ในปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคทางกระจกตามากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก และรอการบริจาคกระจกตาเพื่อใช้ในการรักษา ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนกระจกตาบริจาค ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตประจำวันอย่างยากลำบากเป็นเวลานานจนกว่าจะได้รับการรักษา
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ “ReLIFE” ซึ่งเป็น Deep Tech Startup ทางการแพทย์ ก่อตั้งโดยทีมนักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมเนื้อเยื่อและจักษุแพทย์ จาก สวทช. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ตั้งเป้าเป็นบริษัทแรกของโลกที่สามารถสร้าง “กระจกตาเทียมชีวภาพ” ทดแทนกระจกตาบริจาคที่ขาดแคลน และมอบชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยโรคกระจกตา
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์ นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค-สวทช. ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพ ReLIFE มาร่วมพูดคุยให้ความรู้ในเรื่องของนวัตกรรม “กระจกตาเทียมชีวภาพ” จากเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ
แขกรับเชิญ
ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์
นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพ ReLIFE
ผู้ดำเนินรายการ
ณภัทร ตัณฑิกุล (จัส)
นักวิจัยด้านสเต็มเซลล์และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
และผู้ชนะเฟมแล็บ ไทยแลนด์ 2019