ปรากฏการณ์ออโรรา

เรื่องและภาพโดย “ไอซี” วริศา ใจดี


เดือนตุลาคมที่ผ่านมามีปรากฏการณ์เกี่ยวกับอวกาศเกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่ดาวหางจื่อจินชาน-แอตลาส (C/2023 A3, Tsuchinshan-ATLAS) ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ หรือกิจกรรมสนุก ๆ ช่วงสัปดาห์อวกาศโลก และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การมาเยือนของออโรรา !

จากฉบับก่อนหน้า เราได้รู้กันว่านิวทริโนมีแหล่งกำเนิดจากดวงอาทิตย์ ไม่เพียงแค่นั้น ดวงอาทิตย์ยังปล่อยพลังงานและอนุภาคอื่นออกมาอีกมากมาย ซึ่งนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรารู้จักกันดีอย่างแสงเหนือหรือออโรรานั่นเอง สาระวิทย์ฉบับนี้ฉันเลยอยากจะแชร์เรื่องราวและภาพสวย ๆ ของแสงเหนือให้เพื่อน ๆ ที่เมืองไทยได้ชมกันบ้าง

เนื่องจากฉันเป็นเด็กสายควบดาราศาสตร์-ฟิสิกส์จึงได้เรียนรู้ว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากการรวมพลังของปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างพายุสุริยะและอันตรกิริยาของอนุภาคในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้เราเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ทั้งสองสาขาวิชาที่ดูผ่าน ๆ เหมือนจะอยู่กันคนละขั้ว คนละสเกล แต่แท้จริงแล้วอวกาศอันกว้างใหญ่กับอนุภาคอันเล็กจิ๋วนั้นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของขอบเขตขีดความรู้มนุษย์เรา และเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขความลับของจักรวาลในที่สุด

About Author