FAQ
FAQ: ระบบ RDC Online
กรณีที่ 1 ปรากฏข้อความ “ไม่พบข้อมูล certificate กรุณาตรวจสอบผู้ใช้” จากรูปแสดงว่า กรอกข้อมูลรหัสผู้ใช้ไม่ถูกต้อง ผู้ใช้งานควรตรวจทานการใช้ตัวอักษร
ตัวเล็ก ตัวใหญ่ หรือ การติด CAPS Lock หรือ การเปลี่ยนภาษาถูกต้องหรือไม่ >> click <<
กรณีที่ 2 ปรากฏข้อความ “EB051 : ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ รหัสผู้ใช้หรือรหัสผ่านไม่ถูกต้อง” จากรูปแสดงว่า กรอกข้อมูลรหัสผู้ใช้ไม่ถูกต้อง ผู้ใช้งานควรตรวจทานการใช้ตัวอักษรตัวเล็ก ตัวใหญ่ หรือ การติด CAPS Lock หรือ การเปลี่ยนภาษาถูกต้องหรือไม่ >> click <<
กรณีที่ 3 ปรากฏข้อความ “error :browsecertificate / Certificate not found.” โปรดตรวจสอบการ import certificate ในคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ้คที่จะใช้งาน สำหรับกรณีที่ใช้ Digital certificate รูปแบบไฟล์ และตรวจสอบว่าได้เสียบตัว token กับคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ้คที่ใช้งานหรือไม่ สำหรับกรณีใช้ Digital certificate รูปแบบ token >> click <<
กรณีที่ 4 ปรากฏข้อความ “EB054 : ไม่อนุญาตให้ใช้งานเนื่องจากระบุรหัสผ่านไม่ถูกต้องหลายครั้ง (ปรากฏว่า “รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน เป็น xxxxxxxxxx) เนื่องจาก
ผู้ใช้งานกรอก “รหัสผ่าน” ไม่ถูกต้องเกิน 3 ครั้ง ระบบจึงล็อก ผู้ใช้งานไม่สามารถ login เข้าระบบ ดังนั้นจะต้องติดต่อ สวทช. ผู้ใช้งานต้องแจ้งเลขที่บัตรประชาชนของผู้ใช้งาน พร้อมแจ้งรหัสผู้ใช้ เพื่อเจ้าหน้าที่ Help Desk ของระบบ RDC Online ตรวจสอบและดำเนินการปลดล็อก >> click <<
กรณีที่ 5 ปรากฏข้อความ “EB052 : ผู้ใช้เข้าใช้ระบบแล้ว ไม่สามารถเข้าใช้งานซ้ำได้” เนื่องจากผู้ใช้งานออกจากระบบไม่ถูกต้อง ได้แก่ การปิดหน้าจอ หรือ การ refresh URL หรือ การกดปุ่ม back หรือ ทิ้งหน้าจอโดยไม่มีการใช้งานนานเกินกว่า 30 นาที วิธีการแก้ไข คือ ผู้ใช้งานสามารถกลับเข้าใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง เมื่อระยะเวลาผ่านไป 30 นาที แต่หากเกินกว่า 30 นาที แล้วยังไม่สามารถเข้าใช้งานระบบได้ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ สวทช. ให้ดำเนินการปลดล็อก ทั้งนี้ผู้ใช้งานต้องแจ้งเลขที่บัตรสำเนาบัตรประชาชนของผู้ใช้งาน พร้อมแจ้งรหัสผู้ใช้ มาทาง e-mail : rdconline@nstda.or.th >> click <<
กรณีที่ 6 ปรากฏข้อความ error :browsercertificate/Internal process error.[The SLS Provider id sp-1307b0e3-4963-493d-b2f1-5ab43a56f6dc not start or not install.] >> click <<
หมายเหตุ: สำหรับ id (ตามตัวอักษรสีแดงข้างต้น) จะเปลี่ยนข้อมูลไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ ID ที่ Set จากโปรแกรม Sign client >> click <<
วิธีแก้ไข : กรณีที่ sign client หยุดการเชื่อมต่อ ผู้ใช้งานต้องปิดและเปิดตัว sign client ใหม่โดยทำได้ตาม ขั้นตอนดังนี้ (ภาพประกอบ)
1. ปิด sign client โดยไปที่ ด้านล่างซ้ายของหน้าจอ Desktop >> “show hidden icons” >> ไปที่สัญลักษณ์รูปกุญแจสีเขียว คลิกขวาเลือกไปที่
Exit เพื่อทำการปิดตัว sign client
2. ไปที่เมนู start พิมพ์ sign client เมื่อปรากฏสัญลักษณ์ sign client ให้คลิ๊กเปิดตัว sign client ขึ้นมา
- ตรวจสอบข้อมูลวันสิ้นสุดการใช้งาน (Expired date) ของ Certificate ที่มาจาก CA Provider ว่าสิ้นสุดอายุการใช้งานเมื่อไหร่ ตามขั้นตอนดังนี้
1) คลิกที่ Start ในหน้า window จากนั้นพิมพ์ “Internet option”
2) คลิกเลือกที่ Tab “Content” >> คลิกที่ “Certificates”
3) ดับเบิ้ลคลิกที่ Certificate ที่ต้องการตรวจสอบ หรือ กดเลือก Certificate ที่ต้องการตรวจสอบ >> คลิกที่ View
