ปกป้องความเป็นส่วนตัวด้วย Synthetic Data

โดย อลิส วูดเวิร์ด ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์


ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนา AI ในปัจจุบันคืออุปสรรคจากการรวบรวมข้อมูลของโลกความจริงและการติดป้ายกำกับให้กับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งในความเป็นจริงความพร้อมใช้งานของข้อมูลหรือ Data Availability เป็นหนึ่งในห้าอุปสรรคหลักในการนำ Generative AI มาใช้งาน จากผลการสำรวจของการ์ทเนอร์กับองค์กร 644 แห่ง ช่วงไตรมาสสี่ของปี 2566 ชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลสังเคราะห์หรือ Synthetic Data สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าข้อมูลจริงหลายเท่า และ Synthetic Data ยังเปิดโอกาสในด้านการฝึกโมเดลแมชชีนเลิร์นนิ่งและวิเคราะห์ข้อมูลอีกมากมายที่ไม่น่าทำได้ในกรณีที่มีข้อมูลจริงเพียงชุดเดียวให้เลือก

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่า Synthetic Data สามารถก้าวข้ามความท้าทายเรื่องความเป็นส่วนตัว การปฏิบัติตามข้อกำหนดและการไม่เปิดเผยข้อมูลได้อย่างไร รวมถึงปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเอาไปใช้ในวงกว้าง

จัดการความท้าทายด้านความเป็นส่วนตัว

Synthetic Data ช่วยองค์กรจัดการความท้าทายด้านความเป็นส่วนตัว พร้อมฝึกอบรมโมเดล AI, ML หรือคอมพิวเตอร์วิชัน (CV)

Synthetic Data สามารถเชื่อมโยงข้อมูลภายในเข้าด้วยกัน โดยทำหน้าที่แทนข้อมูลจริงและไม่เปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน อาทิ ข้อมูลส่วนบุคคลและทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากชุดข้อมูลสังเคราะห์ยังคงคุณสมบัติทางสถิติที่ใกล้เคียงกับข้อมูลต้นฉบับ จึงสามารถสร้างข้อมูลฝึกอบรมและทดสอบที่แม่นยำ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาแบบจำลอง

การฝึกโมเดล Computer Vision ต้องใช้ชุดข้อมูลที่มีป้ายกำกับจำนวนมากและหลากหลาย เพื่อสร้างโมเดลที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งการรับและการใช้ข้อมูลจริงเพื่อจุดประสงค์นี้อาจเป็นเรื่องท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้หรือ Personally Identifiable Information (PII)

ยูสเคสการใช้งานโดยทั่วไปมี 2 กรณีที่ต้องใช้ข้อมูล PII ได้แก่ การยืนยันตัวตนและระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่อัตโนมัติ หรือ Automated Driver Assistance Systems (ADAS) ซึ่งคอยตรวจสอบการเคลื่อนไหวและการกระทำของผู้ขับขี่บนท้องถนน ซึ่งในสถานการณ์เหล่านี้ Synthetic Data อาจมีประโยชน์ในการสร้างการแสดงออกทางสีหน้า สีผิวและพื้นผิว รวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น หมวก หน้ากาก และแว่นกันแดด นอกจากนี้ ADAS ยังต้องการฝึก AI ให้สามารถทำงานได้ในสภาพแสงน้อย เช่น การขับขี่ในที่มืด

ลดความท้าทายด้านการทำให้ข้อมูลไม่ระบุตัวตน

ความพยายามในการไม่ระบุตัวตนในข้อมูลและปลดข้อมูลประจำตัวของชุดข้อมูลแบบแมนนวล (หรือการลบข้อมูลที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง) เป็นงานที่ต้องใช้เวลาและกำลังคนจำนวนมากและมีแนวโน้มเกิดข้อผิดพลาด โดยในท้ายที่สุดแนวทางนี้อาจทำให้โครงการเกิดความล่าช้าและต้องต่อเวลาของรอบการวนซ้ำในการพัฒนาอัลกอริทึมรวมถึงโมเดลแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) ซึ่ง Synthetic Data สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้หลายประการ ด้วยการให้การเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและง่ายกว่า โดยข้อมูลดังกล่าวจะคล้ายคลึงกับแหล่งที่มาของข้อมูลดั้งเดิม เหมาะสมต่อการใช้งาน และปกป้องความเป็นส่วนตัว

