[NAC2023]เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมระบบราง

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ ได้จัดงานบรรยายและเสวนาเรื่องเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมระบบราง (Technologies for Railway Industry)
ในงานประชุมประจำปี สวทช. (NAC2023)

ระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยจะมีการเจริญเติบโตอีกมากในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า ข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทยพบว่าการสร้างระบบรถไฟแบบทางคู่เฟสที่ 1 จะแล้วเสร็จในปี 2566 และเฟสที่ 2 จะแล้วเสร็จในปี 2570 รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 8,000 กม. นอกจากนี้ รฟท. ต้องการเพิ่มความเร็วจากเดิมที่วิ่งประมาณ 60 กม/ชม. ไปเป็น 100 – 140 กม./ชม. ในที่สุด ซึ่งการเพิ่มขึ้นของการให้บริการและความเร็วที่สูงขึ้นก็มีความท้าทายทางเทคนิคตามมา ในขณะเดียวกันโอกาสการเติบโตของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงและการผลิตชิ้นส่วนทดแทนก็ตามมาเช่นเดียวกัน การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทยเพื่อรองรับการเติบโตของระบบขนส่งทางรางจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทยด้านการซ่อมบำรุง และการผลิตชิ้นส่วนประกอบทางรถไฟ

กำหนดการสัมมนา

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.05 น. กล่าวเปิดการบรรยายและเสวนา
โดย ดร. เอกรัตน์ ไวยนิตย์, ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.
09.05 – 09.25 น. การตรวจสอบและซ่อมบำรุงทางรถไฟที่มีความลาดชันช่วงสายเหนือ
โดย ดร. ปนัดดา เช็พเพิร์ด, นักวิจัยอาวุโส ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.
09.25 – 09.45 น. การพัฒนากระบวนการผลิตแท่งหล่อลื่นบังใบ
โดย นายภาณุ เวทยนุกูล, นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
09.45 – 10.05 น. การปรับตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยเพื่อรองรับการเติบโตของการขนส่งทางรางของประเทศ
โดย นายสุพจน์ สุขพิศาล, ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
10.05 – 10.25 น. Practice of vibration and noise reduction technology in rail transit
โดย Mr. Zhang Hongping, Deputy General Manager of Technology Department of CRCC International
10.25 – 10.35 น. พักระหว่างการสัมมนา
10.35 – 11.55 น. เสวนา เรื่อง การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเพื่อรองรับการเติบโตของระบบขนส่งทางรางโดย

  1. นายเรืองเดช มังกรเดชสกุล  ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมการขนส่งทางราง
  2. ดร.สันติ เจริญพรพัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) 
  3. นายกำพล บุญชม รองวิศวกรใหญ่ด้านโครงการพิเศษ การรถไฟแห่งประเทศไทย 
  4. นายสุพจน์ สุขพิศาล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. นายปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตขอนแก่น
  6. ดร. เอกรัตน์ ไวยนิตย์, ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ดำเนินรายการโดย  ดร. ปนัดดา เช็พเพิร์ด, นักวิจัยอาวุโส, ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.

11.55 – 12.05 น. ถาม – ตอบ