4) ตรวจสอบวันสิ้นสุดการใช้งานจาก “Valid from dd/m/yyyy to dd/m/yyyy“ - ติดต่อขอใช้บริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ NTCA ก่อนที่จะหมดอายุได้ 3 เดือน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม click
->แบบฟอร์มคำขอใช้บริการ NT CA สำหรับ RDC Online - จากนั้นดำเนินการลงทะเบียนต่ออายุ Certificate ในระบบ RDC Online เพื่อขออนุมัติการใช้งานในระบบ RDC Online
- เตรียมใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) สำหรับระบบ RDC Online โดยติดต่อผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) แจ้งวัฒนะ อาคาร 6 ชั้น 1 Call Center 02-574-8912 หรือ ศึกษารายละเอียดได้ตาม Link: https://www.ntca.ntplc.co.th/#section-download
>> แบบฟอร์มบริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์สำหรับระบบ RDC Online click!! - จากนั้นดำเนินการสร้างคำร้อง “การลงทะเบียนต่ออายุ Certificate ผู้ใช้งานเจ้าของโครงการ” ในระบบ RDC Online หน้าจอสีม่วง โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ >> click
- เอกสารประกอบการต่ออายุ Certificate ผู้ใช้งานเจ้าของโครงการ
– แบบคำขอต่ออายุ Certificate ผู้ใช้งาน
– สำเนาบัตรประชาชน ผู้ใช้งาน
– สำเนาบัตรประชาชน ผู้มีอำนาจผูกพัน
FAQ: หลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคำขอเป็นผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ว.พ.01)
1) มีการระบุวัตถุประสงค์การประกอบกิจการทางด้านธุรกิจวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ไว้อย่างชัดเจนในหนังสือรับรองนิติบุคคล
2) มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ องค์ความรู้ บุคลากรวิจัย เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการทางด้านธุรกิจวิจัยฯ
หมายเหตุ: โปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก “ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคำขอเป็นผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2559)
มีความเป็นไปได้ที่จะไม่ได้รับการอนุมัติ อย่างไรก็ตาม ผู้รับทำวิจัยฯ ที่จะยื่นขอ ว.พ.01 ควรมีการกรอกข้อมูลในแบบคำขอ ว.พ.01 และเตรียมเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน
หมายเหตุ: ดาวน์โหลดแบบคำขอ ว.พ.01 ได้ที่ >> Link <<
FAQ: หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณารับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
การขอรับรองโครงการเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ภาษี 200% ตาม พ.ร.ฎ.598 ไม่มีกรอบระยะเวลากำหนด และไม่มีการกำหนดเพดานค่าใช้จ่ายสูงสุด
ผู้ที่จะได้สิทธิประโยชน์ในมาตรการนี้ จะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ผู้ว่าจ้าง) ให้กับผู้รับทำวิจัยที่มีการยื่นแบบคำขอ ว.พ.01 หรือได้รับการประกาศรายชื่อให้เป็นผู้รับทำการวิจัยฯ แล้ว
การขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ Pre-approval
– บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีการทำวิจัยโดยผู้รับทำวิจัย ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของตนเองหรือว่าจ้างหน่วยงานอื่นๆ ที่มีว.พ.01 (ขี้นทะเบียนกับกรมสรรพากร)
– ยื่นขอรับรอง “โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ต่อ สวทช. ผ่านระบบ RDC Online (https://www.rdconline.nstda.or.th/rdconline)
– ใช้หนังสือรับรองโครงการวิจัยฯ ที่ สวทช. ออกให้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นใช้สิทธิยกเว้นภาษีจากกรมสรรพากร
– ไม่จำกัดมูลค่าโครงการ
การขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ Self-Declaration
– บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผ่านการรับรองโครงการวิจัยฯ ด้วยวิธีการ Pre-Approval
– ยื่นขอรับการตรวจประเมิน “ระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม” และขึ้นทะเบียนกับ สวทช.
