Headlines

เด็กทารกห้ามกินน้ำผึ้ง จริงหรือ?

          วัยทารกเป็นวัยที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคได้ง่าย เนื่องจากเด็กในวัยนี้มีภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ต่ำ ดังนั้นเวลาที่ผู้ปกครองจะให้ลูกรับประทานอาหารอะไร ก็ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มีคนแชร์ว่าได้นำน้ำผึ้งไปป้อนให้กับเด็กทารกอายุ 6 เดือน แล้วเด็กเสียชีวิตซึ่งเป็นความจริงเพราะอะไร วันนี้เรามีคำตอบก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโรคโบทูลิซึมกันก่อนดีกว่า โรคโบทูลิซึม เป็นภาวะอาหารเป็นพิษที่เกิดจากการได้รับสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม (Clostridium Botulinum) ที่ปนเปื้อนในอาหาร

          โดยเชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดี และสร้างสสารพิษในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย มักพบใน

          1. อาหารกระป๋องที่มีการจัดเก็บไม่ได้มาตรฐาน เช่นมีรอยบุบ รั่ว หรือแตก

          2. หน่อไม้ปี๊ป ที่ไม่ได้ปรุงด้วยความร้อนนานพอ หรือปรับค่าความเป็นกรดที่เหมาะสม

          3. น้ำผึ้ง

          โดยนอกจากนี้ภาวะโบทูลิซึมสามารถเกิดได้กับเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี สารพิษจะทำให้มีอาการ ท้องเสีย หรือท้องผูก กลืนน้ำ และอาหารลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจมีอาการหายใจลำบาก หรือหัวใจหยุดเต้น และหากไม่รีบไปพบแพทย์อาจเกิดอันตรายจนเสียชีวิตได้

          เนื่องจากทารกมีการพัฒนาการของระบบย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ แบคทีเรียซึ่งเข้าสู่
ทางเดินอาหารจึงแบ่งตัวสร้างสปร์ และสารพิษได้ แต่กรณีเด็กโต หรือผู้ใหญ่ ลำไส้จะกำจัดเชื้อออกไปจากร่างกายได้ก่อนที่เชื้อจะเพิ่มจำนวนจึงทำให้สามารถบริโภคน้ำผึ้งได้โดยไม่อันตราย นอกจากนี้น้ำผึ้งยังมีรสหวานจัดการให้ทารก หรือเด็กบริโภคน้ำผึ้งนั้นจะทำให้ติดรสชาติหวาน ฟันผุ เป็นโรคอ้วนหรือขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ได้จะเห็นได้ว่าไม่ควรให้ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปีกินน้ำผึ้งโดยเด็ดขาด เพราะอาจเสี่ยงได้รับเชื้อหรือสารพิษได้ดังนั้นก่อนที่จะให้ลูกน้อยรับประทานอาหารอะไรควรศึกษาให้ดีก่อนไม่เช่นนั้นอาจเกิดอันตรายได้

 

สนับสนุนโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์


เอกสารอ้างอิง

– https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=432

– https://www.pobpad.com/botulism

– https://www.pidst.or.th/userfiles/f25.pdf

About Author