แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ผนึกกำลัง ดีป้าและมหาวิทยาลัยศิลปากร อัปสกิลบุคลากรเติมเต็มระบบนิเวศ Smart City เป็นแห่งแรกในอาเซียน

กรุงเทพฯ – 10 กรกฎาคม 2567: แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ (Euronext Paris: FR0014003TT8, DSY.PA) ผู้นำด้านการสร้างประสบการณ์ 3DEXPERIENCE ที่นำเสนอโลกเสมือนจริงแก่ผู้คนและองค์กรธุรกิจ ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และมหาวิทยาลัย ศิลปากร (มศก.) เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและบุคลากรแห่งอนาคตในประเทศไทยอย่างครบวงจร ครอบคลุมระยะเวลาสามปีนับจากนี้ ประกอบด้วยศูนย์ฝึกอบรมอุตสาหกรรม ศูนย์บ่มเพาะการพัฒนา และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่นำเสนอบริการระดับมืออาชีพในการให้คำปรึกษาด้านการวางผังเมือง และ การออกแบบด้านการวิจัยและพัฒนา

โครงการนี้เป็นโครงการเริ่มแรกด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองอัจฉริยะ

ในภูมิภาคอาเซียน พร้อมทั้งตอบสนองความท้าทายของประเทศที่ต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลมากกว่า 100,000 คนต่อปี โดยในปัจจุบันมีการผลิตและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาเพียง ปีละ 30,000 คนเท่านั้น ความร่วมมือครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมนวัตกรรม การพัฒนาทักษะเฉพาะทาง เร่งเครื่องโครงการเมืองอัจฉริยะ และการสร้างบริการการวางผังเมืองที่ทันสมัย

บันทึกความเข้าใจครั้งนี้ ดำเนินการเป็น 4 ระยะ เริ่มจากการเปิดตัวศูนย์ฝึกอบรม Industry Training Center ในเดือนกันยายน ศูนย์ฝึกอบรมนี้จะเปิดสอนหลักสูตรการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเป็นหลักสูตรรับรองร่วมโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ดีป้า และแดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ต่อด้วยศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (Incubation Center) สำหรับการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญระหว่างหน่วยงาน ธุรกิจ

และสตาร์ทอัพ ศูนย์วิจัยด้านการวางผังเมืองและบริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และ โชว์รูมดิจิทัลเพื่อดึงดูดการลงทุน เพื่อมุ่งผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางเมืองอัจฉริยะ สร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัล

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า “หนึ่งในภารกิจสำคัญที่ดีป้าดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง คือ การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลของประเทศ เพื่อรองรับปริมาณความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในปัจจุบัน รวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศเมืองอัจฉริยะ (Smart City Ecosystem) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลรอบด้าน แต่สิ่งที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วยคือ Smart People ซึ่งเป็น

หนึ่งในเจ็ดปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ยังขาดแคลนอยู่มาก แต่ก็มีโอกาสการพัฒนาอยู่มากเช่นกัน และภายใต้ความร่วมมือฉบับนี้ ดีป้า จะผลักดันภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการการทำงาน

กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่าง ๆ เพื่อส่งบุคลากรมาศึกษาและยกระดับทักษะที่มี

ความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้า และนำไปต่อยอดการพัฒนา

การดำเนินงานให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ก่อนก้าวสู่เป้าหมายของประเทศไทยในการเป็น Smart City Hub ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป”

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พิริยะประสาธน์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพองค์กร มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า “ด้วยการสนับสนุนของดีป้าและแดสสอลท์ ซิสเต็มส์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับเมืองอัจฉริยะ ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากรจะใช้ความเชี่ยวชาญของเราด้านการวางผังเมืองและการออกแบบสภาพแวดล้อม โดยเปิดให้นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ จากทุกคณะ รวมถึงบุคคลภายนอกที่สนใจเข้าร่วมเรียนในหลักสูตร ‘3DEXPERIENCE Smart City Industrial Training Center’ และหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง โดยเราตั้งเป้าเบื้องต้นพัฒนาบุคลากร Smart City มากกว่า 500 ราย ภายใน 3 ปีนับจากนี้”

มร. แซมซัน เคา รองประธานบริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับดีป้าและมหาวิทยาลัยศิลปากรในวันนี้ นับเป็นก้าวสำคัญ

ก้าวแรกในภูมิภาคอาเซียน ที่เราได้ใช้โครงการ 3DEXPERIENCE Industry Training Center มาเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิวัติระบบนิเวศการเรียนรู้ด้านเมืองอัจฉริยะ ด้วยความมุ่งมั่นส่งเสริมการเรียนรู้และยกระดับทักษะดิจิทัล โครงการนี้มุ่งเน้นการใช้แพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE เป็นแกนหลัก ผสานรวมเทคโนโลยีล้ำสมัยเช่น AI, Internet of Everything (IoE) และ Virtual Twin หล่อหลอมบุคลากร

ที่มีทักษะตรงตามความต้องการของธุรกิจและประเทศ เป้าหมายของเราคือ การผลิตบุคลากรที่มีทักษะพร้อมใช้งานทันที ผ่านหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก บุคลากรเหล่านี้

จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ฝึกฝนการใช้เทคโนโลยี 3D เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง และการออกแบบแบบเสมือนจริง รวมถึงพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการสร้างสรรค์ และขับเคลื่อนโครงการเมืองอัจฉริยะในอนาคต”

About Author