บริการ > ขอรับรองโครงการวิจัยฯ ด้วยวิธีการ Pre-approval

การขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รูปแบบ Pre-approval

     สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ.2559 (วิธีการ Pre-Approval) ซึ่งได้เปิดให้บริการระบบ RDC Online สำหรับการยื่นขอรับรองโครงการวิจัยฯ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างความสะดวกรวดเร็ว มีความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูล และตรวจสอบติดตามผลได้ง่าย

หมายเหตุ: (1) ผู้ทำวิจัยฯ ต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้เป็นผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และได้มีการลงในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

ขั้นตอนการพิจารณารับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

     เจ้าของโครงการ (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) ยื่นแบบคำขอรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต่อสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ผ่านระบบ RDC Online

1. โครงการช่องทางปกติ (Normal Track)
หลังจากสำนักงานฯ ได้รับข้อเสนอโครงการแล้ว จะนำส่งโครงการให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเบื้องต้น ก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณารับรองต่อไป

  1.1 เอกสารประกอบการยื่นแบบคำขอฯ

     (ก) ข้อเสนอโครงการ
     (ข) สำเนาหนังสือรับรองบริษัท/นิติบุคคล ของเจ้าของโครงการ
     (ค) สำเนาแบบคำขอเป็นผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ว.พ.01 ของผู้ทำวิจัย*

  1.2 ขั้นตอนการพิจารณารับรองโครงการฯ แสดงดังรูปที่ 1

(*) กรณีโครงการเป็นไปตามเงื่อนไข (ประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 391) ทาง สวทช. จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขอรับรองโครงการฯ ตามอัตราที่กำหนด ก่อนดำเนินการพิจารณารายละเอียดและลงทะเบียนรับโครงการฯ

2. โครงการช่องทางด่วน (Fast track)
หลังจากสำนักงานฯ ได้รับข้อเสนอโครงการแล้ว จะนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณารับรองโครงการฯ โดยไม่ต้องผ่านการประเมินเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญ

  2.1 เอกสารประกอบการยื่นแบบคำขอฯ

     (ก) ข้อเสนอโครงการ
     (ข) สำเนาหนังสือรับรองบริษัท/นิติบุคคล ของเจ้าของโครงการ
     (ค) สำเนาแบบคำขอเป็นผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ว.พ.01 ของผู้ทำวิจัย*
     (ง) สำเนาเอกสารสัญญาจ้าง/สัญญาร่วมวิจัย/เอกสารสนับสนุนจากภาครัฐ/
        เอกสารรับรองระบบ RDIMS

2.2 ขั้นตอนการพิจารณารับรองโครงการฯ แสดงดังรูปที่ 2

(*) กรณีโครงการเป็นไปตามเงื่อนไข (ประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 391) ทาง สวทช. จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขอรับรองโครงการฯ ตามอัตราที่กำหนด ก่อนดำเนินการพิจารณารายละเอียดและลงทะเบียนรับโครงการฯ

รูปแบบโครงการเข้าข่ายช่องทางด่วน (Fast track)

ลำดับที่ผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีลำดับที่ได้รับการประกาศ
1ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(5)
2สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(14)
3ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(21)
4ฝ่ายวิจัยและพัฒนาและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(22)
5ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์(36)
6โครงการศูนย์เทคโนโลยีพลังงาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(48)
7โครงการอุทยานอุตสาหกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(49)
8คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(57)
9ฝ่ายวิจัยและพัฒนา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(60)
10มูลนิธิส่งเสริมการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไทย(114)
11ศูนย์บริการทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต(119)
12สถาบันไทย-เยอรมัน(140)
13สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย(163)
14มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(194)
15ฝ่ายวิจัยและพัฒนาศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สาขาที่ 19(195)
16สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)(261)
17มหาวิทยาลัยบูรพา(276)
18สถานวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์มและพืชน้ำมัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(278)
19สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(279)
20ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  สาขาที่ 20(296)
21มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(318)
22สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์(326)
23สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์(342)
24โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น(344)
25สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(360)
26คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร(364)
27กลุ่มงานส่งเสริมและบริการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(430)
28สํานักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(387)
29ศูนย์การวิจัยและพัฒนา สถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเชีย(485)
30มหาวิทยาลัยนเรศวร(408)
31สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา(396)
32คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(398)
33ฝ่ายวิจัยและพัฒนา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)(413)
34ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ(414)
35ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น(418)
36ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า สถาบันวิทยสิริเมธี(428)
37ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(447)
38สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สำนักงานใหญ่(454)
39ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(486)
40สำนักส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม(487)
41สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(489)
42สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยชินวัตร(500)
43มหาวิทยาลัยแม่โจ้(525)
44สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ(589)
45ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร(560)
46มูลนิธิโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี(577)
47สถาบันวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง(621)
48ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)(648)
49มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(745)
50สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สาขา ๐๐๐๑๙)(690)
51สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยพายัพ(712)
52สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี(731)
53สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(739)