– ใช้ใบรับรองระบบบริหารการวิจัยฯ (อายุ 3 ปี) ที่ สวทช. ออกให้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีจากกรมสรรพากร สำหรับโครงการวิจัยฯ ได้ด้วยตนเอง
– มูลค่าโครงการไม่เกิน 3 ล้านบาท
ปัจจุบัน สวทช. กำหนดให้ยื่นโครงการเพื่อขอการรับรอ งผ่านระบบ RDC Online ซึ่งในการเข้าใช้งานระบบ นอกจากจะมีการกรอกข้อมูล Username และ Password แล้ว จะมีการใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) เพื่อเป็นการระบุตัวตนของผู้ใช้งาน สำหรับการล๊อคอินเข้าระบบทุกครั้ง นอกจากนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการรับรองโครงการวิจัยฯ เช่น ผู้เชี่ยวชาญ และคณะกรรมการฯ จะมีการลงนามในเอกสารรักษาความลับ (NDA)
1) การจ้างผู้รับทำวิจัยที่ยังไม่ได้รับประกาศ ว.พ.01 สามารถยื่นโครงการเพื่อขอการรับรองจาก สวทช. ได้ โดยการแนบสำเนาแบบคำขอ ว.พ.01 มาเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา
2) บริษัทจะใช้สิทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อผู้รับทำวิจัยได้รับประกาศเป็นผู้รับทำวิจัยตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากร โดยค่าใช้จ่ายในการวิจัยที่เกิดขึ้น จะสามารถใช้สิทธิ์ทางภาษี 200% ได้โดยเริ่มนับจากวันที่ทางกรมสรรพากรออกเลขรับในแบบคำขอ ว.พ.01
จัดสรรสิทธิประโยชน์ทางภาษีของรายจ่าย ตามร้อยละของสัดส่วนที่แต่ละเจ้าของโครงการมีส่วนร่วมในโครงการวิจัย
กรณีทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับตนเอง ให้ออกใบรับให้กับตนเอง เสมือนเป็นการรับทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับบุคคลอื่น โดยไม่จำต้องจัดทำใบกำกับภาษี
หมายเหตุ:
ตัวอย่างใบรับมีข้อความอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งระบุข้อความ “เป็นผู้รับทำการวิจัยฯ ลำดับที่…… ของประกาศอธิบดีฯ” และข้อความ “ประเภทของการวิจัย คือ ……………..”
ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 598 ระบุไว้ว่า “มาตรา 6 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ เนื่องจากรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามพระราชกฤษฎีกานี้ ต้องไม่นำรายจ่ายดังกล่าวไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน”
โครงการที่ยื่นขอการรับรองฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้สถานะการดำเนินงานของโครงการที่สามารถยื่นขอการรับรองได้ มีทั้งหมด 3 สถานะ ได้แก่ โครงการแล้วเสร็จ (ไม่เกิน 3 ปี เพื่อให้สามารถใช้สิทธิ์ได้ทันตามปีภาษี) / โครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการ / โครงการยังไม่เริ่มดำเนินการ
สามารถยื่นโครงการเพื่อขอการรับรองย้อนหลังได้ ทั้งนี้ โครงการที่มีสถานะเสร็จสิ้นแล้ว กำหนดให้เจ้าของโครงการดำเนินการยื่นโครงการ ซึ่งวันที่ยื่นโครงการจะต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลาตามแผนงานโครงการ
หมายเหตุ: การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะอ้างอิงจากหลักเกณฑ์และแนวปฎิบัติของกรมสรรพากรเป็นสำคัญ
ตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 391) ได้ระบุถึง ข้อ 3 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องยื่น โครงการวิจัยฯ ต่อ สวทช. หรือหน่วยงานอื่นที่รัฐมนตรีจะได้ประกาศกำหนด เพื่อตรวจสอบและรับรองโครงการฯ ดังนั้น บริษัทเจ้าของโครงการควรได้รับการรับรองโครงการจาก สวทช. ก่อน จึงดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ เนื่องจากหากโครงการไม่ได้รับการรับรอง ทางบริษัทจะต้องมีการปรับปรุงบัญชี จึงมีความเสี่ยงเกิดขึ้นหากมีการใช้สิทธิ์ทางภาษีก่อน
มีความเป็นไปได้ที่ สวทช. จะพิจารณาไม่รับรองเป็นงานวิจัยฯ เนื่องด้วยโครงการอาจไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณารับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ได้กำหนดไว้
ในกรณีที่โครงการไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สามารถยื่นโครงการเพื่อขอการรับรองได้
โครงการที่มีการนำเทคโนโลยีของผู้อื่นไปต่อยอด หรือการทำ Reverse engineering ต้องมีการพิจารณารายละเอียดสาระสำคัญของโครงการที่ว่า เข้าข่ายเป็นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหรือไม่
ทั้งนี้ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เป็นงานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งกระทำอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิตใหม่ การวิจัยและพัฒนาแตกต่างจากกิจกรรมอื่นตรงที่มีความแปลกใหม่ และใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นวัตกรรม เป็นการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การสร้างให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือกระบวนการใหม่
โครงการที่ได้รับการรับรองแล้ว ซึ่งมีสถานะอยู่ระหว่างดำเนินการหรือยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ ณ วันที่ยื่นโครงการ หากเจ้าของโครงการประสงค์ที่จะขอเปลี่ยนแปลงระยะเวลาโครงการ (วันเริ่มต้น หรือ วันสิ้นสุด) ยังสามารถดำเนินการได้ และจะต้องดำเนินการภายใน 1 ปี หลังครบกำหนดระยะเวลาตามแผนงานเดิมที่ได้รับการรับรอง โดยไม่ส่งผลต่อขอบเขตและค่าใช้จ่ายโครงการที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ ไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับโครงการที่มีสถานะเสร็จสิ้นแล้ว ณ วันที่ยื่นโครงการ จะไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดทั่วไปของโครงการได้
หากประสงค์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสาระสำคัญและ/หรืองบประมาณของโครงการที่ผ่านขั้นตอนการพิจารณารับรองแล้ว เจ้าของโครงการต้องยื่นโครงการเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับรองโครงการฯ ตามปกติ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน
การตรวจสอบและพิจารณาโครงการแบบช่องทางด่วน (Fast Track) มีทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังนี้
ก. โครงการรับจ้างวิจัย หมายถึง เจ้าของโครงการ ซึ่งเป็นบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ว่าจ้างผู้รับทำการวิจัยฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ/สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน/หน่วยงานที่ไม่แสวงกำไร ที่คณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบแล้ว ทั้งนี้งบประมาณโครงการที่คณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบจะสอดคล้องกับงบประมาณที่ระบุในสัญญาว่าจ้างวิจัย
