราคาถูกที่ผลิตได้ในประเทศ อันส่งผลให้ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสได้เข้าถึงการรักษาด้วยรากฟันเทียมอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ โครงการระยะแรกจะสิ้นสุดลงในวันที่ 18 มกราคม 2555 ซึ่งการดำเนินงานภายใต้บันทึกความร่วมมือดังกล่าวมีผลการดำเนินงานที่เด่นชัด อาทิ โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ที่ได้ให้บริการรากฟันเทียมแก่ผู้ด้อยโอกาสไปแล้วจำนวน 10,000 ราย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้คณะทำงานได้เข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลรายงาน พร้อมทั้งได้พระราชทานคำแนะนำเพื่อนำมาปรับปรุงโครงการไปแล้วนั้น

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯและกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้ร่วมกันขยายเวลาของบันทึกความร่วมมือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรมต่อไป เพื่อให้ประชาชนไทยได้รับการรักษาโรคช่องปากและฟันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำตามพระราชดำริฯ โดยกำหนดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรม ครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ที่  12 กันยายน  2554 เวลา 11.00  - 13.00 น. ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้ ถนน ศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ  ทั้งนี้ ฯพณ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีดังกล่าว

 การนี้ จึงใคร่ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนทุกท่านเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสรินยา , คุณโกเมศ , คุณกัญรินทร์ และคุณปริเยศเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  โทรศัพท์ 02-644-8150-89  ต่อ 237,217,212,712  หรือ 081-9886614,  081-668-1064, 084-529-0006  และ 084-910-0850

]]>
0