เรื่องโดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
พรรณไม้ที่พบตามริมลำธารใกล้ลานหินทรายในป่าผลัดใบผสมป่าดิบแล้ง จัดอยู่ในวงศ์ชาฤๅษี (Gesneriaceae) ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกหลายปี สูงได้ถึง 30 เซนติเมตร รากแทรกและยึดติดแน่นอยู่ตามซอกหิน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก เกิดเป็นกลุ่มแน่นอยู่ใกล้ปลายยอด แผ่นใบค่อนข้างหนา รูปไข่หรือรูปรี ช่อดอกแบบช่อกระจุกด้านเดียวเชิงประกอบ ดอกสีชมพูอ่อนเกือบขาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบแยกกัน รูปคล้ายดาว กลีบดอก 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น เกสรเพศผู้ 5 เกสร ที่สมบูรณ์ 2 เกสร อีก 3 เกสรที่เหลือเป็นหมันและลดรูป เกสรเพศเมียอยู่ตรงกลาง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มเล็ก ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกแคบ ไม่บิดเกลียวเมื่อแก่ มีกลีบเลี้ยงขยายขนาดติดทนอยู่ที่โคนผล มีหลายเมล็ด
ชาฤๅษีเขาใหญ่พบได้เฉพาะริมลำธารในนิเวศลานหินทรายในจังหวัดปราจีนบุรี
ตัวอย่างต้นแบบของ ℎ คือ Kaitongsuk, Triboun, Ue-aree, Nitmee, Sreesaeng & Kaewsri S.K. 336/1 เก็บจากเขาใหญ่ ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี
อ้างอิง: Kaitongsuk, S., Triboun, P., Suddee, S., Ue-aree, P. and Sungkaew, S. 2021. Paraboea khaoyaica (Gesneriaceae), a new species from Thailand. Gardens’ Bulletin Singapore 73(1): 203–207.