ข. โครงการร่วมวิจัย หมายถึง เจ้าของโครงการ ซึ่งเป็นบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ว่าจ้างผู้รับทำการวิจัยฯ ที่เป็นหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานเอกชน ซึ่งผู้รับทำการวิจัยฯ มีการทำสัญญาร่วมวิจัยกับหน่วยงานของรัฐ/สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน/หน่วยงานที่ไม่แสวงกำไร ทั้งนี้งบประมาณโครงการที่คณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบจะสอดคล้องกับงบประมาณที่ระบุในสัญญาร่วมวิจัย เฉพาะส่วนที่เจ้าของโครงการจ่ายให้ผู้รับทำการวิจัยฯ เท่านั้น
ค. โครงการที่ได้รับการสนับสนุนดำเนินงานวิจัยฯ จากภาครัฐ หมายถึง เจ้าของโครงการ ซึ่งเป็นบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ว่าจ้างผู้รับทำการวิจัยฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชน และได้รับการสนับสนุนงบประมาณและ/หรือข้อมูลด้านเทคนิคเพื่อดำเนินงานวิจัยฯ จากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ ต้องแสดงเอกสารอนุมัติโครงการ หรือเอกสารอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งที่มีรายละเอียดโครงการและงบประมาณที่ชัดเจน
ง. โครงการที่ได้รับรองระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (RDIMS) หมายถึง เจ้าของโครงการซึ่งเป็นบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ว่าจ้างผู้รับทำการวิจัยฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชน และเป็นโครงการภายใต้ขอบข่ายการรับรองระบบ RDIMS ทั้งนี้ ต้องแสดงใบรับรองระบบบริหารการวิจัยฯ และเอกสารรายละเอียดของโครงการวิจัยฯ ฉบับเต็ม (Full proposal) ที่มีรายละเอียดโครงการและงบประมาณที่ชัดเจน
ในกรณีที่ไม่มีสัญญาจ้าง สามารถแนบเอกสารใบสั่งจ้าง (Purchase order) ได้ โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อผู้ว่าจ้าง, ชื่อผู้รับจ้าง, ชื่อโครงการ, ระยะเวลาโครงการ และงบประมาณ โดยต้องมีการลงนามจากทั้ง 2 ฝ่าย และควรมีข้อเสนอโครงการแนบเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
การจ้างที่ปรึกษา หรือ บริการเทคนิค ไม่เข้าข่ายโครงการแบบช่องทางด่วน (Fast track) อย่างไรก็ตาม อาจพิจารณาตามรายละเอียดสาระสำคัญในโครงการวิจัย ถ้าการจ้างนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการวิจัย
การยื่นโครงการแบบช่องทางปกติ (Normal track) มีระยะเวลาในการ พิจารณารับรองโครงการภายใน 120 วัน นับจากวันที่ผู้ประกอบการยื่น โครงการโดยมีรายละเอียดครบถ้วน จนถึงวันที่คณะกรรมการรับรอง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีมติการพิจารณา โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
หมายเหตุ: ไม่นับรวมจำนวนวันที่ผู้ประกอบการมีส่วนรวมดำเนินการ แต่การยื่นโครงการแบบช่องทางด่วน (Fast track) จะมีระยะเวลาในการ พิจารณารับรองโครงการน้อยกว่า คือทราบผลการพิจารณาภายใน 30 วัน
กรณีไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวกับเงินเดือน/ค่าจ้างบุคลากรลงในข้อเสนอโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้
ทางเจ้าของโครงการสามารถนำส่งเป็นเอกสารปิดผนึกทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือนำส่งด้วยตนเอง ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัด
ปทุมธานี
ค่าจ้างต่อชั่วโมงของบุคลากร (บาท) เท่ากับ เงินเดือน (บาท) / จำนวนชั่วโมงการทำงานใน 1 เดือน
เช่น ถ้าเงินเดือนเท่ากับ 30,000 บาท ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน และใน 1 เดือน มีจำนวนวันทำงาน 22 วัน
จะมีค่าจ้างต่อชั่วโมงเท่ากับ 30,000/(8 x 22) = 170.45 บาท เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในหมวดเงินเดือน/ค่าจ้างบุคลากร จะเป็นข้อมูลค่าใช้จ่ายที่คิดเฉพาะข้อมูลฐานเงินเดือนจริง (basic salary) เท่านั้น ไม่รวมถึงค่าตอบแทนในรูปแบบโดยอ้อม ได้แก่ เงินโบนัส เงินสวัสดิการ และผลประโยชน์อื่น ๆ
– ในหมวดเงินเดือน/ค่าจ้างบุคลากร สามารถใส่บุคลากรในระดับบริหารได้ และต้องเป็นการเข้าร่วมในโครงการวิจัยแบบ direct contribution หรือมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการดำเนินงานวิจัยอย่างมีนัยสำคัญ โดยสามารถมีส่วนร่วมในงานวิจัยรวมทุกโครงการได้สูงสุด ไม่เกินร้อยละ 80 ของเวลาทำงานทั้งหมดต่อปี