 ข้อมูล ณ วันที่ 17 ส.ค.66
 หมายเหตุ :  1) ลำดับที่ 5, 21, 22, 48, 195, 296 ได้แจ้งขอยกเลิกรายชื่อผู้ทำการวิจัยฯ จำนวน 6 รายชื่อ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
               และนวัตกรรม (ฉบับที่ 277) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป โดยกำหนดใช้ลำดับที่ 360 และ 690 ทดแทน
              2) ตรวจสอบรายชื่อผู้รับทำการวิจัยฯ ทั้งหมดได้ใน ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 1)

ระบบสนับสนุนการดำเนินงานรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของผู้ประกอบการภาคเอกชน: RDC Online เป็น Web application สำหรับการใช้บริการยื่นขอรับรองโครงการวิจัย ฯ ยกเว้นภาษี 200% ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย โดยผู้ใช้งานสามารถทำการบันทึก จัดเก็บ และพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกจากระบบ รวมถึงการ Upload, Download เอกสาร และสามารถติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานการขอรับรองโครงการของผู้ประกอบการภาคเอกชนได้ตามความต้องการทันที อีกทั้งตัวระบบได้ออกแบบให้มีส่วนช่วยป้องกันและการรักษาข้อมูลความลับของโครงการวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือ โดยมีการพิสูจน์ตัวตนในการเข้าใช้งานระบบ (Login) โดยใช้ 2 Factor Authentication ต้องระบุ Username และ Password  และใช้ Digital Certificate

การเตรียมพร้อมสำหรับเข้าใช้งานระบบ RDC Online

  1. ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) สำหรับระบบ RDC Online โดยติดต่อผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) แจ้งวัฒนะ อาคาร 6 ชั้น 1 Call Center 02-574-8912 หรือ ศึกษารายละเอียดได้ตาม Link: https://www.ntca.ntplc.co.th/#section-download
    – กรณี Digital Certificate รูปแบบ CD / File: ติดตั้ง Digital Certificate ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการใช้งาน  โดยสามารถศึกษาวิธีการติดตั้งได้ที่  >> Link <<
    – กรณี Digital Certificate รูปแบบ USB Token: ต้องติดตั้ง Token (safe net) Driver ที่ได้รับจาก NT โดยสามารถศึกษาวิธีการติดตั้งได้ที่  >> Link <<
    Link สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม Safe net
  2. ติดตั้งโปรแกรม Sign client โดยสามารถศึกษาวิธีการติดตั้งได้ที่ >> Link <<
    Link สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม Sign client

วีดีโอการใช้งานระบบ RDC Online Click
ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานโดยละเอียดได้จาก คู่มือการใช้งานหน้าเว็ป RDC Online (https://www.rdconline.nstda.or.th/rdconline/index.xhtml)

อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการ

การขอรับรองโครงการวิจัยฯ แบบ Pre-approval หรือการยื่นขอรับรองโครงการวิจัยฯเป็นรายโครงการผ่านระบบ RDC Online อัตราค่าธรรมเเนียม 21,000 บาทต่อโครงการ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)