การเดินทางของวัคซีน : จากการวางแผนสู่การปฏิบัติการกระจายวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก

บทความโดย
คุณเฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย
กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน


 

          เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าหนึ่งในทางออกจากวิกฤตโควิด-19 คือวัคซีน และการที่จะสร้างภูมิคุ้มกันในระดับสูง จำเป็นที่จะต้องมีการฉีดวัคซีนราวหนึ่งหมื่นล้านโดสทั่วโลกภายในสิ้นปี พ.ศ. 2564 ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ถึงความท้าทายครั้งใหญ่ด้านลอจิสติกส์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สถานการณ์การแพร่ระบาดตอกย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของเครือข่ายลอจิสติกส์ระหว่างประเทศในการรองรับระบบซัพพลายเชนให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องจนถึงการจัดส่งสิ่งของจำเป็นถึงปลายทาง

          วันนี้ ประเทศไทยได้รับวัคซีนไฟเซอร์ไบออนเทคแล้วรวม 3.5 ล้านโดส ซึ่งขนส่งโดยดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส โดยในจำนวนนี้เป็นวัคซีน 2 ล้านโดสที่มาถึงไทยในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

          จนถึงปัจจุบันดีเอชแอลได้จัดส่งวัคซีนโควิด-19 กว่า 1 พันล้านโดสไปยัง 160 ประเทศทั่วโลก นับได้ว่า ดีเอชแอลมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้มาตลอด บริษัทได้ส่งมอบบริการที่รวดเร็ว และน่าเชื่อถือสำหรับการขนส่งวัคซีนซึ่งมีข้อกำหนดที่เข้มงวดในการรักษาระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับ

          วัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อผู้คนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ดีเอชแอลจะยังเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold chain infrastructure) ทำงานร่วมกับเครือข่ายระดับโลกที่แข็งแกร่ง เพิ่มพูนความรู้ด้านลอจิสติกส์ และประสบการณ์ของพนักงานดีเอชแอลอย่างต่อเนื่อง

          โลกจะสามารถเอาชนะการแพร่ระบาดได้เร็วเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ “การกระจายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ” ดีเอชแอลดำเนินการอย่างจริงจังตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาในการสร้างและขยายเครือข่ายระดับโลกสำหรับการขนส่งด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการสินค้าเพื่อสุขภาพ (Life Sciences & Healthcare – LSH) และตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องเริ่มจริงจังกับการแก้ไขอุปสรรคด้านลอจิสติกส์ในอนาคตอันใกล้

          จากผลการศึกษาของดีเอชแอลเรื่อง Revisiting Pandemic Resilience โครงสร้างระบบลอจิสติกส์และความสามารถในการรองรับสถานการณ์แพร่ระบาดเป็นสิ่งที่ยังคงต้องรักษาระดับคุณภาพไว้ เพราะประชากรโลกยังคงต้องการวัคซีนถึง 7-9 พันล้านโดสในปีต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ และทำให้อัตราการติดเชื้อลดลง รวมถึงชะลอระยะการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ไม่รวมการผันผวนที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล

ข้อกำหนดด้านการควบคุมอุณหภูมิที่เคร่งครัด

          หนึ่งในความท้าทายสำคัญที่สุดสำหรับการกระจายวัคซีนคือ การขนส่งวัคซีนภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด โดยวัคซีนบางยี่ห้อจะต้องจัดเก็บในระดับอุณหภูมิต่ำมากที่ -80°C ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายด้านการขนส่งในระบบซัพพลายเชนทางการแพทย์ที่โดยปกติจะรองรับการจัดส่งวัคซีนที่อุณหภูมิประมาณ 2–8°C และในบางภูมิภาคไม่มีการจัดเก็บที่เอื้ออำนวยต่อการรักษาวัคซีน นอกจากนี้ ดีเอชแอลประเมินว่าจะต้องใช้พาเลทในการขนส่งมากถึง 200,000 พาเลท กล่องเก็บความเย็น 15 ล้านกล่อง และเที่ยวบินขนส่ง 15,000 เที่ยวบินไปยังจุดต่าง ๆ เพื่อรองรับการขนส่งวัคซีนหนึ่งหมื่นล้านโดสตามที่ได้ตั้งเป้าไว้

          วัคซีนเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม และจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิอย่างเข้มงวด ซึ่งนั่นหมายถึงความเสี่ยงที่สูงมาก ความผิดพลาดใด ๆ ในขั้นตอนการขนส่ง อาจหมายถึงความสูญเสียชีวิต ดังนั้นการขนส่งวัคซีนจึงต้องมีการประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และต้องอาศัยบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การกำหนดเส้นทางการขนส่งทางอากาศและทางบก การกำหนดกรอบเวลา การเลือกบริษัทขนส่ง ข้อกำหนดการขนย้ายที่เฉพาะเจาะจง และอื่น ๆ

