การอบรมเชิงเทคนิคครั้งที่ 1 “หลักการพื้นฐานของการออกแบบและการผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวราง”
ภายใต้ “โครงการการเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมในประเทศและการจัดเตรียมร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของโครงการรถไฟความเร็วสูง”
วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 เวลา 8:30 – 16:00 น.
ณ ห้องประชุม CC 306 อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี (onsite only)
การอบรมในครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก “โครงการการเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมในประเทศและการจัดเตรียมร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของโครงการรถไฟความเร็วสูง” ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
การอบรมในโครงการฯ ประกอบด้วยการอบรมจำนวนทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่
1) การอบรมครั้งที่ 1 เรื่อง “หลักการพื้นฐานของการออกแบบและการผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวราง” (18 กรกฎาคม 2567)
2) การอบรมครั้งที่ 2 เรื่อง “โลหะวิทยา กระบวนการผลิต และการออกแบบเครื่องยึดเหนี่ยวราง” (ตุลาคม 2567)
3) การอบรมครั้งที่ 3 เรื่อง “การออกแบบเครื่องยึดเหนี่ยวราง” (โดยผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ มีสรุปภาษาไทยเป็นช่วงๆ) (กุมภาพันธ์ 2568) และ
4) การอบรมครั้งที่ 4 เรื่อง “กลไกการทำงานและการทดสอบเครื่องยึดเหนี่ยวราง” (พฤษภาคม 2568) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและออกแบบเครื่องยึดเหนี่ยวรางรถไฟ
การออกแบบและผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวรางให้มีสมบัติตามต้องการ ต้องมีความเข้าใจลักษณะโครงสร้างทางรถไฟ การรับแรงระหว่างการใช้งาน และพฤติกรรมของวัสดุเมื่อได้ผ่านการขึ้นรูป พร้อมทั้งเข้าใจกระบวนการปรับสภาพทางความร้อน การอบรมในครั้งที่ 1 นี้จะเป็นการปูพื้นฐานความรู้ดังกล่าวข้างต้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เข้าอบรมสำหรับเนื้อหาเชิงลึกในการอบรมครั้งต่อๆ ไป
ไฟล์นำเสนอโดย คุณอมรศักด์ เร่งสมบูรณ์
ดร.สุธี โอฬารฤทธิ์นันท์
กำหนดการ
8:30 น. – 9:00 น. ลงทะเบียน
9:00 น. – 10:30 น. สมบัติทางกลและกลไกการเปลี่ยนรูปของคลิปสปริง
10:30 น. – 10:45 น. Coffee Break
10:45 น. – 12:00 น. การขึ้นรูปเย็น การขึ้นรูปร้อน และการปรับสภาพด้วยความร้อน
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 14:30 น. การออกแบบและองค์ประกอบของทางรถไฟ
14:30 น. – 14:45 น. Coffee Break
14:45 น. – 16:00 น. การออกแบบและการทำงานของระบบยึดเหนี่ยวรางรถไฟ