นอกจากนี้ หากเกิดกรณีข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตนไปรวมกับแหล่งข้อมูลสาธารณะอื่น ๆ ก็จะเกิดความเสี่ยงที่ข้อมูลถูกเปิดเผยโดยไม่ตั้งใจ และอาจนำไปสู่การระบุข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้ ผู้บริหารสามารถใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกัน เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลสังเคราะห์ใด ๆ ที่สร้างจากข้อมูลจริงนั้นมีความเสี่ยงต่ำมากเมื่อมีการทำให้ไม่ระบุตัวตน

ความท้าทายที่ขวางการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

การสร้างชุดข้อมูลแบบตารางสังเคราะห์เกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวและการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลยังมีประโยชน์และตรงกับชุดข้อมูลดั้งเดิมอย่างถูกต้อง หากเน้นการใช้ประโยชน์สูงเกินไป ความเป็นส่วนตัวอาจได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร เนื่องจากชุดข้อมูลสังเคราะห์อาจจับคู่กับแหล่งข้อมูลอื่นได้ แต่ในทางกลับกัน วิธีการเพิ่มความเป็นส่วนตัว เช่น การตัดการเชื่อมต่อคุณลักษณะบางอย่างหรือการแนะนำ “สัญญาณรบกวน” ผ่านความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกัน อาจทำให้ประโยชน์ของชุดข้อมูลลดลงโดยปริยาย

ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาทั้งการจัดการข้อมูลและคุณภาพข้อมูลธุรกรรมที่ต่ำเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ Call Center ที่อาจไม่สามารถกรอกข้อมูลที่อยู่หรือข้อมูลลูกค้าให้ครบถ้วนได้ โดยข้อมูลที่ขาดหายไปนี้เป็นอุปสรรคต่อการวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ องค์กรไอทีจำเป็นต้องให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการฝั่งธุรกิจทำความเข้าใจถึงความสำคัญของคุณภาพข้อมูลที่ดีทั้งเพื่อการสมัครใช้และนำมาวิเคราะห์ ซึ่งการใส่ข้อมูลขยะเข้าสู่ระบบจะนำมาสู่ผลลัพธ์ที่เป็นขยะ หรือที่เรียกว่า “Garbage In Garbage Out” ซึ่งเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน เรื่องนี้ส่งผลต่อทัศนคติของผู้คนที่มีต่อ Synthetic Data เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าข้อมูลนั้นด้อยกว่า เพราะมันไม่ใช่ข้อมูลจริง ๆ ซึ่งทำให้การนำไปใช้งานล่าช้า ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลสังเคราะห์อาจดีกว่าข้อมูลจริงก็ได้ ไม่ใช่ในแง่ที่ว่ามันสะท้อนความจริงในปัจจุบัน แต่คือในแง่ที่ว่ามันสามารถฝึกโมเดล AI ให้ทำงานกับโลกในอุดมคติหรือโลกในอนาคตได้อย่างไรต่างหาก

ชุดข้อมูลสังเคราะห์คือภาพสะท้อนของชุดข้อมูลดั้งเดิม ดังนั้นหากชุดข้อมูลเดิมไม่มีปัญหาในการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือมีความผิดปกติที่เรียกว่า “Edge Cases” เหตุการณ์เหล่านี้จะไม่ปรากฏในชุดข้อมูลสังเคราะห์เช่นกัน ดังนั้นข้อมูลสังเคราะห์ที่เป็นภาพและวิดีโอ อาทิ การขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งใช้ภาพการขับรถหลายชั่วโมงในการฝึก AI จึงมีความสำคัญเฉพาะอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องสร้างสถานการณ์ที่ไม่ปกติ อาทิ รถฉุกเฉิน การขับรถบนหิมะ หรือเจอกับสัตว์บนท้องถนน

About Author