– ในหมวดค่าใช้จ่ายเงินเดือน/ค่าจ้างบุคลากร (ฝ่ายสนับสนุน และผู้ที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการวิจัยโดยตรง) สามารถใส่บุคลากรในระดับบริหารได้โครงการวิจัยโดยตรง โดยสามารถมีส่วนร่วมในงานวิจัยรวมทุกโครงการได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 40 ของเวลาทำงานทั้งหมดต่อปี
– ในหมวดที่ปรึกษา เป็นการยื่นค่าใช้จ่ายของการว่าจ้างบุคลากรภายนอกหน่วยงานผู้รับทำวิจัย เพื่อปฏิบัติงานให้คำปรึกษาในโครงการวิจัย
– ในหมวดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นการยื่นค่าใช้จ่ายของการว่าจ้างบุคลากรภายนอกหน่วยงานผู้รับทำวิจัย เพื่อทำงานวิจัยหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัยในโครงการ
ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้ง 2 หมวดดังกล่าว ควรมีเอกสารสัญญาการว่าจ้างในนามบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ระบุขอบเขตงานและค่าตอบแทน เพื่อประกอบการพิจารณา
รายการเครื่องมือ/อุปกรณ์ ทุกประเภทที่กรอกในระบบ RDC Online จะมีการให้ระบุเลขที่อุปกรณ์ของแต่ละเครื่องมือไว้ โดยในระบบจะมีการคำนวณค่าใช้จ่ายตามจำนวนชั่วโมงการใช้งานจริงและจำนวนปีที่คิดค่าเสื่อมของเครื่องมือนั้น
ไม่สามารถนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการวิจัยได้ ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณารับรองโครงการวิจัยฯ ที่มีการบังคับใช้ล่าสุด (20 ส.ค.64)
ค่าใช้จ่ายในการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ทั่ว ๆ ไป และการสำรวจผู้บริโภค การโฆษณา การวิจัยตลาดและการสำรวจสำมะโนประชากร ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การพิจารณา เนื่องจากถือเป็นสิ่งที่ไม่เป็นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ค่าสาธารณูปโภค (น้ำ, ไฟฟ้า, โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต) ไม่สามารถนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ ยกเว้นกรณีค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค (น้ำ, ไฟฟ้า) หากโครงการดำเนินงานวิจัยที่มีค่าน้ำหรือค่าไฟฟ้าเป็นเสมือนวัตถุดิบในงานวิจัย ให้จัดอยู่ในหมวดวัตถุดิบได้
ค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การพิจารณาฯ เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อดำเนินการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือสร้างความก้าวหน้าจากความรู้เดิมที่มีอยู่ แต่เป็นค่าใช้จ่ายของการดำเนินการอย่างเป็นปกติของธุรกิจ หรือเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
สามารถยื่นค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ โดยสามารถใส่รายละเอียดค่าใช้จ่ายไว้ในหมวดค่าใช้บริการห้องปฏิบัติการทดสอบ
ค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การพิจารณาฯ แต่หากเป็นการเช่าแปลงทดสอบ/โรงเรือนทดสอบ/ห้องทดสอบ ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยจัดอยู่ในหมวดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สามารถพิจารณาความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายได้
การซื้อและใช้สิทธิในเทคโนโลยี (Licensing) สำหรับนำมาใช้พัฒนาต่อยอดในโครงการวิจัย สามารถนำเสนอค่าใช้จ่ายได้ตามระยะเวลาของการดำเนินงาน
ในการไปทำวิจัยในต่างประเทศ เจ้าของโครงการต้องสามารถแสดงเหตุผลและความจำเป็นในการไปทำวิจัยในต่างประเทศได้ เช่น การไปใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบที่ไม่มีในประเทศไทย เป็นต้น
สามารถนำเสนอค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างช่วงบริษัทหรือหน่วยงานอื่น ๆ เป็นค่าใช้จ่ายโครงการได้ ทั้งนี้ การพิจารณาความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายจะพิจารณาจากสัดส่วนภาระงาน/สาระสำคัญที่บริษัทรับจ้างช่วงนั้น ๆ ดำเนินการเป็นสำคัญ
หมายเหตุ: ศึกษาแนวทางการทำงานเรื่องหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณารับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ข้อ 2.2.2 การพิจารณาค่าใช้จ่ายโครงการที่เข้าข่ายเป็นลักษณะของการดำเนินการว่าจ้างช่วง (Sub-Contract) ประกอบ
ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาฯ กรณีการจ้างช่วง (Sub-Contract) ทั้งการจ้างบริษัทต่างประเทศหรือมหาวิทยาลัยต่างประเทศให้ทำวิจัยให้หรือทำวิจัยร่วมกัน ไม่สามารถนำเสนอเป็นค่าใช้จ่ายได