          เราใช้จุดแข็งของเราจากการมีช่องทางการขนส่งที่หลากหลาย เช่น บริการจัดส่งพัสดุ บริการขนส่งทางอากาศ และเครื่องบินเช่าเหมาลำ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านลอจิสติกส์ควบคู่กับการขนส่งด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่มีอยู่เพื่อรองรับการขนส่งวัคซีนให้เป็นไปอย่างราบรื่น ตามข้อกำหนดด้านอุณหภูมิอย่างเคร่งครัด เราได้ลงทุนในโครงสร้างการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เช่น การจัดซื้อตู้แช่แข็งสำหรับอุณหภูมิที่ต่ำมาก รวมถึงขยายการให้บริการด้าน LSH, การรับรองจาก IATA CEIV Pharma สำหรับการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ GxP (การปฏิบัติงานที่เหมาะสม) ในประเทศเยอรมัน

          การจัดส่งเวชภัณฑ์ที่สำคัญไปยังสถานที่และเวลาตามกำหนด เป็นภารกิจที่เราต้องทำให้สำเร็จลุล่วงในแต่ละวัน โดยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญดังกล่าวได้ก่อเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สถานการณ์แพร่ระบาดในปัจจุบันย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการมีระบบซัพพลายเชนที่ก้าวล้ำโดยสามารถขนส่ง จัดเก็บยาและเวชภัณฑ์อย่างปลอดภัย และน่าเชื่อถือ

การกระจายวัคซีนจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม

          โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายคลังสินค้า และความสามารถด้านการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความต่อเนื่องในการการขนส่งสินค้าเวชภัณฑ์ โซลูชั่นซัพพลายเชนแบบครบวงจร (end-to-end) และการตรวจสอบจำนวนสินค้าแบบเรียลไทม์ นั้นมีความสำคัญมากเพราะทำให้ความต้องการซื้อและความต้องการขายอยู่ในจุดที่สมดุล

          เครือข่ายลอจิสติกส์ระดับโลกที่มีความแข็งแกร่ง ผ่านการรับรองตามมาตรฐานการขนส่ง และสามารถจัดเก็บผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ อย่างเช่นวัคซีน มีความจำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าเงื่อนไขต่าง ๆ และการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในทุกขั้นตอนของซัพพลายเชน ทีมงานของดีเอชแอลประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้าน LSH กว่า 9,000 คนในเครือข่ายระดับโลก รวมถึงเภสัชกรกว่า 150 คน คลังจัดเก็บสำหรับการวิจัยทางการแพทย์กว่า 20 แห่ง สถานีกระจายสินค้าที่ผ่านการรับรองกว่า 100 แห่ง คลังสินค้าที่ผ่านการรับรอง GDP กว่า 160 แห่ง ศูนย์บริการที่ผ่านการรับรอง GMP กว่า 15 แห่ง และศูนย์บริการขนส่งด่วนทางการแพทย์กว่า 135 แห่ง  ด้วยเครื่องบินที่จัดเตรียมไว้สำหรับภารกิจนี้โดยเฉพาะกว่า 280 ลำ ทั้งจากดีเอชแอล สายการบินมากมายที่เป็นพาร์ทเนอร์ และเครือข่ายเกตเวย์และศูนย์กระจายสินค้าที่ครอบคลุมกว่า 220 ประเทศทั่วโลก ดีเอชแอลจึงพร้อมในการขนส่งวัคซีนโควิด-19 ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การกระจายวัคซีนเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด

          การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ไม่ใช่การแพร่ระบาดครั้งแรกที่โลกของเราต้องเผชิญ และแน่นอนว่าจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพื่อรองรับการจัดหาเวชภัณฑ์อย่างมั่นคงปลอดภัยทั้งในปัจจุบันและอนาคต รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือและมีระบบจัดการวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุข

          การระบุและป้องกันวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพแต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งจำเป็นโดยต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ระบบเตือนภัยทั่วโลกที่จำต้องขยายขอบเขตเพิ่มมากขึ้น แผนป้องกันการแพร่ระบาดที่ครอบคลุม และการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) แบบเจาะจงเป้าหมาย ดีเอชแอลสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแวดวงวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอ็นจีโอ บริษัทยา ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือบริษัทลอจิสติกส์ เริ่มดำเนินการทันที

About Author